วิวัฒนาการของการศึกษาไทย การศึกษา 1.0 – 4.0 เป็นอย่างไร
บทความนี้ ครูอาชีพดอทคอม ขอนำเสนอบทความน่าสนใจ เกี่ยวกับความรู้ วิวัฒนาการของการศึกษาไทย การเปลี่ยนแปลงจากการศึกษา 1.0 ไปสู่ 4.0 คือการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไปสู่ประชาชนทุกคน โรงเรียนกำลังเป็นการศึกษาแบบ 1.0 แต่พูดถึงการศึกษา 2.0 ในขณะที่กำลังวางแผน และก้าวไปสู่การศึกษา 4.0 รวมไปถึงคุณครู ในยุค 4.0 จะปรับตัวกันอย่างไร วันนี้มาเรียนรู้กันครับ
การศึกษา 1.0 – 4.0
การศึกษา 1.0
การศึกษา 1.0 (Education 1.0) คือ การจัดการศึกษาที่การสอนแบบครูเป็นผู้ให้นักเรียนเป็นผู้รับเน้นการท่องจำตำราและทำแบบฝึกหัดตามตำรา ไม่ได้เน้นกระบวนการเรียนรู้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
หลายๆโรงเรียนยังคงดำรงอยู่ และทำหน้าที่ ผ่านการศึกษาแบบ 1.0 ถึงแม้ว่าบางส่วนอาจปฏิเสธมัน แต่ถึงกระนั้นพวกเขายังเน้นหลักสูตรแบบเน้นความรู้เป็นหลัก ถึงเข้าถึงได้โดยการสอน และการทดสอบ
“พื้นฐานของหลักสูตรเน้นวิชาการจะเน้นการแบ่งวิชาแบบเดิม เช่น เลข, วิทยาศาสตร์, ประวัติศาสตร์, ภาษาต่างประเทศ, และวรรณกรรม ผู้ที่ยึดหลักการเน้นความรู้มักจะโตเถียงว่าห้องเรียนต้องมีครูเป็นศูนย์กลาง ครูหรือผู้บริหารจะเป็นคนตัดสินใจเนื้อหาอะไรที่เหมาะกับผู้เรียน โดยที่ไม่ถามความคิดเห็นของผู้เรียนก่อน ครูจะเน้นเรื่องคะแนนที่เกิดจากแบบทดสอบวัดความรู้ โดยผ่านการประเมินด้วยวิธีการต่างๆ นักเรียนต้องนั่นเป็นแถว และถูกสอนทั้งหมด นักเรียนจะเรียนรู้อย่างเฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้น โดยการนั่งที่โต๊ะ และฟังแต่ครู”
คำแนะนำข้างต้น (1) ทำให้เรารู้ว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นในหลายโรงเรียนในยุคของความเป็นมาตรฐาน, ภาวะรับผิดชอบ, ไม่มีเด็กคนใดทิ้งไปเบื้องหลัง (NCLB), การวิ่งจากหลังไปหน้า, มาตรฐานหลักสูตรแบบทั่วไป และ (2) มีความใกล้เคียงกับเว็บ 1.0 ก็คือ เว็บ 1.0 คือขั้นต้นของวิวัฒนาการ World Wide Web ซึ่งจะใช้ระบบจากบนลงล่าง การปรับใช้จะขึ้นกับ webmaster แต่เพียงผู้เดียว
การศึกษาแบบ 1.0 ก็คล้ายๆกับการพัฒนาเว็บในช่วงต้น ซึ่งก็คือเป็นระบบทางเดียว (จาก webmaster ไปสู่ผู้ใช้) นักเรียนไปโรงเรียนเพื่อต้องการการศึกษาจากครู ในการให้ความรู้จะเป็นการยืนอยู่หน้าห้อง บางครั้งอาจมีโน้ตชั้นเรียน, ใบความรู้, หนังสือเรียน, วิดีโอต่างๆ, และอาจเป็นการใช้เว็บก็ได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว นักเรียนจะรับความรู้ผ่านสื่อต่างๆ ที่ครูจัดไว้ให้ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะเข้าร่วมกิจกรรมที่ปรากฏในสื่อต่างๆ แต่กิจกรรมเหล่านี้ยังแยกส่วนจากกลุ่มชาติพันธุ์ หรือลักษณะทางวัฒนธรรมที่เด็กดำรงอยู่ น้อยครั้งนักที่ผลลัพธ์ของกิจกรรมจะเข้ามีส่วนปรับปรุงในสื่อการสอน นักเรียนเพียงแค่ใช้พวกกิจกรรมก็พอแล้ว
การศึกษา 2.0
การศึกษา 2.0 (Education 2.0) คือ การจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจและแตกต่างระหว่างบุคคล ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตวิญญาณแห่งเรียนรู้และ แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จากแห่งเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียน ครูคือผู้สนับสนุน และเป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้เรียน
Steve Hargadon ได้บันทึกไว้ในปี 2007 ว่า
