แบบทดสอบออนไลน์หลักสูตรพัฒนาสมรรถนะครูสู่มืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ผ่านเกณฑ์ 80% รับเกียรติบัตรทางอีเมล โดย สพป.พิจิตร เขต 2
แบบทดสอบหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะครูสู่มืออาชีพในศตวรรษที่ 21 หากคุณผ่าน 80% ขึ้นไปคุณจะได้รับเกียรติบัตรในอีเมล์ที่คุณแจ้งไว้
***คำชี้แจง***
แบบทดสอบจำนวน 20 ข้อ เมื่อทำผ่าน 80% ขึ้นไป ระบบจะจัดส่งเกียรติบัตรเข้า E-mail อัตโนมัติ
(E-mail ที่ใช้ในการทดสอบต้องเป็น @gmail.com เท่านั้น)
**แหล่งเรียนรู้**
- https://anyflip.com/bookcase/viqbq
- https://www.trueplookpanya.com/education/content/68571/-teaartedu-teaart-teaarttea-
- https://sites.google.com/site/khruthiynistwrrsthi21/thaksa-khru-ni-stwrrs-thi-21
- http://www.okmd.or.th/okmd-opportunity/new-gen/262/
- https://www.youtube.com/watch?v=PerbpOo4oQc&feature=youtu.be
- ผู้รับผิดชอบ : นางอรนุช สุวรรณพจน์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
สมรรถนะของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
สมรรถนะหลัก (Core Competency) 5 ประการ ได้แก่
การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน
การบริการที่ดี
การพัฒนาตนเอง
การทำงานเป็นทีม
จริยธรรมและจรรยาบรรณครู
สมรรถนะตามสายปฏิบัติงาน (Functional Competency) 6 ประการ ได้แก่
– การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
– การพัฒนาผู้เรียน
– การบริหารจัดการชั้นเรียน
– การวิเคราะห์ สังเคราะห์และวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
– ภาวะผู้นำ
– การสร้างความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับชุมชน
สำหรับยุคแห่งเทคโนโลยีและการสื่อสารที่เต็มไปด้วยข้อมูลสารสนเทศหลากหลาย ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีทักษะสำคัญสำหรับยุคนี้ที่เรียกว่า C-Teacher (ถนอมพร เลาหจรัสแสง) ซึ่งได้แก่
Content: ผู้สอนต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องที่สอนเป็นอย่างดี เพราะหากผู้สอนไม่เชี่ยวชาญในเรื่องที่สอนหรือถ่ายทอด ก็ไม่สามารถทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้บรรลุเป้าหมาย
Computer (ICT) Integration: ผู้สอนต้องมีทักษะในนการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีจะช่วยกระตุ้นความสนใจให้แก่ผู้เรียน ยิ่งถ้าได้ผ่านการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพจะยิ่งช่วยส่งเสริมทักษะที่ต้องการได้เป็นอย่างดี
Constructionist: ผู้สอนต้องเข้าใจแนวคิดที่ว่า ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ขึ้นได้เองจากการเชื่อมโยงความรู้เดิมที่มีอยู่เข้ากับความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่ได้รับ และได้จากการลงมือปฏิบัติในกิจกรรมต่าง ๆ โดยครูสามารถนำแนวคิดนี้ไปใช้ในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างความรู้และสร้างสรรค์ชิ้นงานต่าง ๆ ผ่านการประยุกต์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากในชั้นเรียนและจากการศึกษาด้วยตนเอง
Connectivity: ผู้สอนต้องสามารถจัดกิจกรรมให้เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้สอนในสถานศึกษาเดียวกันหรือต่างสถานศึกษา รวมถึงความเชื่อมโยงระหว่างสถานศึกษาและสถานศึกษากับชุมชนเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่เป็นประสบการณ์ตรงให้แก่ผู้เรียนCollaboration: ผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนรู้ในลักษณะการเรียนรู้แบบร่วมมือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เพื่อฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม การเรียนรู้ด้วยตนเอง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสารสนเทศระหว่างกัน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะอาชีพและทักษะชีวิต
Communication: ผู้สอนมีทักษะการสื่อสาร ทั้งการบรรยาย การยกตัวอย่าง การเลือกใช้สื่อ การนำเสนอสื่อ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมนำไปสู่ความเข้าใจและสามารถเรียนรู้ได้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
Creativity: ผู้สอนในศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องสร้างสรรค์กิจกรรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย แปลกใหม่จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด ผู้สอนต้องเป็นมากกว่าผู้ถ่ายทอดความรู้โดยตรงเพียงอย่างเดียว
Caring: ผู้สอนต้องมีมุทิตาจิตต่อผู้เรียน ต้องแสดงออกถึงความรัก ความห่วงใยอย่างจริงใจต่อผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อใจส่งผลต่อการจัดสภาพการเรียนรู้ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งเป็นสภาพที่ผู้เรียนจะมีความสุขในการเรียนรู้และจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด
ตัวอย่างเกียรติบัตร
ขอบคุณแบบทดสอบ โดย สพป.พิจิตร เขต 2