คุรุสภาประกาศ กลุ่มวิชาที่ระบุในใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น และชั้นสูง พ.ศ. 2566
ราชกิจจานุเบกษา เลม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๙๑ ง เมื่อ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๖ ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง กลุ่มวิชาที่ระบุในใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง พ.ศ. 2566 อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ และข้อ ๕ แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๖๕ ประกอบกับมติคณะกรรมการคุรุสภา ในการประชุมครั้งที่ ๓๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๖ คณะกรรมการคุรุสภา จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“กลุ่มวิชา” หมายความว่า กลุ่มวิชาที่ระบุในใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง
ข้อ ๓ การระบุกลุ่มวิชาในใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง ได้แก่กลุ่มวิชา ดังต่อไปนี้
๓.๑ การศึกษาปฐมวัย
๓.๒ การประถมศึกษา
๓.ต การศึกษาพิเศษ
๓.๔ การศึกษานอกระบบโรงเรียน
๓.๕ วิชาเฉพาะ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๑) ภาษาไทย
(๒) คณิตศาสตร์
(๓) วิทยาศาสตร์ทั่วไป
(๔) ฟิสิกส์
(๕) เคมี
(๖) ชีววิทยา
(๗) เทคโนโลยี
(๘) สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
(๙) พระพุทธศาสนา
(๑๐) อิสลามศึกษา
(๑๑) คริสตศาสนศึกษา
(๑๒) สุขศึกษาและพลศึกษา
(๑๓) สุขศึกษา
(๑๔) พลศึกษา
(๑๕) ศิลปศึกษา
(๑๖) ดนตรีศึกษา
(๑๗) ดนตรีไทย
(๑๘) ดนตรีสากล
(๑๙) นาฏศิลป์
(๒๐) การงานอาชีพ
(๒๑) ภาษาอังกฤษ
(๒๒) ภาษาจีน
(๒๓) ภาษาญี่ปุ่น
(๒๔) ภาษามลายู
(๒๕) ภาษาอาหรับ
(๒๖) ภาษาเกาหลี
(๒๗) ภาษาฝรั่งเศส
(๒๘) ภาษาเวียดนาม
(๒๙) ภาษาพม่า
(๓๐) ภาษาเยอรมัน
(๓๑) ภาษาเขมร
(๓๒) ภาษาบาลี
(๓๓) แนะแนว
(๓๔) ธุรกิจศึกษา
(๓๕) อื่น ๆ ตามที่ส่วนราชการเสนอ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการคุรุสภา
๓.๖ วิชาเฉพาะ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
(๑) ช่างยนต์ ช่างต่อเรือ ช่างซ่อมบำรุงเรือ และเครื่องกลเกษตร
(๒) ช่างกลโรงาน ช่างเชื่อมโลหะ ช่างเขียนแบบเครื่องกล และช่างซ่อมบำรุง
(๓) ช่างไฟฟ้ากำลัง ช่างอิล็กทรอนิกส์ ช่างโทรคมนาคม เมคคาทรอนิกส์ ช่างเครื่องมือวัดและควบคุม ช่งเทคนิคคอมพิวเตอร์ และช่างเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
(๔)ช่างก่อสร้าง โยธา และสำรวจ
(๕)ช่างเครื่องเรือนและตกแต่งภายใน และสถาปัตยกรรม
(๖) การบัญชี และการเงิน
(๗) การตลาด การลงทุน ธุรกิจค้าปลีก การประชาสัมพันธ์ และโลจิสติกส์
(๘) การเลขานุการ การจัดการสำนักงาน การจัดการด้านความปลอดภัย
(๙) คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
(๑๐) ธุรกิจสถานพยาบาล
(๑๑) วิจิตรศิลป์
(๑๒) การออกแบบ คอมพิวเตอร์กราฟิก ถ่ายภาพและมัลติมีเดีย เทคโนโลยีศิลปกรรม และออกแบบนิเทศศิลป์
(๑๓) อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
(๑๔) ศิลปหัตถกรรมรูปพรรณ เครื่องถมและเครื่องประดับ เครื่องประดับอัญมณี
(๑๕) คหกรรมศาสตร์ และธุรกิจคหกรรม
(๑๖) อาหารและโภชนาการ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร
(๑๗) แฟชั่นและสิ่งทอ
(๑๘) ธุรกิจเสริมสวย
(๑๙) เกษตรศาสตร์
(๒๐) พืชศาสตร์
(๒๑) สัตวศาสตร์
(๒๒) อุตสาหกรรมเกษตร และแปรรูปสัตว์น้ำ
(๒๓) เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
(๒๔) การโรงแรมและการท่องเที่ยว
(๒๕) เทคโนโลยีสิ่งทอ เคมีสิ่งทอ และเทคโนโลยีเครื่องนุ่งห่ม
(๒๖) คอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์
(๒๗) การสร้างเครื่องดนตรีไทย
(๒๘) อุตสาหกรรมบันเทิง
(๒๙) อื่น ๆ ตามที่ส่วนราชการเสนอ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการคุรุสภา
ข้อ ๕ การพิจารณากลุ่มวิชาที่สมัครเข้ารับการทดสอบฯ ผู้เข้ารับการทดสอบฯ กลุ่มวิชาต่าง ๆ สามารถเลือกกลุ่มวิชาโดยพิจารณาตามสาขาวิซาหรือวิชาเอกหรือวิชาโทที่สำเร็จการศึกษา หรือวิชาที่มีประสบการณ์การสอนในสถานศึกษา หรือวิชาที่ระบุในใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากต่างประเทศและธุรกิจการกีฬาและช่างทองหลวง หรือวิชาที่มีความรู้ ความถนัด เชี่ยวชาญ ที่ผู้เข้ารับการทดสอบฯ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู
ข้อ ๕ สำหรับผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูที่หมดอายุและประสงค์จะขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นตัน หรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง อาจระบุกลุ่มวิชาตามสาขาวิชา
หรือวิชาเอก หรือวิชาโทที่สำเร็จการศึกษา หรือวิชาที่มีประสบการณ์สอนในสถานศึกษา
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
ตรีนุช เทียนทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธานกรรมการคุรุสภา
รายละเอียด :: https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/140D091S0000000012500.pdf