สพฐ.เปิดรับสมัครโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ รุ่นที่ ๑๕ ตั้งแต่บัดนี้ - ๑๕ กรกฏาคม ๒๕๖๗
สพฐ.เปิดรับสมัครโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ รุ่นที่ ๑๕ ตั้งแต่บัดนี้ - ๑๕ กรกฏาคม ๒๕๖๗

สพฐ.เปิดรับสมัครโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ รุ่นที่ ๑๕ ตั้งแต่บัดนี้ – ๑๕ กรกฏาคม ๒๕๖๗

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รับสมัครโรงเรียน
ที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนวิถีพุทธที่สนใจเข้ารับการประเมินเป็นโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ รุ่นที่ ๑๕ ** ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ ๑๕ กรกฏาคม ๒๕๖๗

สพฐ.เปิดรับสมัครโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ รุ่นที่ ๑๕ ตั้งแต่บัดนี้ - ๑๕ กรกฏาคม ๒๕๖๗
สพฐ.เปิดรับสมัครโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ รุ่นที่ ๑๕ ตั้งแต่บัดนี้ - ๑๕ กรกฏาคม ๒๕๖๗ 3
สพฐ.เปิดรับสมัครโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ รุ่นที่ ๑๕ ตั้งแต่บัดนี้ - ๑๕ กรกฏาคม ๒๕๖๗
สพฐ.เปิดรับสมัครโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ รุ่นที่ ๑๕ ตั้งแต่บัดนี้ - ๑๕ กรกฏาคม ๒๕๖๗ 4

คำขี้แจง การรับสมัครโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ รุ่นที่ ๑๔

คุณสมบัติโรงเรียนที่มีสิทธิสมัครโรงเรียนวิถีพุทธขั้นนำ (ต้องมีคุณสมบัติครบทุกข้อ)

๑. สมัครเข้าร่วมโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ผ่านเว็บไซต์ www.vitheebuddha.com ก่อนเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๕ โรงเรียนสามารถตรวจสอบวันที่ลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมโครงการ โดยเข้ารหัสของโรงเรียนที่เว็บไซต์ ซึ่งข้อมูลจะปรากฎหลังชื่อโรงเรียน

๒. ไม่เคยได้รับประกาศยกย่องเป็นโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำมาก่อน

๓. มีการดำเนินการตามตัวชี้วัดอัตลักษณ์วิถีพุทธครบทั้ง ๒๙ ประการ และประเมินตนเองตามอัตลักษณ์วิถีพุทธ ที่เว็บไชต์ www.vitheebuddha.com ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ – ๒๕๖๖

๔. มีการดำเนินการโครงการหรือกิจกรรม ๒ โครงกร/กิจกรรม อย่างเป็นรูปธรรม ต่อเนื่องกันอย่างน้อย ๒ ปีและส่งผลดีต่อครู บุคลากรและผู้เรียน

๕. มีการดำเนินการโครงงานคุณธรรมโรงเรียนวิถีพุทธ ๑ โครงงาน อย่างเป็นรูปธรรม อย่างน้อย ๑ ปี และส่งผลดีต่อครู บุคลากรและผู้เรียน

๖. มีแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่บูรณาการหลักธรรมสู่กลุ่มสาระการเรียนรู้

เอกสารประกอบการสมัคร

เอกสารประกอบการสมัคร ประกอบด้วย ๕ รายการ ดังนี้
๑. ใบสมัคร ที่มีการลงนามรับรองครบถ้วน ประกอบด้วย ๑) ผู้อำนวยการโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ หรือโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน ๒) ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ๓) ผู้ทรงคุณวุฒิ(บุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ และรับทราบการดำเนินงานของโรงเรียนเป็นอย่างดี เช่น คณะกรรมการสถานศึกษาพระสอนศีลธรรม เป็นต้น)
๒. เอกสารรายงานผลการดำเนินงานตามอัตลักษณ์ ๒๙ ประการ โดยสั่งพิมพ์จากเว็บไซต์ www.vitheebuddha.com ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ – ๒๕๖๖ (ปิ๊งบประมาณละ ๑ รอบการประเมิน)
๓. รายงานโครงการหรือกิจกรรมเด่น (Best Practice) ๒ ผลงาน (รวม ๒ ผลงาน ไม่เกิน ๑๒ หน้ากระดาษ A4 ไม่รวมปก) ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๖ – ๒๕๖๗ โดยรายงานโครงการหรือกิจกรรมเด่น (Best Practice) ต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้

๑) ชื่อเรื่องผลงาน (ระบุข้อที่สอดคล้องกับอัลักษณ์ ๒๙ ประการ ข้อใดข้อหนึ่ง)
๒) ที่มาและความสำคัญของปัญหา
๓) วัตถุประสงค์
๔) กลุ่มเป้าหมาย
๕) ระยะเวลาในการดำเนินงาน (ย้อนหลังไม่เกิน ๒ ปี)
๖) ขั้นตอนการดำเนินงานที่แสดงการมีส่วนร่วมของ บ ว ร
๗) หลักธรรมที่ใช้มีการบูรณาการหลักธรรมที่สอดคล้องกับกระบวนการแก้ปัญหา
๘)ผลการดำเนินงาน
๙) ประโยชน์ที่ได้รับ
๑๐ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ/ความภาคภูมิใจ
๑๑) บทเรียนที่ได้รับ
๑๒) การขยายผล ต่อยอด ประยุกต์ใช้

๑๓) การเผยแพร่
๑๔) ภาพประกอบที่สอดคล้องกับผลงาน ๔ ภาพ ต่อผลงาน ๑ เรื่อง
๔. รายงานโครงงานคุณธรรมโรงเรียนวิถีพุทธ ๑ โครงงาน ปีการศึกษา ๒๕๖๕ (ไม่เกิน ๑๐ หน้ากระดาษA๔ ไม่รวมปก)

๕. แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่บูรณาการหลักธรรมสู่กลุ่มสาระการเรียนรู้ ยกเว้นกลุ่มสาระสังคมฯ ปีการศึกษาปัจจุบัน จำนวน ๑ คาบเรียน (ไม่เกิน ๑๐ หน้ากระดาษ A๔ ไม่รวมปก) และบันทึกวีดีโอการสอน ความยาวเต็มเวลา ไม่ตัดต่อ มีเนื้อหาครบทั้งขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป โดย Upload ลงใน google drive, YouTube หรือสื่อสังคมออนไลน์ (ช่องทางใดช่องทางหนึ่ง) และเปิดเป็นสาธารณะ พร้อมทั้งแนบ Link และ QR Code ในเอกสาร โดยแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

ดาวน์โหลดเอกสารแนบ https://www.vitheebuddha.com/files/news/fe17fbab94f4289bea5df84343e052110.pdf

ขอบคุณที่มา :: โรงเรียนวิถีพุทธ โดย สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ และ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (vitheebuddha.com)

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่