กพฐ.รุกยกระดับ ‘อังกฤษ’ เล็งคลอดเกณฑ์จัดการเรียนตามหลักสูตร ศธ. เด็กไทยต้องอยู่ในระดับ B2
กพฐ.รุกยกระดับ ‘อังกฤษ’ เล็งคลอดเกณฑ์จัดการเรียนตามหลักสูตร ศธ. เด็กไทยต้องอยู่ในระดับ B2

กพฐ.รุกยกระดับ ‘อังกฤษ’ เล็งคลอดเกณฑ์จัดการเรียนตามหลักสูตร ศธ. เด็กไทยต้องอยู่ในระดับ B2 กพฐ.รุกยกระดับ ‘อังกฤษ’ เด็กไทย เล็งคลอดเกณฑ์จัดการเรียนตามหลักสูตร ศธ.สอนเกิน5คาบ/สัปดาห์-น.ร. ‘อ่าน-สื่อสาร ‘ได้

กระทรวงศึกษาธิการ – ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า การประชุม กพฐ.ในวันที่ 16 ตุลาคมนี้ ที่ประชุมจะพิจารณาร่างประกาศคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อยกระดับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศ จากเดิมที่ กพฐ.มีมติปรับปรุงการสอนภาษาอังกฤษใน English Program (EP) และ Mini English Program (MEP) ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษบางวิชา เปลี่ยนเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษแบบเข้มข้น (Intensive English Program : IEP) โดยเน้นเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ ต้องจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมากกว่า 5 คาบต่อสัปดาห์ เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน และการใช้ภาษาอังกฤษต้องอยู่ในระดับ B2 สามารถสื่อสารเรียนรู้ และทำงานในสภาพแวดล้อม หรือประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักได้

“เมื่อเปลี่ยนหลักสูตรใหม่ จึงต้องออกประกาศคณะกรรมการ กพฐ.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ศธ.เป็นภาษาอังกฤษขึ้นมาใหม่ เมื่อประกาศนี้ออกมา ผู้ที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน (สพฐ.) หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) หรือหน่วยงานอื่นที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถนำประกาศนี้มาใช้ได้” ดร.เอกชัย กล่าว

ดร.เอกชัยกล่าวอีกว่า เนื่องจากการประชุมถูกเลื่อนออกไปจากเดิมจะประชุมวันที่ 9 ตุลาคม ดังนั้น ในการประชุม กพฐ.ที่จะถึงนี้ ที่ประชุมจะหารือถึงแผนการบริหารควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่ สพฐ.เสนอด้วย และจะหารือเรื่องการบริหารจัดการโรงเรียนขยายโอกาส โดยเฉพาะโรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาสที่อยู่ใกล้โรงเรียนมัธยม ควรจะเปิดรับนักเรียนอีกหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันนี้ การเดินทางสะดวกรวดเร็วขึ้น และคาดว่าจะหารือการประเมินคุณภาพโรงเรียน ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพราะที่ผ่านมาได้ประเมินคุณภาพภายนอกโรงเรียน แต่กลับไม่มีหน่วยงานใดนำข้อมูลมาทำเป็นสถิติ ว่าโรงเรียนต่างๆ ที่ สมศ.ประเมินไว้อยู่ในระดับดีเยี่ยม หรืออยู่ในระดับดีมากนั้น ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต ของนักเรียน อยู่ในระดับดีด้วยหรือไม่

“ผมมอบหมายให้สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.ไปวิเคราะห์ว่าผลการประเมินโรงเรียนของ สมศ.กับผลสอบโอเน็ตของนักเรียน มีความสัมพันธ์กันในเชิงสถิติอย่างมีนัยยะสำคัญหรือไม่ เพราะถ้าไม่ทำงานร่วมกัน จะมาบริหารคุณภาพโรงเรียนร่วมกันได้อย่างไร” ดร.เอกชัย กล่าว

ขอบคุณที่มาและอ่านต่อ : มติชนออนไลน์ วันที่ 14 ตุลาคม 2563

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่