
ขอเชิญอบรมออนไลน์ และทำแบบทดสอบ หลักสูตรการปรับโครงสร้างหนี้ ผ่านเกณฑ์ รับเกียรติบัตรทันที โดย สพป.เลย เขต 3
หลักสูตรการปรับโครงสร้างหนี้
กำหนดให้ผู้เข้าร่วมอบรมออนไลน์ ศึกษาคลิป VDO และเอกสารต่าง ๆ ก่อนทำแบบทดสอบออนไลน์เพื่อรับเกียรติบัตรฯ

รายละเอียดหลักสูตร
การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อให้เรายังสามารถจ่ายหนี้ได้โดยไม่ผิดนัดชำระ ซึ่งการผิดนัดชำระหนี้อาจทำให้ลูกหนี้ถูกคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระและมีประวัติค้างจ่ายในข้อมูลเครดิตบูโร เช่น ลดค่างวดโดยการขยายเวลาจ่ายหนี้ หรือเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อลดภาระดอกเบี้ย ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างหนี้แต่ละวิธีมีผลแตกต่างกันต่อประวัติในเครดิตบูโร จึงขอให้สอบถามสถาบันการเงินในประเด็นนี้ด้วยก่อนตัดสินใจ
NPL มีชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่า Non-Performing Loan (NPL) หรือ หนี้เสีย ซึ่งหมายถึง หนี้ที่ไม่ได้รับการชำระคืนตามข้อกำหนดตกลงกันตามสัญญา ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อคุณได้ทำการขอสินเชื่อเอาไว้ แล้วไม่ได้ชำระหนี้นานเกินจำนวนวันที่กำหนด โดยปกติแล้วกำหนดไว้ที่ 90 วัน
การเกิดหนี้ NPL มาจากไหน?
ลองมาดูว่าสาเหตุของ NPL คืออะไร โดยสาเหตุการเกิดของการเกิด NPL อาจจะส่งผลมาจากปัจจัยหลายอย่างนอกจากเงินรายได้ของผู้กู้ด้วย เช่น สภาพรวมของตลาดในประเทศที่ส่งผลต่อกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย-ปานกลาง และวินัยทางการเงินที่จะส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ ที่จะบริหารจัดการจนสามารถปิดยอดหนี้ได้สำเร็จ
สิ่งที่จะเกิดขึ้นหากคุณมี NPL หรือหนี้เสียคือ สถาบันทางการเงินที่คุณขอสินเชื่อก็จะทำรายงานข้อมูลว่าคุณมี NPL ไปที่ศูนย์กลางในการจัดเก็บข้อมูลและประวัติการชำระสินเชื่อ หรือบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือที่รู้จักในชื่อ “เครดิตบูโร” ซึ่งจะทำการจัดเก็บข้อมูล NPL ที่ได้รับในระบบประมวลผลไม่เกิน 3 ปี และจะมีการอัปเดตข้อมูลใหม่เป็นรายเดือน ดังนั้นถึงแม้ว่าคุณจะดำเนินการชำระ NPL หรือหนี้เสียเรียบร้อย ก็จะต้องรออัปเดตข้อมูลอีกครั้งด้วย
NPL คืออะไร ใช่เครดิตบูโรหรือไม่
คำว่าเครดิตบูโร ไม่ได้หมายถึง NPL หรือหนี้เสีย เพราะเครดิตบูโรเป็นคำเรียกศูนย์ข้อมูลเครดิต ที่เก็บประวัติการชำระหนี้ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นประวัติการชำระหนี้ทั้งดีและไม่ดี มีค่าเป็นคะแนนเครดิต (Credit Scoring) อยู่ในระดับไหน ดังนั้นถ้ามีประวัติชำระหนี้ดี ข้อมูลก็จะไปปรากฎบนเครดิตบูโรให้สถาบันทางการเงินที่คุณยื่นกู้พิจารณา ในขณะเดียวกันถ้าชำระหนี้ไม่ทันกำหนด 90 วัน เงินก้อนนั้นจะกลายเป็น NPL หรือหนี้เสีย ติดอยู่ในประวัติเครดิตบูโร
ข้อมูลเหล่านี้ หากลูกค้าไม่ยินยอมให้เปิดเผยข้อมูล สถาบันทางการเงินก็จะไม่สามารถส่งต่อข้อมูลไปยังบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติได้ ซึ่งข้อเสียคือทำให้คุณไม่มีเครดิตบูโรในส่วนนี้ และอาจจะทำให้สถาบันทางการเงินที่ยื่นกู้ ประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของคุณไม่ถูก และคิดว่าคุณอาจจะมี NPL ได้
ตัวอย่างเกียรติบัตร

ขอบคุณที่มา : สพป.เลย เขต 3
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ขอเชิญอบรมออนไลน์ และทำแบบทดสอบ หลักสูตรการจัดทำข้อตกลงพัฒนางาน ว PA ผ่านเกณฑ์ รับเกียรติบัตรทันที โดย สพป.เลย เขต 3
- ขอเชิญอบรมออนไลน์ และทำแบบทดสอบ หลักสูตรการบริหารจัดการหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านเกณฑ์ รับเกียรติบัตรทันที โดย สพป.เลย เขต 3
- ขอเชิญอบรมออนไลน์ และทำแบบทดสอบ หลักสูตรหลักสูตรการต้านการทุจริตในสถานการณ์ Digital Disruption ผ่านเกณฑ์ รับเกียรติบัตรทันที โดย สพป.เลย เขต 3