'ณัฏฐพล' เร่งอาชีวะผลิตเด็กช่างป้อนตลาด แนะต้องมีครูเก่งมีทักษะมาสอน
'ณัฏฐพล' เร่งอาชีวะผลิตเด็กช่างป้อนตลาด แนะต้องมีครูเก่งมีทักษะมาสอน

‘ณัฏฐพล’ เร่งอาชีวะผลิตเด็กช่างป้อนตลาด แนะต้องมีครูเก่งมีทักษะมาสอน แต่ปัจจุบันการพัฒนาครูมีเงื่อนไขที่ครูติดกับชั่วโมงการสอนเพราะมีเงินพิเศษชั่วโมงการสอนให้ จึงทำให้ครูไม่อยากที่จะออกจากเซฟโซนนั้นเพื่อมาพัฒนาความรู้ รวมถึง 75% ของอุปกรณ์การเรียนการสอนของอาชีวะก็ล้าหลังไม่ทันสมัย

'ณัฏฐพล' เร่งอาชีวะผลิตเด็กช่างป้อนตลาด แนะต้องมีครูเก่งมีทักษะมาสอน
‘ณัฏฐพล’ เร่งอาชีวะผลิตเด็กช่างป้อนตลาด แนะต้องมีครูเก่งมีทักษะมาสอน
'ณัฏฐพล' เร่งอาชีวะผลิตเด็กช่างป้อนตลาด แนะต้องมีครูเก่งมีทักษะมาสอน
‘ณัฏฐพล’ เร่งอาชีวะผลิตเด็กช่างป้อนตลาด แนะต้องมีครูเก่งมีทักษะมาสอน

เมื่อวันที่ 24 ส.ค. นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี จ.ชลบุรีโดยนายณัฏฐพล กล่าวว่า การขับเคลื่อนการศึกษาอีอีซีที่ตั้งเป้าผลิตผู้เรียนในโครงการนี้ จำนวน 475,668 คนในปี2566 ตนมองว่ายังไม่เพียงพอ และกว่าจะไปถึงเป้าหมายกับตัวเลขดังกล่าวถือว่านานเกินไป ดังนั้นตนอยากใช้เวทีนี้มาแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับสถานประกอบการ ภาคเอกชน และวิทยาลัยอาชีวศึกษาในพื้นที่อีอีซีมาร่วมแก้ปัญหาและปลดล็อกข้อจำกัดด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาการครู เป็นต้น เนื่องจากการเรียนสายอาชีพจำเป็นต้องมีครูเก่งมีทักษะมาสอน แต่ปัจจุบันการพัฒนาครูมีเงื่อนไขที่ครูติดกับชั่วโมงการสอนเพราะมีเงินพิเศษชั่วโมงการสอนให้ จึงทำให้ครูไม่อยากที่จะออกจากเซฟโซนนั้นเพื่อมาพัฒนาความรู้ รวมถึง 75% ของอุปกรณ์การเรียนการสอนของอาชีวะก็ล้าหลังไม่ทันสมัย

“วิกฤตโควิด-19 ทำให้ทุกประเทศเท่าเทียมกันหมด ต้องกู้วิกฤตที่เริ่มจากศูนย์ ดังนั้นถือเป็นโอกาสให้ประเทศไทยสร้างความเชื่อมั่นด้วยการดึงนักลงทุน และการท่องเที่ยว ซึ่งโครงการอีอีซีจะต้องเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมบูรณการกู้วิกฤตในครั้งนี้ด้วย ดังนั้นการพัฒนาอีอีซีที่ตั้งเป้าหมายจะผลิตผู้เรียนสายอาชีพจากโครงการนี้ 475,668 คนในปี 2566 เป็นตัวเลขที่น้อยไป อยากให้การผลิตและพัฒนากำลังคนยกกำลังสองมากขึ้นไปอีก เพื่อเป็นไปตามโจทย์ของโครงการอีอีซี คือ การขับเคลื่อนธุรกิจของประเทศในอนาคต เพราะผมอยากเห็นโครงการอีอีอีซีในพื้นที่นี้เป็นตัวอย่างให้กับพื้นที่อื่นๆต่อไป” รมว.ศธ. กล่าว

นายณัฏฐพล กล่าวอีกว่า ในอนาคตการเรียนอาชีวศึกษาจะต้องปรับเปลี่ยนแน่นอน ซึ่งจำเป็นจะต้องรื้อหลักสูตรอาชีวะทั้งหมด และขอให้ผู้บริหารวิทยาลัยจริงจังกับการแก้ปัญหา ซึ่งตนเชื่อว่าหากทำได้จริงอีก 5 ปีข้างหน้าเราจะได้เห็นโฉมใหม่ของการเรียนอาชีวศึกษาอย่างแน่นอน ดังนั้นหากผู้บริหารวิทยาลัยไหนรู้สึกกดดันกับนโยบายของตนก็ไม่เป็นไรสามารถขอย้ายได้ เพราะตนต้องกดดันเพื่อให้ปีนี้เป็นปีแห่งการกดดัน ซึ่งหากไม่ทำเช่นนี้เราจะไม่สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ ขณะเดียวกันแนวทางการลงทุนหลายประเทศมุ่งมาที่อีอีซี ดังนั้นเราต้องเตรียมความพร้อมเรื่องทุนมนุษย์ให้มีความสามารถให้ได้ หลายคนบอกว่าในพื้นที่นี้สามารถรองรับการจ้างงานได้กว่า 400,000 คน แต่ผมคิดว่าหากเราพัฒนาทุนมนุษย์อย่างตรงจุดจะรองรับได้มากกว่านี้ ซึ่งตนยอมรับว่าที่ผ่านมาการศึกษายังไม่มีความยืดหยุ่นจึงอยากจุดประกายให้ทุกภาคส่วนเห็นภาพอนาคตด้วยกัน แม้จะต้องใช้เวลาแต่หากทุกฝ่ายมีเป้าหมายชัดเจนตั้งแต่การเตรียมเด็กตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาสู่วิทยาลัยอาชีวะ เราจะพัฒนาโครงการอีอีซีได้อย่างมั่นคง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมดังกล่าวนายณัฏฐพล ได้เปิดให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ EEC ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการให้ ศธ.ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยเป็นไปตามความต้องการของสถานประกอบการ ที่สำคัญเมื่อรับเข้าทำงานแล้วสามารถทำงานได้จริง ไม่ต้องมาเสียเวลาสอนงานกันใหม่ด้วย.

ขอบคุณที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติม เพจ At_HeaR ข่าวจริงเข้าหู วันที่ 24 สิงหาคม 2563

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่