ดาวน์โหลด คู่มือการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน ประจำปีการศึกษา 2565 โดย สพฐ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดทำคู่มือ การดำเนินงาน โครงการ อาหารกลางวัน ประจำปีการศึกษา 2565 โดยสามารถดาวน์โหลดได้จากลิ้งก์ต่อไปนี้ หรือ เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน สามารถดาวน์โหลดได้ในลิงก์ด้านล่าง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดทำคู่มือ การดำเนินงานโครงการ อาหารกลางวัน ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อให้โรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องมีแนวทางในการดำเนินงานได้อย่างถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์ของ สพฐ. และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ และให้การสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ และแนวปฏิบัติได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
ความเป็นมา
ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการจัดการอาหาร จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2561 – 2580) ที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 เชื่อมโยงการดำเนินงานทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับอาหารสูโภชนาการเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักคิดพื้นฐานในการปฏิบัติ โดยมุ่งให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางด้านอาหารและโภชนาการเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการซึ่งโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนเป็นโครงการหนึ่งที่มีความสำคัญ โดยมีหลายโรงเรียนที่สามารถบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการโดยมีมื้ออาหารกลางวันในโรงเรียนเป็นตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันในบางโรงเรียนมีการทดลองปลูกผัก ปลูกพืชไร่ เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เพาะเห็ดหรือการทำการเกษตรอื่น ๆ เพื่อนำผลผลิตที่ได้มาสนับสนุนกิจกรรมโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนซึ่งอยู่ในวัยที่กำลังเจริญเติบโตมีสุขภาพพลานามัยดีขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งไม่เพียงจะส่งผลดีต่อสุขภาพของนักเรียนเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการขยายองค์ความรู้ไปสู่ครอบครัวและชุมชนอีกด้วย
โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษาจึงเป็นบริการสาธารณะที่รัฐบาลจัดให้กับนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็กจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภายใต้งบประมาณ 21 บาท/คน/วันจำนวน 200 วันในหนึ่งปีการศึกษา ให้ได้รับประทานอาหารกลางวันที่ดี มีคุณภาพ ปลอดภัย เพียงพอต่อความต้องการและเหมาะสมกับวัยของนักเรียน การที่นักเรียนได้รับสารอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการจะเสริมสร้างการเจริญเติบโตและพลังในการเรียนรู้ ช่วยพัฒนาสมองให้มีความพร้อมในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น สามารถนำบทเรียนจากการรับประทานอาหารกลางวันไปใช้ในการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีได้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและโรงเรียนได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการอาหารกลางวันมาอย่างต่อเนื่อง แต่การดำเนินโครงการก็มักจะได้รับเสียงสะท้อนเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ อยู่เสมอ เช่น งบประมาณที่ไม่เพียงพอ การบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันที่ด้อยคุณภาพทั้งในแง่ของปริมาณ คุณภาพและคุณค่ าทางโภชนาการของอาหารที่ไม่เพียงพอเหมาะสมต่อความต้องการในการเจริญเติบโตและการเรียนรู้อย่างสมวัย อาหารไม่ปลอดภัยมีการปนเปื้อนสารเคมี โรงเรียนไม่สามารถนำโปรแกรมการจัดสำรับอาหาร (Thai School Lunch) มาใช้ ในการจัดอาหารกลางวันให้ได้คุณภาพ นอกจากนี้ยังพบว่าโรงเรียนขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารงบประมาณโครงการอาหารกลางวันให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 หรือการบริหารจัดการงบประมาณให้เกิดความคุ้มค่า
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียนจึงได้จัดทำคู่มือการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อเป็นแนวทางสำหรับ
ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามขั้นตอนและกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และบรรลุวัตถุประสงค์ตามเจตนารมณ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการโครงการเพื่อของบประมาณเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวัน
คำถามที่พบบ่อย (Frequency Question Answer)
ถามตอบ (Q & A)
Q1:หากโรงเรียนมีงบประมาณเหลือจากการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันสามารถใช้ส่วนนี้ โดยไม่ต้องส่งคืน หรือสามารถนำไปบริหารในส่วนวัสดุอุปกรณ์ เช่น ถาดหลุม
ช้อนส้อมหรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้หรือไม่
