การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน และความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. ชี้แจง การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน และความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รายละเอียดดังนี้
๑. การดําเนินงานของ สพฐ. ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓
๑.๑ จัดพิมพ์และเผยแพร่คู่มือการดําเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (จํานวน ๕ เล่ม) แก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
๑.๒ จัดประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) เพื่อสื่อสารสร้างความเข้าใจการดําเนินงาน การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
๑.๓ จัดจ้างที่ปรึกษาพัฒนาระบบการรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาแบบ อิเล็กทรอนิกส์ (e-SAR)
๑.๔ กําหนดกลุ่มเป้าหมายสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สพฐ. เข้ารับการประเมินคุณภาพ ภายนอกรอบสี (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๓) จํานวนทั้งสิ้น ๓,๕๓๕ แห่ง และได้รับการประเมินเรียบร้อยแล้ว จํานวน ๑,๗๘๘ แห่ง (ยังเหลือสถานศึกษาที่จะเข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่อีกจํานวน ๑,๔๑๒ แห่ง)
๑.๕ สร้างความเข้าใจกับสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษาที่ สมศ. หยุดการประเมินคุณภาพ ภายนอกรอบสี ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ เป็นการชั่วคราว เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) และให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และแนวทางการประเมินคุณภาพใหม่ โดยจะ เริ่มระบบการประเมินที่ปรับปรุงใหม่ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
๒. สถานศึกษากลุ่มเป้าหมายและความพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
๒.๑ มีสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สพฐ. ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายและมีความพร้อมในการ เข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ. ๒๕๕๕๙ – ๒๕๖๓) จํานวนทั้งสิ้น ๓,๕๓๕ แห่ง โดยได้รับการ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓ เรียบร้อยแล้ว จํานวน ๑,๗๘๘ แห่ง และยังคงเหลือ สถานศึกษาที่สมัครใจรอรับการประเมินคุณภาพภายนอก ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ อีกจํานวน ๑,๔๑๒ แห่ง
๒.๒ สพฐ. ได้ดําเนินการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอกด้วย การสื่อสารสร้างความเข้าใจโดยการจัดประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) ในช่วงเดือน กันยายน พ.ศ.๒๕๖๓ และเผยแพร่คู่มือการดําเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่สถานศึกษา สําหรับสถานศึกษาทุกแห่ง โดยได้กําหนดกลุ่มเป้าหมายสถานศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมรับการประเมิน คุณภาพภายนอกรอบห้า ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ทั้งสิ้นจํานวน ๔,๙๙๐ แห่ง (สถานศึกษาสังกัด สพป. จํานวน ๕๐ แห่ง/เขต และสถานศึกษาสังกัด สพม. จํานวน ๒๐ แห่ง/เขต)
๒.๓ สถานศึกษามีความพร้อมในการจัดส่งรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ผ่านระบบเพื่อให้ สมศ. ประเมินวิเคราะห์จาก SAR จํานวน ๒๖,๑๔๔ แห่ง (ร้อยละ ๘๘.๓๙) จากจํานวนสถานศึกษาทั้งหมด ๒๔,๕๗๘ แห่ง (ไม่รวมโรงเรียนเรียนรวมและโรงเรียนสาขา) (ข้อมูล ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๓)
๓. การประเมินคุณภาพภายนอกช่วง COVID-๑๙ และการนําผลการประเมินไปใช้
๓.๑ สมศ. จะประเมินคุณภาพภายนอกภายใต้สถานการณ์ COVID-๑๙ โดยใช้วิธีการประเมินคุณภาพ ภายนอกที่สอดคล้องกับการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ไม่สร้างภาระกับสถานศึกษา ยึดตามความ พร้อม ความสมัครใจตามคําร้องขอ และกรอบระยะเวลาครบช่วงของการประเมินคุณภาพภายนอก รวมทั้ง กําหนดมาตรการโดยใช้หลักการตรวจเยี่ยมสถานศึกษาที่ยึดหลักการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)
