ดาวน์โหลด แนวทางการจัดกิจกรรม Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยสถาบันสังคมศึกษา สพฐ.
การพัฒนาผู้เรียนให้พร้อมเป็นพลเมืองที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศ โดยเฉพาะเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างไรก็ตาม เพื่อธำรงไว้ซึ่งความมั่นคง สถาพรของประเทศชาติ การจัดการศึกษาเพื่อบ่มเพาะผู้เรียนให้รักและภาคภูมิใจในรากเหง้าของตนเอง ในประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชาติในขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ก็มีความสำคัญเช่นกัน
เพื่อพัฒนาผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้พร้อมเป็นพลเมืองที่มีความรู้ ทักษะสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ เกิดความรักและภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ชาติไทยแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางใจความสำคัญว่า
“…การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนใน ๒ ด้าน คือ ส่งเสริมให้นักเรียนมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง และมุ่งสร้างพื้นฐานชีวิตหรืออุปนิสัยที่มั่นคง…” และรับใส่เกล้าฯกระแสพระราชดำรัส สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่แสดงความห่วงใยต่อการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย กำหนดให้โครงการการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นจุดเน้นเชิงนโยบาย และได้ดำเนินโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง “การเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ผ่านกิจกรรม Active Learning การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย” ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นพัฒนาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ได้รับการเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ผ่านการลงมือปฏิบัติกิจกรรมรูปแบบActive Learning ที่บ่มเพาะและปลูกฝังความรัก ความภาคภูมิใจในชาติไทยและแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ดังนั้น เพื่อให้ครูผู้สอนสาระประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมครูผู้นำกิจกรรมเสริมหลักสูตร มีแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ที่ผู้เรียนได้ศึกษาและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านการลงมือปฏิบัติกิจกรรมแบบ Active Learning สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้จัดทำเอกสาร “แนวการจัดกิจกรรม Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ :ประวัติศาสตร์ชาติไทย” ขึ้น เป็นชุดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะทางประวัติศาสตร์ ๓ ขั้นตอน คือ ขั้นการรู้จักหลักฐานที่หลากหลาย (Sourcing) ขั้นการประเมินคุณค่าของหลักฐาน
หรือการวิพากษ์หลักฐาน (Corroboration) และขั้นการวิเคราะห์สังเคราะห์โดยการใช้ข้อมูลที่ผ่านการวิพากษ์กับข้อมูลอื่น ๆ (Contextualizing) หรือรวมเรียกว่า “ทักษะทางประวัติศาสตร์ 1S2C” เพื่อเป็นแนวทางและแรงบันดาลใจให้แก่ครูผู้สอนที่จะมีต้นแบบในการพัฒนาและปรับเสริมรูปแบบการสอนของตนต่อไป
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อครูและผู้ที่สนใจการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ผ่านกิจกรรมรูปแบบ Active Learning ปลูกฝังความรักความภาคภูมิใจในชาติไทยและความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
เนื้อหาเอกสาร
- ทักษะทางประวัติศาสตร์และกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์
- กิจกรรม Active Learning การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย
- ชุดกิจกรรม ทักษะทางประวัติศาสตร์ – ลำดับกษัตริย์สุโขทัย
- ชุดกิจกรรม เรียนรู้ภูมิปัญญาสมัยสุโขทัย
- ชุดกิจกรรม กษัตริย์อยุธยามีหน้าที่
- ชุดกิจกรรม เฮฮาค้าขาย สนธิสัญญาเบาว์ริง
