ด่วนที่สุด!! ซักซ้อมการดำเนินโครงการอาหารกลางวัน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2564 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แจ้งหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ศธ ๐๔๑๘๘/ว๒ เรื่อง ซักซ้อมการดําเนินงาน โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓ เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ รายละเอียดดังนี้
ตามประกาศที่อ้างถึง กระทรวงศึกษาธิการ มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้สถานศึกษาในสังกัดและในกํากับของกระทรวงศึกษาธิการปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษ ลงวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ให้สถานศึกษาในสังกัดและในกํากับของกระทรวงศึกษาธิการปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยให้ส่วนราชการต้นสังกัดกําหนด แนวทางการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการกําหนด เช่น การสื่อสารแบบทางไกล หรือด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ หากไม่สามารถจัดการเรียนการสอนโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ สถานศึกษาอาจ จัดการเรียนการสอนโดยใบสั่งงานหรือมอบงานตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียน ความแจ้งแล้ว นั้น
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาแล้ว เพื่อให้การดําเนินงานโครงการ อาหารกลางวันในโรงเรียน เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ในการรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยหาก มีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ หรือสลับวันมาเรียน ทําให้ไม่สามารถจัดหาอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนได้ จึงจําเป็นต้องจ่ายงบประมาณค่าอาหารกลางวันนักเรียนให้แก่ผู้ปกครอง เพื่อนําไปจัดหาอาหารกลางวัน ให้นักเรียนรับประทานอาหารที่บ้าน กรณีการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวให้รวมถึงอาหารมื้ออื่น ๆ ที่ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐเคยจัดให้ จึงขอให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทุกเขต ดําเนินการโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังนี้
๑. กรณีเปิดภาคเรียนและนักเรียนมาเรียนตามปกติ โรงเรียนเป็นผู้จัดหาอาหารกลางวัน และจัดซื้อจัดจ้างตามหนังสือกระทรวงการคลังใน ๓ กรณี ดังนี้
กรณีที่ ๑ กรณีการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ในการประกอบอาหาร
กรณีที่ ๒ กรณีการจ้างบุคคลเพื่อประกอบอาหาร
กรณีที่ ๓ กรณีการจ้างเหมาประกอบอาหาร ปรุงสําเร็จ
๒. กรณีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ การสลับวันมาเรียน หรือการปรับรูปแบบการ เรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓ โดยดําเนินการจัดทําหลักฐานการเบิกจ่าย ไม่ให้เกิดความซ้ําซ้อนของจํานวนเด็ก และเบิกจ่ายงบประมาณตามที่ต้องใช้จ่ายจริงเป็นไปตามระเบียบ ของทางราชการอย่างเคร่งครัด โดยเบิกจ่ายเดือนละ ๑ ครั้ง ซึ่งนับตามจํานวนวันที่เป็นวันเปิดเรียน แต่นักเรียนไม่สามารถมาเรียนที่โรงเรียนตามตารางที่โรงเรียนจัด
๓. ขอให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทุกเขต กํากับ ติดตาม การดําเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง โดยคํานึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสําคัญ ตามแนวปฏิบัติ ดังสิ่งที่ส่งมาด้วย
ขอบคุณที่มา : สพฐ