“เว็บ 2.0 คือการเปิดเผยให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันใหม่ระหว่างปัจเจกบุคคล และธุรกิจ รวมทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงการคิดใหม่ๆทำนองว่าเทคโนโลยีทำให้เราสะดวกสบาย หรือมีการสร้างสรรค์ มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับบทสนทนาซึ่งเกิดขึ้นแบบตรงๆ และไม่เกี่ยวอันใดกับระบบจากบนลงล่าง แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับปฏิกิริยาสะท้อนกลับของเพื่อน หรือมองแบบให้กำลังใจ มันเป็นการสร้างขึ้นใหม่ในวิธีการเรียนรู้ และบางครั้ง เรายังสามารถวาดภาพวิธีการนำประสบการณ์ไปสู่สถาบันการเรียนรู้
การศึกษาแบบ 2.0 ใกล้เคียงกับเว็บ 2.0 ซึ่งก็คือมีการปฏิสัมพันธ์ที่มากขึ้นระหว่างครูกับนักเรียน, นักเรียนกับนักเรียน, และนักเรียนกับเนื้อหา/ผู้ชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนบางแห่ง และนักการศึกษามักจะใช้วิธีการแบบร่วมมือ, โครงการการเรียนรู้ทั้งโลก การใช้โปรแกม Skype ในห้องเรียน, การใช้วิกี, บล็อก, และการใช้เครือข่ายทางสังคมอื่นๆในชั้นเรียน แต่ในปี 2013 (ตอนนี้ปี 2017) สิ่งนี้เป็นการปฏิบัติแบบวิถีประชา และไม่ใช่ข้อยกเว้นแต่อย่างใด
การศึกษา 3.0
การศึกษา 3.0 (Education 3.0) คือ การจัดการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา (กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม) และให้ผู้เรียนปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ โดยครูมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน
การศึกษาแบบ 3.0 มีความเชื่อที่ว่าเนื้อหาเป็นสิ่งอิสระ และหาได้เมื่อต้องการ มันจะเป็นการเรียนรู้ตามความสนใจ และเรียนด้วยตนเอง สำหรับวิธีการสอนก็จะเป็นการแก้ปัญหา, นวัตกรรม, และความสร้างสรรค์ สิ่งเหล่านี้จะขับเคลื่อนการศึกษา
“สิ่งที่กำหนดในการศึกษาแบบ 3.0 คือโอกาสต่างๆในการศึกษาที่ข้ามวัฒนธรรม ข้ามสถาบัน และร่ำรวยด้วยสิ่งของต่างๆ ซึ่งผู้เรียนโดยเองจะเป็นผู้เล่นในเกมหลัก ในฐานะผู้สร้างสิ่งต่างๆของความรู้ที่มีแบ่งปันไปสู่คนอื่น และผลประโยชน์ทางสังคม รวมทั้งเครือข่ายทางสังคมจะมีบทบาทอย่างยิ่ง ความแตกต่างระหว่างสื่อ, ประชาชน, และกระบวนการจะเห็นได้ไม่แจ่มชัดนัก รวมทั้งเรื่องของเทศะและเวลาด้วย
การตระเตรียมทางสถาบัน,นโยบาย, และยุทธวิธี ต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อตอบสนองต่อการท้าทายของโอกาสที่ถูกนำเสนอได้ มีการเน้นเรื่องกระบวนการสอนและการเรียนรู้ด้วยการเน้นที่ไปที่การเปลี่ยนแปลงทางสถาบัน ซึ่งตามโดยการล่มสลายของขอบเขตระหว่างครูกับนักเรียน, สถาบันมัธยม, และหลักวิชาต่างๆ”
การศึกษาแบบ 3.0 คือ การใช้วิธีการแบบสร้างสรรค์นิยม (constructivist) และ การสอนความเป็นคน (heutagogical) ในการสอนและการเรียนรู้ ครู, นักเรียน, เครือข่าย, การเชื่อมโยง, สื่อ, ทรัพยากร, เครื่องมือ สร้างสภาวะที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งมีศักยภาพในการตอบสนองผู้เรียนที่เป็นปัจเจกบุคคล, นักการศึกษา, หรือแม้กระทั่งความต้องการทางสังคม
Derek W. Keats และ J. Philipp Schmidt further ได้พรรณนาถึงองค์ประกอบแต่ละอันของการศึกษาแบบ 3.0 ไว้ดังนี้
การศึกษา
-การกระจายอย่างกว้างขวางของบทเรียนผ่านเว็บ
-ความสนใจในทางเลือกอื่นๆของวิธีสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง อย่าง การสร้างสรรค์นิยม หรือการเรียนรู้การใช้ทรัพยากร ฯลฯ
-การร่วมมือกันระหว่างสถาบัน, ภูมิภาค, และท้องถิ่น เพื่อที่จะสร้างเนื้อหาทางการศึกษาที่มีขนาดใหญ่
-การตระหนักรู้ของความจำเป็นในการเรียนรู้ก่อนหน้า
-การเพิ่มขึ้นของการใช้อินเตอร์เน็ทเพื่อหาข้อมูล และการเรียนรู้แบบจำกัดเวลา
สังคม
-การเพิ่มขึ้นของการใช้เทคโนโลยีเชิงข้อมูลในชีวิตประจำวัน และเพื่อจุดประสงค์ทางสังคม
-การเพิ่มขึ้นของพื้นที่เสมือนจริงเชิงสังคม
-นิยามใหม่ของตัวตน และสังคม ที่รวมทั้งโครงสร้างสังคมที่เน้นคอมพิวเตอร์เข้าไปในนั้นด้วย
เทคโนโลยี
-การมีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และการใช้อินเตอร์เน็ทอย่างกว้างขวาง
-การเกิดขึ้นของเว็บแบบ 2.0 เช่น บล็อก, podcasts, เครื่องมือปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ฯลฯ
-แหล่งละมุนภัณฑ์ที่ให้ใครต่อใครโหลดและมีอิสระในการโหลด
-การพัฒนาของระบบลิขสิทธิ์แบบใหม่ที่ไม่ใช่แบบเดิม ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้ใช้และใช้ต่อไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์อีกต่อไป
การศึกษา 4.0
การศึกษา 4.0 (Education 4.0) คือ การจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนไปการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นเครื่องกระตุ้นการเรียนรู้ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างสรรค์นวัตกรรมและการวิจัยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของประเทศ
การศึกษายุคประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21 เริ่มต้นจากการสร้างห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) เริ่มด้วยการฝึกให้ผู้เรียนรู้การเรียนด้วยตนเอง เช่น ให้รู้วิธี
ดูคลิป การเก็บใจความการคิดต่อยอดให้มีสมาธิ ให้ได้สาระ และให้หยุดหรือกรอกลับคลิปมาดูใหม่หากสงสัยฝึกวิธีเขียนบันทึก จดบันทึก เขียน mind map กำหนดให้ตั้งคำถามที่น่าสนใจได้และเตรียมถามครู การเปลี่ยนแปลงที่ครูต้องพัฒนาครูให้มีความรู้ มีพื้นฐานแน่น พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ การจัดระบบความรู้ จัดการความรู้ มีความสามารถสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียน และมีความรู้จริงพร้อมที่จะถ่ายทอดการยอมรับสองด้านทั้งทางการปฏิบัติรับการป้อนกลับช่วยการพัฒนาการของผู้เรียนและบรรยากาศการเรียนรู้ การเป็นผู้กำกับการเรียนรู้ทั้งของตนเองและผู้เรียน เปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนการสอน
สร้างทักษะที่จำเป็นโดยเรียนด้วยการลงมือทำ Active Learning : PBL (Project Base Learning) ครูเปลี่ยนจากครูสอนเป็นพี่เลี้ยง ครูฝึก (Coach) หรือ ผู้จัดการ ผู้สนับสนุน Learning Facilitator การนำเสนอเป็นรายงานและนำเสนอด้วยปากหรืออาจเสนอเป็นละคร ครูชวนผู้เรียนทำ Reflection ว่าได้เรียนรู้อะไรอยากเรียนอะไรต่อ เพื่ออะไรชวนคิดด้านคุณค่าจริยธรรม การเรียนแบบบูรณาการสหวิชาการ เชื่อมโยงความรู้กับจินตนาการ แปลงสู่รูปธรรมให้มีทักษะที่ต้องการในยุคศตวรรษที่ 21 (21 stcentury skills) เช่น การทำงานร่วมกัน (collaboration) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การแก้ปัญหา (Problem solving) และการสื่อสารที่ดี (Effective communication)
การจัดการศึกษาต้องสร้างความพอใจให้ผู้เรียนและท้าทายสู่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนอยากเรียนและสนุกอย่างเกม การพัฒนาการศึกษา 4.0 เป็นยุทธศาสตร์ฐานความรู้(Knowledge based Economic) ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ การใช้และต่อยอดองค์ความรู้ การให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (Science,Technology,Innovation) ซึ่งก็คือผลลัพธ์ของระบบการจัดการ (Management Output) ทั้งการเข้าถึง (Access) ความเท่าเทียม (Equity) คุณภาพ (Quality) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ที่ตอบโจทย์การก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