- ตัวอย่างแบบประเมินผลการเรียนรู้
ทักษะทางประวัติศาสตร์
ทักษะ หมายถึง ความชำนาญในการกระทำหรือการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอาจเป็นทักษะด้านร่างกาย สติปัญญา หรือสังคม ที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนหรือการกระทำซ้ำ ๆ
ทักษะทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ความสามารถ ความชำนาญในการรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ การประเมินค่าหลักฐาน การฝึกคิดวิเคราะห์ตามบริบททางประวัติศาสตร์ คือ
การต้องรู้จักบุคคล เวลา สถานที่ และรู้จักเชื่อมโยงข้อมูลจากหลักฐานที่ได้รับกับองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน
ทักษะทางประวัติศาสตร์ เป็นทักษะการคิดวิเคราะห์ในมิติประวัติศาสตร์เน้นการตั้งคำถามตลอดเวลา ไมใช่เพียงการนำข้อมูล หลักฐานที่รวบรวมได้มาเรียงต่อกันทักษะทางประวัติศาสตร์ 152C จึงเป็นทักษะที่ผู้สอนต้องจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถอย่างเชี่ยวชาญในการใช้ความคิดที่เป็นกระบวนการ เป็นเหตุเป็นผลมีวิจารณญาณ เปิดกว้างทางความคิดเห็น เพื่อสืบสอบเรื่องราวบนพื้นฐานข้อมูลหลักฐาน ข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ประกอบด้วยทักษะที่เป็นลำดับขั้นตอน ได้แก่
๑. ขั้นการรู้จักเอกสารหลักฐานที่หลากหลาย (Sourcing) หลักฐานเป็นพื้นฐานสำคัญของการสืบค้นประวัติศาสตร์ กระบวนการรวบรวมข้อมูลหลักฐานจากแหล่งต่าง ๆจึงเป็นกระบวนการเริ่มต้นที่สำคัญของการสืบค้นเรื่องราวที่เกิดขึ้นไปแล้ว ผู้สอนจึงควรจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการสืบคันข้อมูล วางแผนรวบรวมข้อมูลหลักฐานจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งหลักฐานชั้นต้น คือ หลักฐานที่เกิดร่วมสมัยกับเหตุการณ์นั้น ๆ หรือมีการบันทึกร่วมสมัยกัน และหลักฐานชั้นรอง คือ งานเขียนที่ใช้หลักฐานชั้นตันมาศึกษาวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ผู้เรียนอาจพบได้ใกล้ตัว เช่น เอกสารทางราชการ บทความในหนังสือพิมพ์ การสัมภาษณ์ ภาพถ่าย ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต โบราณสถาน โบราณวัตถุ เป็นต้น
๒. ขั้นการประเมินค่าของหลักฐาน (Corroboration) คือ กระบวนการตรวจสอบประเมินค่าเนื้อหาและข้อมูลที่ปรากฏจากข้อมูลภายในหลักฐานเอง เช่น การตรวจสอบ วัน เดือน ปี ที่ผลิตหรือสร้างเอกสาร การตรวจสอบชื่อบุคคล สถานที่ที่ปรากฎ การเทียบศักราชในเอกสาร การตรวจสอบความน่าเชื่อถือ อคติของผู้เขียน ข้อเท็จจริง การบิดเบือนข้อมูล
ความหมายที่แท้จริง เป็นต้น
การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการประเมินค่าเนื้อหาและข้อมูลที่ปรากฏในหลักฐานนั้น ๆ โดยเฉพาะมิติความน่าเชื่อถืออคติของผู้เขียนข้อเท็จจริง การบิดเบือนข้อมูล ความหมายที่แท้จริง ถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่ผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดพิจารณาความน่เชื่อถือ ตามตรรกะและความสมเหตุสมผล
๓. ขั้นการเปรียบเทียบข้อมูลจากหลักฐานที่หลากหลาย (Contextualizing) คือ กระบวนการสอบทานเปรียบเทียบเนื้อหาและข้อมูลที่ได้จากหลักฐานนั้น ๆ กับหลักฐาน เอกสาร
ข้อมูลแวดล้อมอื่น ๆ เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงหรือความจริงทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของเหตุการณ์ สาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ ความเป็นไปของเหตุการณ์ ผลของเหตุการณ์ เป็นต้นโดยอาจจัดกระบวนการให้ผู้เรียนได้เปรียบเทียบเอกสารกับหลักฐานอื่น ๆ เช่น ระหว่างหลักฐานภาพถ่าย แผนที่โบราณ ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ การเปรียบเทียบชุดข้อมูล และการสังเคราะห์ข้อมูลสรุปเรื่องราวที่ได้ศึกษาตามตรรกะความน่าเชื่อถือจากหลักฐานที่ปรากฏ
ขอบคุณแหล่งที่มา : สถาบันสังคมศึกษา สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน