อบรมออนไลน์ฟรี หลักสูตรโค้ดดิ้ง สสวท. อบรมเชิงปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ข้อมูลด้วยอุตุน้อยแบบออนไลน์ รุ่นที่ 2 จำนวน 20 ชั่วโมง รับเกียรติบัตรฟรี อบรม 15 มกราคม ถึง 15 เมษายน 2567
เชิญครูวิทยาการคำนวณ ครูวิชาอื่นที่สนใจ บุคลากรทางการศึกษาทุกสังกัด หรือผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมอบรมแบบออนไลน์ในหลักสูตร โค้ดดิ้ง สสวท ปี 2567 หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัล digital literacy
- วิทยาศาสตร์ข้อมูลด้วยอุตุน้อย 1 หลักสูตร
- ปัญญาประดิษฐ์สำหรับโรงเรียน รุ่น 4 (AI for School : 4 Level) 4 หลักสูตร
- การรู้ดิจิทัล (Digital Literacy) 1 หลักสูตร
ทุกหลักสูตรลงทะเบียนและอบรมด้วยตนเองวันที่ 15 มกราคม ถึง 15 เมษายน 2567
อบรมฟรี ดาวน์โหลดวุฒิบัตรได้ทันทีเมื่อผ่านเกณฑ์การอบรม
อบรมผ่านเว็บไซต์ https://teacherpd.ipst.ac.th/
ฝากแชร์ บอกต่อ และเข้าร่วมอบรมกันได้
IPST: CS054 อบรมเชิงปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ข้อมูลด้วยอุตุน้อยแบบออนไลน์ รุ่น 2
ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร
อบรมเชิงปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ข้อมูลด้วยอุตุน้อยแบบออนไลน์ มีเนื้อหาประกอบด้วย 12 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 อุตุน้อย เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะการทำงานของอุปกรณ์ ที่จะประกอบเป็นสถานีอุตุน้อย การเขียนโปรแกรม ทดสอบโปรแกรม และการทดสอบอุปกรณ์ รวมถึงการใช้งานอุปกรณ์สถานีอุตุน้อย
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สภาพอากาศบ้านฉัน เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถานีวัด และจัดการข้อมูลด้วยเว็บแอปพลิเคชันเรียนรู้ข้อมูล
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สำรวจความต่าง เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้วิทยาการข้อมูลในการสำรวจ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และนำเสนอข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของสภาพภูมิกาศในแต่ละภูมิภาคของประเทศ
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เที่ยวด้วยกัน เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดเตรียมข้อมูลก่อนการประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลและสร้างทางเลือกในการตัดสินใจโดยใช้ประโยชน์จากข้อมูล
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 นักข่าวน้อยพยากรณ์ เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการนำความรู้ด้านวิทยาการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในการนำเสนอด้วยภาพให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างสร้างสรรค์
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ยุงไม่กวน…ชวนวิเคราะห์ เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการสำรวจข้อมูล นำเสนอข้อมูล อภิปรายผล และใช้ประโยชน์จากผลลัพธ์ของข้อมูลในการวางแผน แก้ปัญหาให้กับชุมชน หรือสังคม
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย (Season Change) เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการนำความรู้ด้านวิทยาการข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมและโลก
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 นโยบายยางพารา เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลด้วยโปรแกรมภาษา และใช้ประโยชน์จากข้อมูลช่วยในการตัดสินใจ
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 ลองเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิหลายแหล่ง จัดเตรียม วิเคราะห์ข้อมูล และทำข้อมูลให้เป็นภาพด้วยการเขียนโปรแกรมภาษา
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 พิรุณหรรษา เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการทำนาย หรือคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น โดยใช้ความรู้ด้านวิทยาการข้อมูลและการเขียนโปรแกรม
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 เมฆาพยากรณ์ เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการทำนาย หรือคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น โดยใช้ความรู้ด้านวิทยาการข้อมูลและการเขียนโปรแกรม
- หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 พลังงานแสงอาทิตย์ทำอย่างไรให้พอเพียง เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการบูรณาการความรู้เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการข้อมูล และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการแก้ปัญหาและการทำงานในชีวิตจริง
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- ใช้ความรู้ด้านวิทยาการข้อมูลในการสำรวจ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และนำเสนอข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของสภาพภูมิกาศในแต่ละภูมิภาคของประเทศ
- ใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลในการสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอข้อมูล อภิปรายผล และใช้ประโยชน์จากผลลัพธ์ของข้อมูลในการวางแผน แก้ปัญหาให้กับชุมชน หรือสังคม
- ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และสามารถถ่ายทอดให้กับผู้เรียนผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ได้
จำนวนชั่วโมงเรียน
20 ชั่วโมง
ผ่านการรับรองหลักสูตรจาก ก.ค.ศ.แล้ว รหัสหลักสูตร 65078
เกณฑ์การผ่านการอบรม
เกณฑ์การผ่านมีคะแนนรวมอยู่ที่ 80% ขึ้นไป
ตัวอย่างเกียรติบัตร
ท่านต้องอบรมด้วยตนเองเท่านั้น หากสอบพบว่าผู้สมัครเข้าอบรมไม่ได้เข้าอบรมด้วยตนเอง สสวท. จะยกเลิกวุฒิบัตรของผู้ที่กระทำการว่าจ้างและรับจ้างอบรม โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทุกกรณี
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ :: สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท.