ดาวน์โหลดเอกสาร แนวทางการดำเนินงานโครงการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติ โดย สพฐ.
การดำเนินงานโครงการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติ ถือเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วน สพฐ. QUICK POLICY 2565 วึ่งเป็นการส่งเสริมให้ผู้บริหาร ครู และผู้เรียนมีทัศนคติที่ถูกต้อง ต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม มีงานทำ มีอาชีพ และเป็นพลเมือง โดย สพฐ.ได้จัดทำเอกสารแนวทางการดำเนินงานโครงการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดไฟล์แนวทางในลิงก์ด้านล่าง
ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายขับเคลื่อนการดำเนินงานน้อมนำพระบรมราโชบาย ด้านการศึกษาในหลวงรัซกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง – มีคุณธรรม มีงานทำ มีอาชีพ และเป็นพลเมืองดี เพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน บรรลุตามวัตถุประสงค์การจัดทำแนวทางการดำเนินงานเป็นการน้อมนำพระบรมราโขบายด้านการศึกษา ๔ ด้าน คือ มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อข้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง – มีคุณธรรม มีงานทำ-มีอาชีพ และเป็นพลเมืองดี ผ่านการปฏิบัติ
กิจกรรมวิถีคนดี คุณธรรมนำชีวิต หนี่งผู้เรียนหนึ่งอาชีพ และจิตอาสาด้วยหัวใจ โดยจะลงสู่การปฏิบัติในโรงเรียนนำร่อง ๕๘๘ โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มพัฒนาโครงการโรงเรียนพระราชดำริและโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ จำนวน ๑๙ กลุ่มโรงเรียน ชับเคลื่อนผ่านเขตพื้นที่การศึกษา ร่วมกันถอดบทเรียนและค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เพื่อเป็นต้นแบบและขยายผลกับโรงเรียนทั่วไป จำนวน ๒๘,๒๖๕ แห่ง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารแนวทางการดำเนินงานเป็นการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติ ที่จัดทำขึ้นนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อนำไปใช้เบ็นแนวทางในการดำเนินงานให้แก่ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม มีงานทำ มีอาชีพ และเป็นพลเมืองดีต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานในการน้อมนำพระบรมราโซบายด้านการศึกษาในหลวงรัซกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติของสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เป้าหมายการดำเนินงาน
๑. ระยะที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕
สถานศึกษาในกลุ่มพัฒนาโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริและโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน จำนวน ๕๘๘ โรงเรียน น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติ
๒. ระยะที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๖
๒.๑ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติครบทุกสถานศึกษา
๒.๒ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่งเสริมสนับสนุนการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑.ผู้เรียนมี ความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดี มีจิตสำนึกที่ดีและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ทั้ง ๔ ด้าน
๒.ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจ มีเจตคติที่ดี สามารถสร้างจิตสำนึกและปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ ๑๐
๓.สถานศึกษา มีแนวทางการดำเนินงาน มีส่วนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย ในการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ สู่การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ
๔.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
๕.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีแนวทางในการขับเคลื่อนให้เกิดการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติ
นิยามศัพท์
พระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ หมายถึง พระบรมราโซบายด้านการศึกษาทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง – มีคุณธรรม มีงานทำ – มีอาชีพ การเป็นพลเมืองดี
มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง หมายถึง ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจต่อบ้านเมือง ยึดมั่นในศาสนา มั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและชุมชนของตน
มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง – มีคุณธรรม หมายถึง ผู้เรียนรู้จักรู้จักแยกแยะดีและชั่ว ปฏิเสธสิ่งที่ผิดปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงาม และช่วยกันสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง
มีงานทำ – มีอาชีพ หมายถึง การเลี้ยงดูลูกหลานในครอบครัวหรือการฝึกฝนอบรมในสถานศึกษาต้องมุ่งให้เด็กรักงาน สู้งาน ทำงานจนสำเร็จ การฝึกฝนอบรมทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตรต้องมุ่งหมายให้ผู้เรียนทำงานเป็น มีงานทำในที่สุด และต้องสนับสนุนผู้สำเร็จหลักสูตรมีอาชีพ มีงานทำ และสามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้
การเป็นพลเมืองดี หมายถึง การเป็นพลเมืองดี เป็นหน้าที่ของทุกคน ครอบครัว สถานศึกษาและสถานประกอบการต้องส่งเสริมให้ทุ กคนมีโอกาสทำหน้าที่พลเมืองดี และการเป็นพลเมืองดีคือ “เห็นอะไรที่จะทำเพื่อบ้านเมืองได้ก็ต้องทำ” เช่น งานอาสาสมัครงานบำเพ็ญประโยซน์ งานสาธารณกุศล ให้ทำด้วยความมีน้ำใจ และความเอื้ออาทร
แนวทางการปฏิบัติ
การนิเทศ กำกับ ติดตาม
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ได้น้อมนำพระบรมราโซบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข จึงได้จัดทำแนวทางสำหรับการนิเทศ กำกับ ติดตาม การจัดกิจกรรม ๔ กิจกรรม
ประกอบด้วย
๑. วิถีคนดี : มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง
๒. มีคุณธรรมนำชีวิต : มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง – มีคุณธรรม
๓. หนึ่งผู้เรียน หนึ่งอาชีพ : มึงานทำ – มีอาชีพ
๔. จิตอาสาด้วยหัวใจ : การเป็นพลเมืองดี
โดยให้มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม การน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัซกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติ ทั้งในระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ดังนี้
๑. ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการกำกับ ติดตามการดำเนินงานและขับเคลื่อนการน้อมนำพระบรมราโซบายด้านการศึกษาในหลวงรัซกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ตั้งไว้
๒. ระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นการนิเทศ กำกับ ติดตาม และสนับสนุน การดำเนินงานน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติของสถานศึกษา ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และสร้างขวัญกำลังใจแก่สถานศึกษา
๓. ระดับสถานศึกษา เป็นการกำกับ ติดตาม การน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติ โดยผู้บริหาร กำกับ ติดตามการดำเนินงานของครูผู้สอนในด้านการน้อมนำพระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
โดยจะลงสู่การปฏิบัติในโรงเรียนนำร่อง ๕๘๘ โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มพัฒนาโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริและโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ จำนวน ๑๙ กลุ่มโรงเรียน ขับเคลื่อนผ่านสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ร่วมกันถอดบทเรียนและค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เพื่อเป็นต้นแบบและขยายผลให้กับสถานศึกษาทั่วไป จำนวน ๒๙,๒๖๕ แห่ง ในปีการศึกษาต่อไป
ขอบคุณที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | (obec.go.th)
บทความที่เกี่ยวข้อง
- นโยบายเร่งด่วน สพฐ. QUICK POLICY 2565
- อัมพร เร่งขับเคลื่อนการดำเนินการนโยบายด้านต่าง ๆ สพฐ. จำนวน 10 เรื่อง
- พระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ 10