
มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดคอร์สเรียนออนไลน์ เรื่อง การออกแบบวงจรดิจิทัล นับชั่วโมงรวม 8 ชั่วโมง เรียนจบได้รับเกียรติบัตรฟรี
มหาวิทยาลัยมหิดล *เปิดคอร์สเรียนออนไลน์ฟรี “การออกแบบวงจรดิจิทัล” ( Digital Circuit Design ) จำนวนชั่วโมง : 8 ชั่วโมงเรียนรู้ เริ่มลงทะเบียน : เปิดให้ลงทะเบียนแล้ว สิ้นสุดการเรียน : 30 กันยายน 2564 เรียนจบได้รับเกียรติบัตรฟรี

การออกแบบวงจรดิจิตอลเป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งของการศึกษาด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ วิศวกรรมไฟฟ้า เป็นต้น เนื้อหาในรายวิชานี้จะแนะนำให้รู้จักถึงความแตกต่างของข้อมูลแบบดิจิตอลกับข้อมูลในรูปแบบอื่น ทำไมในปัจจุบันนี้ถึงมีแต่คำว่าดิจิตอลอยู่รอบตัวเราตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น สัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอล เครื่องมือวัดแบบดิจิตอล หรือแม้กระทั่งคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันในปัจจุบันก็ล้วนแต่มีพื้นฐานมาจากองค์ความรู้ด้านดิจิตอลด้วยกันทั้งสิ้น
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 8 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง 48 นาที)
เนื้อหาในรายวิชานี้ประกอบไปด้วย 4 ส่วนได้แก่
- แนะนำความแตกต่างระหว่างดิจิตอลกับอนาล็อก ข้อดี/ข้อเสีย ของดิจิตอล รวมถึงประโยชน์ที่ได้จากวงจรแบบดิจิตอล
- ศึกษาเรื่องระบบจำนวน เลขฐาน รูปแบบการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบรหัสต่างๆ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานต่อไปในการออกแบบวงจรดิจิตอล
- ศึกษาเรื่องวงจรพื้นฐานทางดิจิตอล เช่น Logic Gate ลักษณะการทำงาน การประยุกต์ใช้งานในรูปแบบต่างๆ
- ศึกษาการออกแบบวงจรดิจิตอลพื้นฐาน การทำให้วงจรดิจิตอลมีขนาดเล็กลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการประยุกต์ใช้งานวงจรดิจิตอลในเรื่องต่างๆ เช่น ใช้เป็นวงจรควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ เป็นต้น
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
- สามารถแยกแยะข้อดีข้อเสียของแอนะล็อกและดิจิตอลได้
- เข้าใจรูปแบบรหัสเลขฐานและรหัสแบบต่างๆ ได้
- เข้าใจหลักการทำงานของประตูสัญญาณแบบต่างๆ
- สามารถออกแบบวงจรดิจิตอลได้
- สามารถลดรูปวงจรดิจิตอลให้อยู่ในรูปอย่างง่ายได้
ขอบคุณที่มา : Facebook เพจ สอบติดไปด้วยกัน