แจกโปรแกรม Excel คิดคะแนนแบบอิงกลุ่ม เทคนิคเฉพาะของครูชัชวาลย์ รินทร์วงศ์ (เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก)
วิธีการที่ใช้ในการตัดเกรดสามารถแบ่งวิธีการตัดเกรดออกได้เป็น ๒ วิธีใหญ่ ๆ คือ
๑) การตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ (Absolute grading) เป็นการกำหนดว่าหากนักศึกษาทำคะแนนได้ ถึงเท่าไรจะได้เกรดเท่าไร ตัวอย่างเช่น กำหนดว่าหากคะแนนตั้งแต่ ๙๐ คะแนนขึ้นไปได้ A หากคะแนนอยู่ใน ช่วง ๘๐ – ๘๙ คะแนนได้ B หากคะแนนอยู่ในช่วง ๗๐ – ๗๙ คะแนนได้ C หากคะแนนอยู่ในช่วง ๖๐ – ๖๙ คะแนนได้ D และหากคะแนนต่ำกว่า ๖๐ ได้ F เป็นต้น
๒) การตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม (Relative grading) เป็นการกำหนดสัดส่วนของนักศึกษาที่จะได้เกรดต่าง ๆ ให้คงที่ การที่นักศึกษาคนใดจะได้เกรดอะไรนั้นให้เทียบ กับเพื่อนในกลุ่มที่ตัดเกรดด้วยกัน หากทำได้ดีกว่าเพื่อนจะได้เกรดดี หากทำได้ไม่ดีเท่าเพื่อนจะได้เกรดไม่ดีตัวอย่างเช่นกำหนดว่านักเรียนที่ได้คะแนนสูงสุด ๑๕% ของกลุ่มจะได้ A ผู้ที่คะแนนรองลงไปอีก ๒๕% จะได้ B ผู้ที่คะแนนรองลงไปอีก ๔๕% จะได้ C และผู้ที่คะแนนต่ำลงไปอีก ๑๐% จะได้ D และนักศึกษาที่ได้คะแนนต่ำสุด ๕% ของกลุ่มจะได้ F เป็นต้น
ในปัจจุบันการตัดเกรดทั้ง ๒ วิธีเป็นที่ยอมรับ
กันทั่วไป มีทั้งสถาบันที่ใช้การตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์
และสถาบันที่ใช้การตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม
ลักษณะของสูตร
- ลักษณะการคำนวณคะแนนแบบอิงกลุ่ม คล้ายกับการคำนวณ T-Score แต่จะไม่มีนักเรียนไม่ผ่าน (คะแนนเกินครึ่ง/ผ่านทุกคน)
- นักเรียนที่มีคะแนนเก็บน้อยสุด จะผ่านพอดี
- นักเรียนที่มีคะแนนเก็บมากที่สุด จะได้คะแนนเต็ม
- นักเรียนอื่น ๆ จะกระจายคะแนนตามสัดส่วนของนักเรียนที่มีคะแนนเก็บน้อยที่สุดและมากที่สุด
เทคนิควิธีการ “บวกเท่ากัน หารเท่ากัน”
- นำคะแนนสูงสุดไปบวกให้กับนักเรียนทุกคน
- หาตัวหารที่เหมาะสม ให้คะแนนสูงสุด เท่ากับคะแนนเต็ม แล้วนำไปหารกับนักเรียนทุกคน (2 เท่าของคะแนนสูงสุด หารด้วยคะแนนเต็มที่ต้องการ)
ข้อเสียของเทคนิคนี้คือ
- นักเรียนที่ไม่ส่งงานเลย จะได้คะแนนผ่านโดยปริยาย (ซึ่งไม่ยุติธรรม)
- นักเรียนจะถูกบีบเพดานคะแนนเบียดกัน คนที่คะแนนห่างกันไม่มาก จะถูกบีบมาอยู่ในช่วงคะแนนเท่ากันได้ คะแนนจะกองกันในช่วงผ่านถึงช่วงคะแนนเต็ม
ตัวอย่างไฟล์
ดาวน์โหลดโปรแกรมการคิดคะแนนแบบอิงกลุ่ม สูตรครูชัชวาลย์ รินทร์วงศ์ จากลิงก์นี้ >>https://1drv.ms/x/s!AmZAyfnUDrrfg40aYz5hlx38f8YWSw?e=03ff3e
ขอบคุณที่มา : Facebookเพจ วิชาการ