ดาวน์โหลดฟรี แผนการสอน BBL หนังสือเรียน อ่านออก เขียนได้ ป.1-ป.3
ไฟล์ word PDF และใบงาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยบริษัทธารปัญญา จำกัด โดยใช้กระบวนการสอน 5 ขั้น แบบ Brain-based Learning (BBL) กระบวนการสอนอ่านออก เขียนได้ ในแผนการจัดการเรียนรู้นี้ ยึดการสอนที่แบ่งออกเป็น 5 ขั้น ดังรายละเอียดข้างล่างนี้ เพื่อประกันผลสำเร็จ ว่านักเรียนจะอ่านออก เขียนได้แม่นยำ คือ
1. อุ่นเครื่อง (Warm-up)
การอุ่นเครื่อง (warm-up) เป็นกิจกรรมที่ทำเพื่อให้สมองตื่นตัว เตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้ วิชาต่อไป หรือระหว่างชั่วโมง ถ้าเนื้อหาที่จะเรียนรู้นั้นค่อนข้างยาก คุณครูสังเกตว่า นักเรียนเริ่มหมดความสนใจหรืออ่อนล้า ควรให้ทำ Warm-up เพื่อกระตุ้นสมอง การ
Warm-up นั้นทำได้ 3 วิธี คือ
1) Brain Exercise
2) การเคลื่อนไหวเป็นจังหวะ Rhythm) อาจมีเสียงเพลงและคำกลอนประกอบ และ
3) ยืดเส้นยืดสาย (Stretching)
2. ขั้นนำเสนอความรู้ (Present)
นักเรียนทุกคนมีความต่างกัน มีประสบการณ์ มีพื้นฐานเฉพาะตัว ดังนั้น การนำเสนอ ความรู้ (การสอน) จึงควรเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำเสนอความรู้ใหม่ ผ่านสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ เช่น สื่อของจริง บัตรภาพ บัตรคำ บัตรตัวเลข ชาร์ตบทกลอน บทเพลง กระดานเคลื่อนที่ เป็นต้น
3. ขั้นลงมือเรียนรู้-ฝึกทำ-ฝึกฝน (Learn-Practice)
เปิดโอกาสให้นักเรียนฝึกทำ โดยลงมือทดลองใช้ความรู้ ด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น ฝึกทำ โดยใช้สื่อจากมุมสื่อ BBL พานักเรียนไปดูของจริง สำรวจและบันทึกจากสิ่งที่พบเห็น ทำกิจกรรมจากใบงาน เช่น กิจกรรมตัดปะ เล่นเกมบิงโก ใช้อุปกรณ์เคาะลงบนข้อความ หรือคำศัพท์ ให้เด็กได้เคลื่อนไหว เช่น ลุกขึ้นจากโต๊ะเพื่อไปทำกิจกรรม และควรมีใบงานที่ให้นักเรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้ และคิดสร้างสรรค์ด้วยตัวเอง
4. ขั้นสรุปความรู้ (Summary)
แม้ว่าการเรียนรู้จะดำเนินมาตั้งแต่ขั้นเริ่มเรียนรู้ความรู้ใหม่ (present) ขั้นที่นักเรียนได้ ทดลองนำความรู้ใหม่นั้นมาลงมือปฏิบัติ ฝึกลองทำด้วยตัวเอง (learn-practice) ลงมือ ทำแบบฝึกหัดแล้วก็ตาม แต่ในที่สุด การนำประสบการณ์ทั้งหมดมาสรุปรวบยอด เป็น ความรู้ที่ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเรามักสังเกตได้ว่า นักเรียนอาจทำการฝึกผิดพลาด ทำแบบฝึกหัดไม่ถูก สร้างความรู้จาก concept ที่ผิด เป็นต้น ความผิดพลาดเหล่านี้ แม้จะเกิดขึ้นเพียง ๑๐-๓๐% แต่ก็แสดงว่า มีสิ่งผิดพลาด เกิดขึ้นแล้ว การเขียนกากบาทหรือ comment นักเรียนว่า ยังมีสิ่งผิดพลาด ก็ไม่ได้ช่วย อะไรมากนัก ทางเดียวที่จะแก้ไขได้ก็คือ การให้ฝึกซํ้าในส่วนผิดนั้น และต้องทำการสรุป ความรู้ร่วมกับนักเรียน
5. ประยุกต์ใช้ความรู้ (Apply)
ถ้าเป็นไปได้และมีเวลา กระบวนการเรียนรู้ควรทำไปถึงขั้นให้นักเรียนประยุกต์ใช้ความรู้ ในสถานการณ์ใหม่ๆ ในขั้นนี้ โดยมากนักเรียนจะเริ่มนำความรู้ไปสร้าง (make) หรือ ผลิต (produce) ชิ้นงานใหม่ๆ เช่น แต่งนิทาน ทำหนังสือเล่มเล็ก แสดงละคร โต้วาที จัดบอร์ดผลงาน นิทรรศการ เป็นต้น แต่งานขั้นนี้ เป็นไปได้ยากที่จะทำทุกชั่วโมง ทุก เนื้อหาที่เรียน เพราะเวลาเรียนไม่พอ อีกทั้ง เนื้อหาที่เรียนมีมากเกินกว่าที่จะเน้นให้ นักเรียนลงมือทำกิจกรรมต่างๆ ได้หมดสิ้น ด้วยเหตุนี้ ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ จึงอาจ เลือกทำเฉพาะหัวข้อที่สำคัญ หรือหัวข้อที่พอจะนำไปประยุกต์ใช้ได้สำหรับเด็กแต่ละวัย ในหัวข้อง่ายๆ เช่น การประสมพยัญชนะกับสระ อาจจะยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถ และความชำนาญ ของผู้สอนเอง
ดาวน์โหลด
ป.1 คลิก http://bit.ly/2HbIlBg
ป.2 คลิก http://bit.ly/2vJN4or
ป.3 คลิก http://bit.ly/2H7OShq
ดาวน์โหลดฟรี แผนการสอน BBL หนังสือเรียน อ่านออก เขียนได้ ป.1-ป.3 ที่มา : บริษัท ธารปัญญา จำกัด