กมธ.การศึกษาฯ จะพิจารณา 4 กฎหมายหลักด้านการศึกษา วันที่ 10 มิ.ย.นี้
กมธ.การศึกษาฯ จะพิจารณา 4 กฎหมายหลักด้านการศึกษา วันที่ 10 มิ.ย.นี้

กมธ.การศึกษาฯ จะพิจารณา 4 กฎหมายหลักด้านการศึกษา วันที่ 10 มิ.ย.นี้

รศ.ดร.สุรวาท ทองบุ ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา ในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ตามที่ กมธ.การศึกษาฯ ได้มอบหมายให้พิจารณากฎหมายการศึกษา จำนวน 4 ฉบับนั้น ขณะนี้คณะอนุ กมธ.ฯ ได้ศึกษาแล้วเสร็จ และจะนำร่างกฎหมายทั้ง 4 ฉบับเข้าพิจารณาใน กมธ.การศึกษาฯในวันที่ 10 มิ.ย.นี้ ได้แก่

1.ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
2.ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
3.ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครู และ
4.พ.ร.บ.สภาครู โดยร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

ได้นำร่างฉบับของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) มาพิจารณาแล้วปรับปรุงแก้ไข ดังนี้

1.ผู้ประกอบอาชีพครู จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู บุคลากรในกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นข้าราชการครูทุกคน และยังคงมีระบบวิทยฐานะครู
2.ชื่อตำแหน่งของผู้บริหารสถานศึกษา ไม่มีนิยาม “ครูใหญ่” มีนิยาม “ผู้บริหารสถานศึกษา” แทน
3.กำหนดระบบการศึกษาได้แก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
4.กำหนดระดับการศึกษาออกเป็น 4 ระดับ คือ การศึกษาก่อนวัยเรียน การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับเตรียมอุดมหรืออาชีวศึกษาชั้นต้น และระดับอาชีวศึกษาชั้นสูงถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษา
5.การแบ่งส่วนราชการใน ศธ.จะต้องตราเป็นกฎหมายผ่านระบบรัฐสภาแทนอำนาจของ รมว.ศธ.

รศ.ดร.สุรวาทกล่าวต่อว่า 2. ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มีการยกร่างขึ้นใหม่มีสาระสำคัญ อาทิ ปรับปรุงโครงสร้าง ศธ.ใหม่ โดยการยกเลิกประกาศหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จัดโครงสร้างการ
บริหารกระทรวง แบ่งเป็น ส่วนกลาง ส่วนกลางในภูมิภาค ส่วนจังหวัด และสถานศึกษา, ยกเลิก สำนักงานศึกษาธิการภาค แต่ยังคงศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา (สพป.) และให้มีสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา (สพม.) ทุกจังหวัด และมีสถาบันอาชีวศึกษาประจำจังหวัด ทุกจังหวัด และกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลอย่างชัดเจน

3.ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครู ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจาก พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเดิม เป็น พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครู มีคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) แทนคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) มีคณะกรรมการระบบพิทักษ์คุณธรรม มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครู (อ.ก.ค.) ส่วนคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) กำหนดให้มี อ.ก.ค.จังหวัด แทน และที่มาของกรรมการในคณะกรรมการ อนุกรรมการ ทุกระดับมาจากการสรรหา แทนการเลือกตั้ง

ส่วน 4.ร่าง พ.ร.บ.สภาครูนั้น รศ.ดร.สุรวาท กล่าวว่า จะเปลี่ยนชื่อจาก พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็น พ.ร.บ.สภาครู โดย กำหนดองค์ประกอบ คุณสมบัติ สัดส่วน และที่มาของคณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพของครูขึ้นใหม่, ยกเลิกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ แล้วใช้อนุกรรมการที่คณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้งปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการ มาตรฐานวิชาชีพ ลดขั้นตอนและความซ้ำซ้อนของการปฏิบัติงาน และบัญญัติให้มีวิชาชีพทางการศึกษา 6 วิชาชีพ ประกอบด้วย วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริการศึกษาในระดับส่วนราชการ และนักพัฒนาการศึกษา.

ขอบคุณที่มาของข่าว : สุรวาท ทองบุ | ไทยรัฐออนไลน์ 8 มิ.ย. 2563

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่