เส้นทางสู่การศึกษาไทย 4.0 : เพื่อให้ก้าวไปสู่การศึกษาไทย 4.0 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดส่งเสริมสนับสนุนโครงการสำคัญ ได้แก่ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ การยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษ พัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนานักวิจัยหลากหลายสาขาการจัดการเรียนการสอน STEM การศึกษา ความร่วมมือ “สานพลังประชารัฐ”
ความแตกต่างของ ครู 1.0 ถึง 4.0
ครู 1.0
การเรียนการสอนเน้นครูเป็นสำคัญ ( Teacher-Centered )
นักเรียนจะ “รู้และเข้าใจ” เนื้อหา ทฤษฎี หลักการ แนวปฏิบัติ และอธิบาย ปฏิบัติตามและใช้เครื่องมือที่ครูสอนได้เป็นอย่างดี ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าและเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง เกิดจากจำนวนนักเรียนทั้งประเทศมีจำกัด อัตราการเรียนต่อ ม.1 มีไม่ถึง 50% ความรู้หรือทฤษฎี หลักการ งานวิจัย กฎ ระเบียบ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับวิชาต่างๆ มีจำกัด ใช้หนังสือเรียนเหมือนกันทั่วประเทศ ผู้สำเร็จการศึกษาสูง ๆ มักจะได้เป็นเจ้าคนนายคน ทำงานมีรายได้สูง
ครู 2.0
ผู้ปกครองหลายคนให้บุตรหลานเรียนต่อเพิ่มขึ้น ประเทศต้องจัดหาครูเพิ่มมากขึ้น มนุษย์มีความสนใจ ความถนัด สติปัญญา (Intelligences) และวิถีการเรียนรู้ (Learning Styles) ที่แตกต่างกัน มีเครื่องมือวัดสติปัญญาและความถนัดและสไตล์การเรียนรู้ของผู้เรียน ครูจัดให้ผู้เรียนได้เรียนเพื่อพัฒนาสติปัญญาและความถนัดของตน โดยใช้สไตล์การสอนที่เหมาะสมกับสไตล์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ครูมีหน้าที่หลักคือทำให้นักเรียนที่มี Intelligences ที่หลากหลาย ได้เรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ( Child-Centered ) นักเรียนได้เรียนตามความถนัดและความสนใจจนสติปัญญาได้รับการพัฒนาเต็มที่ตามศักยภาพ โรงเรียน 2.0 ต้องจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้ตอบสนองความสนใจ ความถนัด สติปัญญา และสไตล์การเรียนรู้ที่หลากหลายของผู้เรียน โต๊ะ เก้าอี้ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ แหล่งเรียนรู้ต้องพร้อม จำนวนนักเรียนต่อห้องต้องน้อย การจัดโต๊ะและเก้าอี้จัดให้นักเรียนนั่งเรียนเป็นวงกลม มีครูที่ผ่านการฝึกมาเป็นอย่างดีในหลากหลายวิชาเอก นักเรียนที่เรียนช้าหรือมีปัญหาในการเรียนวิชาใดจะได้รับการดูแลเอาใจใส่ปรับฐานสติปัญญาให้ทัดเทียมเพื่อนๆ โดยใช้ครูผู้มีความเชี่ยวชาญ จนนักเรียนสามารถเรียนร่วมกับเพื่อนได้ ครูต้องเก่งในวิชาที่ตนสอนเช่นเดียวกับ ครู 1.0 แต่ที่ต้องเก่งกว่าคือต้องรู้ความถนัด ความสนใจ สติปัญญาและวิถีการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน และต้องทำให้ผู้เรียนแต่ละคนประสบความสำเร็จตามศักยภาพของตน การผลิตครูต้องฝึกแบบเข้ม คนที่จะมาเรียนเพื่อออกไปเป็นครูต้องผ่านการคัดกรองและมีกระบวนการผลิตที่ดีคล้ายการผลิตแพทย์
ครู 3.0
ช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology= ICT-ไอซีที) ได้รับการพัฒนาจนมีศักยภาพสูงมาก มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้แบบไม่มีขอบเขตจำกัด ความรู้ในทุกศาสตร์ ทั้งที่เป็นทฤษฎี หลักการ งานวิจัย สมมุติฐาน แนวปฏิบัติเกี่ยวกับวิชาต่างๆ ถูกนำขึ้นเผยแพร่ในสื่อดิจิทัล Websites, YouTube, PowerPoint, LINE, สื่อวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ และอื่น ๆ อีกมากมาย ความรู้ไม่มีขอบเขตจำกัด ความรู้ไม่คงที่ มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ครูในยุคปลายศตวรรษที่ 20 นอกจากเป็นครู 2.0 ที่มีคุณภาพแล้ว จะต้องสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร สื่อดิจิทัล และสื่อสารมวลชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการเรียนการสอน และสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้เรียนเกี่ยวกับแนวทางการตรวจสอบความถูกต้องและน่าเชื่อถือของความรู้ที่ปรากฏตามสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ นอกจากครูมีความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาที่ตนสอนเป็นอย่างดี สามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดและสติปัญญาของผู้เรียนแล้ว ยังต้องมีความรอบรู้เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ ทั้งแหล่งเรียนรู้บนสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อดิจิทัล ปราชญ์ชาวบ้าน พิพิธภัณฑ์ นิทรรศการ ผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญ และกระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งจากพ่อแม่พี่น้อง ญาติ ๆ เพื่อนในสาขาวิชาต่าง ๆ แล้วนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนกันในชั้นเรียน ให้นักเรียนรักการเรียนรู้ รักการศึกษาค้นคว้า ใฝ่เรียนใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนการสอนแบบ 3.0 เน้นที่การเรียนมากกว่าการสอน (Learning-Oriented) ครูใช้เวลาในการบรรยายหรือถ่ายทอดน้อยลง แต่ใช้เวลาตามตารางสอนเพื่อทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความมั่นใจในสิ่งที่เขาไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองให้มากขึ้น “สอนน้อยลง เรียนรู้มากขึ้น-Teach Less, Learn More = TLLM.” ยืดหยุ่นให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ ได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน ได้รับความรู้ที่เป็นปัจจุบันทันสมัย รัฐบาลต้องลงทุนเพิ่มในการปรับเปลี่ยนจากครู 2.0 เป็นครู 3.0 โดยเฉพาะลงทุนในส่วนที่เป็นสภาพแวดล้อมทางกายภาพเพื่อการเรียนรู้ (Physical Learning Environments) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึง Websites, YouTube, PowerPoint, LINE, Digital Learning Sources, Museums, Displays, etc. และที่สำคัญ ครูต้องพัฒนาตนเองให้ทันสมัยตลอดเวลาจึงจะรู้ความรู้และแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย ครูที่สอนวิชาเดียวกันในชุมชนที่ใกล้เคียงกัน รวมตัวกันเป็นชุมชน (Community) เพื่อแลกเปลี่ยนและเรียนรู้จากกันและกัน เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ จากวิทยากรหรือผู้รู้ร่วมกัน จนกลายเป็นชุมชนวิชาชีพ (Professional Learning Community= PLC)
ครู 4.0
ก้าวย่างเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เทคโนโลยีโรบอต (Robot Technology) ก้าวหน้าและมีอัตราเร่งของการพัฒนาที่สูงมาก มีการนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence =AI) มาใช้ในการประดิษฐ์คิดค้น สร้างนวัตกรรม และการบริหารจัดการ ทำให้มนุษย์และปัญญาประดิษฐ์ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วเกินความคาดหมายของมนุษย์ในหลาย ๆ เรื่อง การสอนให้นักเรียนเป็นนักเรียน 3.0 ไม่เพียงพอที่จะดำรงตนให้ประสบความสำเร็จ ครูต้องเพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะทำให้นักเรียนได้รับทักษะที่จำเป็นสำหรับ ศว.