A 1 : ไม่ได้ งบประมาณที่เหลือจากการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันให้ส่งคืนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดสรรงบประมาณห้โรงเรียน ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด
ที่ มท 0808.2/ว4750 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2563 เรื่องซักซ้อมแนวทางปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 ข้อที่ 7.5 “ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งหน่วยงานที่ได้รับเงินอุดหนุนรายงานผลการดำเนินงานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่โครงการแล้วเสร็จ และหากมีเงินเหลือให้ส่งคืนองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในคราวเดียวกัน”
Q 2 :โรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันไม่ครบตามจำนวนวันและจำนวนนักเรียน ควรดำเนินการอย่างไร
A 2 : หากมีจำนวนนักเรียนรายใหม่เพิ่มขึ้นให้สถานศึกษาจัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มเติม ณ วันที่มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น ตามหนังสือกรมส่งเสริ่มการปกครองส่วนท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0808 2/ว1180 ลงวันที่ 25 เมษายน 2561 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการใช้จ่ายเงินสะสมทดรองจ่ายไปพลางก่อน
Q. 3 : ครูรับประทานอาหารกลางวันของนักเรียนได้หรือไม่
A 3: ไม่ได้
Q4: ครูจ่ายเงินสมทบค่าอาหารกลางวัน สามารถรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับนักเรียนได้หรือไม่
A 4: ไม่ได้
Q 5 : กรณีมีเงินเหลือจ่ายจากภาคเรียนที่ 2 ระหว่างรอการจัดสรรงบประมาณภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษาถัดไป ที่มักล่าช้า ไม่ทันเปิดภาคเรียน สามารถให้โรงเรียนนำเงินส่วนนี้สำรองไปพลางก่อนได้หรือไม่ วงเงินเท่าไหร่
A5 :โรงเรียนสามารถนำเงินเหลือจ่ายจากภาคเรียนที่ 2 มาใช้จ่ายในภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษาถัดไปได้ เนื่องจากยังไม่เสร็จสิ้นโครงการ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงิน
อุดหนุนขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะจัดสรรงบประมาณค่าอาหารกลางวันให้กับโรงเรียน ปีงบประมาณละ 200 วัน โรงเรียนสามารถบริหารจัดการงบประมาณในแต่ละภาคเรียนได้ภายในวงเงินที่ได้รับจัดสรร
Q 6: แนวทางการก็บรักษาเงินนี้หากสิ้นปีงบประมาณ ต้องส่งคืนรายได้แผ่นดินทั้งหมดหรือไม่ จะมีแนวทางที่ชัดเจนให้โรงเรียนเก็บรักษาบางส่วนหรีอวงเงินที่จำกัดหรือไม่ว่าสามารถใช้
ส่วนนี้โดยไม่ต้องส่งคืน
A 6 : การใช้จ่ายงบประมาณอาหารกลางวันนั้น ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินอุดหนุนขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563หน่วยงานที่ได้รับเงินอุดหนุนต้องรายงานผลการดำเนินงานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่โครงการแล้วเสร็จ และหากมีเงินเหลือให้ส่งคืนองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในคราวเดียวกัน ดังเช่น
Q 7 : ในการลงรายการซื้อวัตถุดิบ เราสามารถลง แก๊สหุงต้ม และค่าแรงแม่ครัวรวมทั้งอุปกรณ์ในการทำความสะอาดต่าง ๆ ได้หรือไม่
A 7: ไม่ได้
Q 8 : ในการโอนเงินให้โรงเรียน มีจำนวนวันที่ได้รับหลากหลาย เช่น 29 วัน 39 วัน 50 วัน 100 วัน มีแนวทางแก้ไข หรือไม่
A 8: การโอนเงินให้โรงเรียนในแต่ละงวด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องคำนึงถึงสถานะการเงินการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ในแต่ละปีงบประมาณองค์กรปกครองส่วนถิ่นต้องจัดสรรค่าอาหารกลางวันให้กับโรงเรียนให้ครบ 200 วัน
Q 9 : ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 โรงเรียนสามารถดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณให้ผู้ปกครอง เป็นสัปดาห์ได้หรือไม่
A 9:ไม่ได้ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 โดยดำเนินการจัดทำหลักฐานการเบิกจ่ายไมให้เกิดความซ้ำซ้อนของจำนวนนักเรียน และเบิกจ่ายงบประมาณตามที่ต้องจ่ายเงินเป็นไปตามระเบียบของทางราชการอย่างเคร่งครัด โดยเบิกจ่ายเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งนับตามจำนวนที่เป็นวันเปิดเรียน แต่ไม่สามารถมาเรียนที่โรงเรียนตามตารางที่โรงเรียนจัด ทั้งนี้การจัดการเรียนการสอนชดเชยแบบเต็มเวลาสามารถบิกค่าอาหารกลางวันได้
A 10: กรณีที่โรงเรียนจะดำเนินการจัดซื้อวัตถุดิบ จากโครงการกองทุนหมุนเวียนเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษาได้หรือไม่
Q 10: ไม่ได้
เอกสารที่สำคัญ
ขอบคุณที่มา : สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สพฐ.
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ครม. มีมติเห็นชอบ ปรับค่าอาหารกลางวันนักเรียน 21 บาทต่อคนต่อวัน จากอัตราเดิม 20 บาท เริ่มปีงบประมาณ 65
- แนวทางการดำเนินงาน อาหารกลางวันและนมโรงเรียน ปีการศึกษา 2565 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
- อปท.ตั้งงบประมาณ อาหารกลางวัน และอาหารเสริม นมโรงเรียน ปี 2565