นโยบายเร่งด่วน สพฐ. QUICK POLICY 2565 สรุปนโยบาย สพฐ 2565
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 นายอัมพร พินะสา เลขา สพฐ. ได้เปิดนโยบายเร่งด่วน สพฐ. QUICK POLICY 2565 ในการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ผ่านระบบ Video Conference ประจำปี พ.ศ. 2565 นโยบาย เร่ง ด่วน ส พ ฐ 10 ขอ รายละเอียดดังนี้
เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการนโยบายด้านต่าง ๆ จำนวน 10 เรื่อง ได้แก่
1. การนำพระบรมราโชบาย ของในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ
2. การดำเนินการ ด้านประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง คุณธรรม จริยธรรม
3. การดำเนินการ เรื่อง การศึกษากับการพัฒนาประชาธิปไตย โดยเน้นการดำเนินงานร่วมกับสภานักเรียน
4. การจัดการศึกษาปฐมวัย
5. การพัฒนาการเรียนการสอน ACTIVE LEARNING ให้สอดคล้องกับ BIG ROCK
6. การดำเนินการ พาน้องกลับมาเรียน
7. การดำเนินการ โรงเรียนคุณภาพ
8. การดำเนินการ LEARNING LOSS ให้สอดคล้องกับ UNESCO
9. การประกันคุณภาพ RT NT และ O-NET
10. การดำเนินการด้านความปลอดภัยในโรงเรียน
การนำพระบรมราโชบาย ของในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ
รายละเอียดเพิ่มเติม : พระบรมราโชบาย รัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ.pdf – Google ไดรฟ์
กรอบแนวคิด
ส่งเสริมให้ผู้บริหาร ครู และผู้เรียนมีทัศนคติที่ถูกต้อง ต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิต
ที่มั่นคง มีคุณธรรม มีงานทำ มีอาชีพ และเป็นพลเมือง
เป้าหมาย
มุ่งเน้นการสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้านตามพระบรมราโขบาย
ด้านการศึกษาของในหลวงร.10 ให้กับผู้เรียนทุกคนในสพฐ.
แนวทางขับเคลื่อน
1.สพฐ.มอบนโยบายการนำพระบรมราโชบาย ร. 10ลงสู่การปฏิบัติให้ผอ.สพท. ศน. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา
2.สพท.แจ้งสถานศึกษาดำเนินการโครงการกิจกรรมตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงร.10 สู่การปฏิบัติ
3.สพท.ดำเนินการถอดบทเรียนค้นหา Best Practice และนวัตกรรมจัดประกวดแข่งขัน
4.สพฐ. กำกับ ติดตาม รายงานผลการดำเนินงาน
การดำเนินการ ด้านประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง คุณธรรม จริยธรรม
รายละเอียดเพิ่มเติม : เรื่องที่ 2. ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง.pdf – Google ไดรฟ์
กรอบแนวคิด
การสร้างระบบการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการส่งเสริมปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน
เป้าหมาย
1.โรงเรียนคุณภาพจำนวน 349 แห่ง
2.ศึกษานิเทศก็ผู้รับผิดชอบจำนวน 245 คน
3.ร้อยล ะ 30 ของครูสังคมศึกษา ประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง
4.ตัวแทนนักเรียนจากสภานักเรียนจำนวน 600 คน
ปัญหา
1.ครูผู้สอนุไม่เข้าใจหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
2.การเกิดขึ้นขององค์ความรู้ใหม่และแนวทางร่วมสมัย
3.ขาดระบบการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
4.บุคลากรไม่เพียงพอ
5.ขาดการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนในการจัดกิจกรรม
แนวทางขับเคลื่อน
1.การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมผ่านกระบวนการลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์
2.กำหนดให้นักเรียนทุกคนเรียนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง
3.การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โครงการพัฒนาครูประวัติศาสตร์ด้วยระบบออนไลน์ Teachers Online Campus
5.โครงการส่งเสริมการศึกษาเพื่อสร้างการเป็นพลเมือง Civic Education
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.การเรียนรู้ทั้งระบบ และการสร้างนวัดกรรมการสอนที่ครูพัฒนาขึ้น
2.ผู้เรียนได้ค้นพบความถนัดของตนเองจากการลงมือปฏิบัติจริง
3.ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชน
4.ผู้เรียนได้รับทักษะที่จำเป็นสามารถนำมาใช้ได้
การศึกษากับการพัฒนาประชาธิปไตย