๓.๒ สมศ. ได้กําหนดแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกภายใต้สถานการณ์ COVID-๑๙ ดังนี้
๓.๒.๑ ระยะที่หนึ่ง เป็นการประเมินจากการวิเคราะห์ SAR ของสถานศึกษา ซึ่งส่งผ่านต้นสังกัด ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ พิจารณาจากสิ่งที่ปรากฏใน SAR และเอกสาร ประกอบที่แนบมากับ SAR เท่านั้น (ไม่ต้องขออะไรเพิ่มจากสถานศึกษา)
๓.๒.๒ ระยะที่สอง เป็นการประเมินจากการตรวจเยี่ยม (Site Visit) เมื่อสถานศึกษาที่ได้รับผล การประเมิน SAR แล้ว และหากต้องการให้ สมศ. ไปตรวจเยี่ยม สามารถยื่นคําร้องมายัง สมศ. โดย สมศ. จะ ส่งคณะผู้ประเมินไปตรวจเยี่ยมสถานศึกษาตามวัน เวลา ที่นัดหมาย ในช่วงเปิดภาคเรียน และมีกําหนดเวลา น้อยสุด ๑ วัน (ยกเว้นกรณีจําเป็น ให้ทําเรื่องเสนอมาเพื่อ สมศ. พิจารณา) โดยใช้หลักการตรวจเยี่ยม สถานศึกษายึดหลักการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกัน ใช้หน้ากาก อนามัยและถุงมือตลอดเวลา เน้นการตรวจหลักฐานที่ไม่ใช่บุคคล (ยกเว้นกรณีจําเป็น) ตรวจหลักฐานตาม ตารางนัดหมาย ไม่มีการประชุมสรุปผลการประเมินด้วยวาจาที่สถานศึกษา
๓.๓ ประโยชน์ของการประเมินคุณภาพภายนอกและแนวทางการนําผลการประเมินคุณภาพภายนอก ไปใช้ มีดังนี้
๓.๓.๑ สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดใช้ฐานข้อมูลผลการประเมินคุณภาพภายนอกของ สถานศึกษาในการวางแผนและดําเนินการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาให้บรรลุตามมาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษา
๓.๓.๒ สถานศึกษาและหน่วยงานที่กํากับดูแล เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีข้อมูลในการตัดสินใจในการวางแผนและ ดําเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการและบรรลุเป้าหมาย ตามที่กําหนด และสามารถใช้เป็นแนวทางในการกําหนดนโยบายทางการศึกษาและการจัดสรรงบประมาณเพื่อ การศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
๔. รูปแบบและ (ร่าง) แผนการประเมินคุณภาพภายนอก ในสถานการณ์ COVID-๑๙ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
๔.๑ สมศ. พัฒนารูปแบบการประเมินคุณภาพภายนอกภายใต้สถานการณ์ COVID-๑๙ ที่สอดคล้อง กับการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา โดยระยะแรกประเมินจาก SAR ของสถานศึกษา แบ่งผลการ ประเมิน SAR ออกเป็น ๓ ระดับ คือ “ดี” “พอใช้” และ “ปรับปรุง” และระยะที่สองเป็นการตรวจเยี่ยม (Site Visit) เป็นไปตามความสมัครใจของสถานศึกษา โดยผลการประเมินจากการตรวจเยี่ยม (Site visit) มี ๕ ระดับ คือ “ดีเยี่ยม” “ดีมาก” “ดี” “พอใช้” และ “ปรับปรุง”
๔.๒ (ร่าง) แผนการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
๔.๒.๑ สมศ. ได้วิเคราะห์ SAR ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเสร็จแล้ว จํานวน ๒,๐๗๐ แห่ง และมี แผนการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ดังนี้
๕. ประเด็นที่ สมศ.กําหนดเพื่อใช้ในการประชุมทางไกล (Video Conference) กับสถานศึกษา
๕.๑ แนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกภายใต้สถานการณ์ COVID-๑๙
๕.๒ เกณฑ์การประเมิน SAR ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (การศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
๕.๓ เกณฑ์การประเมินจากการตรวจเยี่ยม (Site visit) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (การศึกษาปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
๕.๔ ขั้นตอนการประเมินคุณภาพภายนอกภายใต้สถานการณ์ COVID-๑๙
๕.๕ แผนการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. สถานศึกษาที่ได้วิเคราะห์ SAR ไว้แล้ว
๕.๖ แผนการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.