ที่ 21 คือทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การสร้างนวัตกรรม การเรียนและการทำงานร่วมกันเป็นทีม การมีภาวะผู้นำ การสื่อสาร การใช้ข้อมูลและสารสนเทศ การติดต่อสื่อสารทางไกล การใช้คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ การคิดคำนวณ การสร้างอาชีพ และการเรียนรู้ด้วยตนเอง นอกจากนั้นต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการการพัฒนาทักษะทางสังคม คุณธรรมจริยธรรม คารวธรรม การสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศและของโลก การจัดการเกี่ยวกับเศรษฐกิจของตนเองและครอบครัว การเป็นผู้ประกอบการใหม่ การรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การป้องกันภาวะโลกร้อน การยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีและจรรยาบรรณวิชาชีพ เข้าไปในทุกวิชาที่สอนด้วย ครูทำให้บรรยากาศในห้องเรียนเป็นห้องเรียนแห่งความสงสัย อยากเรียนอยากรู้ อยากหาคำตอบ “Community of Inquiry” และนักเรียนไม่อยู่นิ่งแต่กระตือรือร้นค้นหาความรู้และคำตอบที่ตนสงสัยและอยากรู้เป็นกลุ่ม ใช้ปัญญาประดิษฐ์เป็นตัวช่วย เรียกว่าการเรียนรู้โดยยึดปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning = PBL) นักเรียนอาจค้นหาคำตอบจากห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ หรือสถานที่จริง สถานประกอบการ แปลงสาธิต โรงงาน บริษัท ธุรกิจของรัฐหรือของเอกชน เพื่อทำให้นักเรียนและ/หรือครูค้นพบความรู้ใหม่ สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ และสร้างนวัตกรรม
การเรียนการสอนของครู 4.0 เน้นการคิดสร้างสรรค์-Creative Learning ที่จะนำไปสู่การผลิตนวัตกรรม-Innovation
รัฐบาลออกกฎหมายกำหนดให้ภาครัฐและเอกชนถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของเยาวชน สถานประกอบการของรัฐและเอกชน บริษัท ห้างร้าน พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ ต้องจัดให้มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสาธิต และวิทยากร เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ที่จะมาศึกษาดูงานค้นคว้าหาความรู้และทดลองที่สถานประกอบการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่สถานประกอบการได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ
ทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2574
ประกอบด้วยจุดมุ่งหมาย 3 ประการ ได้แก่
1.คนไทยเป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และสมรรถนะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี และยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0
2.สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคี และร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. ประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลางและความเหลื่อมล้ำภายในประเทศลดลง
โดยขับเคลื่อนภายใต้ 7 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1.การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานหลักสูตร การเรียนการสอน กระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล
2.การยกระดับคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
3.การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรมรองรับความต้องการของตลาดงานและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
4.การพัฒนาระบบข้อมูล สารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิตอล
5.การพัฒนาคุณภาพของคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
6.การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของทุกภาคส่วน
7.การพัฒนาระบบการเงินเพื่อการศึกษา
ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์
- http://www.petburi.go.th/
- https://www.gotoknow.org/posts/659962
- การศึกษาในยุค Thailand 4.0 โดย โกเมศ แดงทองดี
- เอกชัย ยุติศรี ย่อความจาก ดิเรก พรสีมา อดีตประธานกรรมการคุรุสภา