ตรีนุช หารือ OECD หนุนปฏิรูปหลักสูตรฐานสมรรถนะ แนะไทยรับเจ้าภาพจัดประชุม PISA ปี 2565
ตรีนุช หารือ OECD หนุนปฏิรูปหลักสูตรฐานสมรรถนะ แนะไทยรับเจ้าภาพจัดประชุม PISA ปี 2565

ตรีนุช หารือ OECD หนุนปฏิรูปหลักสูตรฐานสมรรถนะ แนะไทยรับเจ้าภาพจัดประชุม PISA ปี 2565

เมื่อวันที่ 12 พ.ย. ที่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า จากการเดินทางมาร่วมประชุมสมัยสามัญของยูเนสโก ครั้งที่ 41 ณ สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส Mr. Andreas Schleicher ผู้อำนวยการด้านการศึกษาและทักษะ องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development : OECD ) ได้เข้าพบตนเพื่อหารือถึงความร่วมมือระหว่างองค์การ OECD กับประเทศไทย โดยมีนายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายศรัณย์ เจริญสุวรรณ เอกอัคราชทูต ณ กรุงปารีส นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ กรรมการในคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโก และนายปราโมทย์ ด้วงอิ่ม รองผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก ร่วมหารือด้วย

ตรีนุช หารือ OECD หนุนปฏิรูปหลักสูตรฐานสมรรถนะ แนะไทยรับเจ้าภาพจัดประชุม PISA ปี 2565 2

“ในโอกาสนี้ดิฉันได้ของคุณ Mr. Andreas Schleicher ที่สนับสนุนการดำเนินงานด้านการวัดผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนไทยด้วยดีมาโดยตลอด สำหรับการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะของกระทรวงศึกษาธิการไทย เป็นการดำเนินการที่มุ่งหวังในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นหลัก และการปรับหลักสูตรครั้งนี้ ได้ดำเนินการทั้งระบบ รวมทั้งการวัดผลประเมินผลด้วยเช่นกัน โดยได้ดำเนินการในโรงเรียนนำร่องกว่า 300 โรง ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในด้านหลักสูตรทางการศึกษาที่ตอบสนองต่อความถนัดและความสนใจของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ซึ่งจะนำไปสู่แผนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ต่อไป” รมว.ศธ.กล่าวและว่า ทั้งนี้ประเทศไทยยินดีที่จะพัฒนาความร่วมมือกับ OECD โดย Mr. Andreas Schleicher ยินดีที่จะทำงานร่วมกับประเทศไทย และจะหาภาคีเครือข่าย ตลอดจนยินดีนำประเด็นหารือครั้งนี้ ไปหารือยูนิเซฟและพัฒนาโครงการนำเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาต่อไป

ด้าน Mr. Andreas Schleicher กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทย เป็นรองประธานในคณะกรรมการบริหารโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programmed for International Student Assessment : PISA) และมีความร่วมมือเป็นอย่างดีกับ OECD มาโดยตลอด ทั้งนี้ OECD ขอแสดงความชื่นชมประเทศไทยที่กำลังดำเนินการปฏิรูปหลักสูตรเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ ซึ่ง OECD ยินดีที่จะสนับสนุนประเด็นดังกล่าว โดยเฉพาะการวัดผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ที่จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาผลทดสอบ PISA ของนักเรียนไทย นอกจากนี้ในปี 2565 หากประเทศไทยจะพิจารณารับเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ PISA อาจจะเป็นโอกาสดี ที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนไทยมีระดับคะแนน PISA ที่ดีขึ้น.

ขอบคุณที่มา เดลินิวส์ออนไลน์ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่