รายละเอียดเพิ่มเติม : แนวทางการศึกษากับการพัฒนาประชาธิปไ.pdf – Google ไดรฟ์
กรอบแนวคิด
นักเรียนได้เรียนรู้ และเข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่ถูกต้อง
เป้าหมาย
1.ผู้เรียนมีสมรรถนะในการเรียนรู้ สามารถนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2.ผู้เรียนมีจิตสาธารณะ จิตอาสา บริหารจัดการ แก้ไขความขัดแย้ง
3.เข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯที่ถูกต้อง
4.เป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี มีทักษะชีวิตการอยู่ร่วมกันในสังคม
แนวทางขับเคลื่อน
1.หลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมประชาธิปไตย
2.กิจกรรมที่ส่งเสริมประชาธิไตย
3.การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมประชาธิปไตย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
2.การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Active Learning) ให้เด็กได้แสดงออกลดบทบาทครูผู้สอน เป็นการใช้คำถามเพื่อให้คิด ได้ค้นหา
และการรับฟัง
3.การจัดการส่งเสริมประชาธิปไตย์ในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
การจัดการศึกษาปฐมวัย
รายละเอียดเพิ่มเติม : การจัดการศึกษาปฐมวัย
กรอบแนวคิด
มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยจัดทำคู่มือ/แนวทาง สื่อ การจัดประสบการณ์ผ่านการเล่น สร้างความเข้าใจและพัฒนาผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยผ่านองค์ความรู้และสื่อสารสร้างความเข้าใจ มีการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลแกนนำ ผ่านผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ครู และมีการประเมินพัฒนาการเด็ก โดยการพัฒนาเครื่องมือ
เป้าหมาย
โรงเรียนที่เปิดสอนระดับปฐมวัย ทุกแห่ง จำนวน 25,890 แห่ง จัดการศึกษาปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ
ปัญหา
เด็กมีพัฒนาการูไม่สมวัย ขาดสื่อ/ของเล่นตามมุมที่หลากหลายและการกระตุ้นพัฒนาการ อีกทั้งผู้บริหารและครูขาดโอกาสและการสนับสนุนในการพัฒนาองค์ความรู้ ขาดการจัดประสบการณ์เป็นรายบุคคล ผู้ปกครองขาดการเข้าถึงความรู้ และการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
แนวทางขับเคลื่อน
1.จัดทำคู่มือ/แนวทาง สื่อ การจัดประสบการณ์ผ่านการเล่น
2.เผยแพร่รูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ดีผ่านช่องทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ของ สพฐ.
3.ติดตามผลการดำเนินงานผ่านระบบ Online/Onsite
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.โรงเรียนที่เปิดสอนระดับปฐมวัยจำนวน 25,890 แห่งจัดการศึกษาปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ
2.โรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดจำนวน 81 แห่ง เป็นแกนนำทางวิชาการด้านปฐมวัย
3.ผู้ปกครองได้รับการอบรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการที่สมวัย
Active Learning
รายละเอียดเพิ่มเติม : Active Learning เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน – Google ไดรฟ์
กรอบแนวคิด
กูารพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุ (Active Learning) 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้
เป้าหมาย
นักเรียน และครูผู้สอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัยมศึกษาปีที่ 6 ทุกคน
ปัญหา
ผู้เรียนขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ การลงมือปฏิบัติ ไม่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ในการแก้ปัญหา อีกทั้งครูขาดความรู้ในการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก ยังใช้รูปแบบ วิธีการสอนแบบเดิม ขาดแคลนสื่อการเรียนรู้ และการขาดการ PLC
แนวทางขับเคลื่อน
1.อบรมการนำสื่อไปใช้แก่ครู ศน. ผู้บริหาร และนำไปใช้ในโรงเรียน
2.การสร้างเครือข่ายและขยายผล น้ำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
3.PLC จัดประกวดผลงาน นวัตกรรม และขยายผล นิเทศ ติดตาม ประเมิน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข มีทักษะการคิดและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้
2.ครูผู้สอนทุกคนสามารถจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Acive Learning)
3.มีโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
พาน้องกลับมาเรียน
รายละเอียดเพิ่มเติม : พาน้องกลับมาเรียน 04.06.65.pdf – Google ไดรฟ์
กรอบแนวคิด
เพื่อติดตามคันหาผู้เรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาและออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาและได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพและหรือได้รับการศึกษาต่อในระดับ
สูงรวมถึงการฝึกอบรมอาชีพและพัฒนาฝีมือเพื่อการมีงานทำ ผ่านเว็บไซต์ พาน้องกลับมาเรียนและ Application พาน้องกลับมาเรียน
เป้าหมาย
นักเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ การศึกษาระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และการศึกษาตามอัยาศัยที่ออกกลางคันและหลุดออกจากระบบการศึกษาทุกคน
ปัญหา
ไม่สามารถติดต่อนักเรียนได้ เนื่องจากการย้ายถิ่นฐานโดยไม่ทราบสาเหตุยากต่อการติดตามค้นหา การติดตามผู้ปกครองไปประกอบอาชีพระยะไกลไม่สะดวกในการเดินทางมาเรียน และงบประมาณในการดำเนินงานที่ไม่เพียงพอ
แนวทางขับเคลื่อน
ระยะที่1 ธ.ค.64-พ.ค.65
ตรวจสอบข้อมูลนักเรียนที่หลุดออกจากระบบและสร้างความเข้าใจกับ ผอ.สพท. และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ดำเนินการติดตามค้นหาอย่างเร่งรัดและรายงานผ่าน Web/App
“พาน้องกลับมาเรียน”
ระยะที่ 2 มิ.ย.65-ก.ย.65 นำข้อมูลเด็กที่ติดตามพบแต่ไม่เข้าระบบการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการทำงานของคณะกรรมการระดับจังหวัด ทำความเข้าใจและกำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน โดยใช้กระบวนการวิจัยมาประยุกต์ใช้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
มีแนวทางการดำเนินงานของคณะกูรรมการระดับจังหวัดนักเรียนภาคบังคับได้รับการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนและได้รับการศึกษาและฝึกอาชีพที่สูงขึ้น ผู้บริหาร ครู
และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ และมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
โรงเรียนคุณภาพ
รายละเอียดเพิ่มเติม ; โรงเรียนคุณภาพpdf – Google ไดรฟ์
กรอบแนวคิด
ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้โรงเรียนขนาดเล็กสร้างใอกาสให้นักเรียนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูง มีทักษะห ลากหลายด้านรวมถึงทักษะชีวิตสามารถประกอบอาชีพได้เมื่อจบหลักสูตรโดยการสร้างความพร้อมให้โรงเรียนหลักเป็นโรงเรียนที่มีปัจจัยพร้อมทุกด้าน
เป้าหมาย
ยกระดับคุณภาพการศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ผู้ปกครองเกิดความมั่นใจ เพื่อสกัดนักเรียนและรองรับนักเรียนไปเรียนนอกอำภอ แบ่งเบาภาระคำใช้จ่ายผู้ปกครอง พัฒนาโรงเรียนโดยส่งเสริมทักษะวิชาการ ทักษะอาชีพและทักษะชีวิตเพื่อให้โรงเรียนสามารถดำรงตนอยู่ใต้อย่างมีคุณภาพ รวมถึงเพิ่มจำนวนครูให้ครบชั้น ครบวิชาเอกมีจำนวนนักเรียนที่เหมาะสมมึงบประมาณเพียงพอในการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรและซุมชนมีอาคารสถานที่ปลอดภัย มีครุภัณฑ์ อุปกรณ์ อินเทอร์เน็ต ที่เอื้อต่อการเรียนรู้และทันสมัยน้นการเพิ่มใอกาสทางการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ ลดอัตราการแช่งชันกรณีเป็นโรงเรียนในพื้นที่ห่างไก่ล ต้องให้โรงเรียนสามารถดำรงอยู่ได้โดยมึงบประมาณและอัตรากำลังครูอย่างเหมาะสม
ปัญหา
ไม่สามารถบรรจุแต่งตั้งผู้อำนวยการ ครูมีไม่ครบชั้น ไม่ครบวิชาเอก ไม่สามรถบรรแต่งตั้ง ทดแทน ย้าย ขาดงบประมาณในการจัดจ้าง งบประมาณมีไม่เพียงพอ อาคารสถานที่ทรุดทรม มีไม่เพียงพอ ชาดสื่ออุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ขาดแหล่งเรียนรู้ สิ่งอำนวยความสะดวก ทำให้ประสิทธิภาพการบริหารลดลงในภาวะขาดแคลน
แนวทางขับเคลื่อน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินโครงการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรงเรียนคุณภาพให้ผู้บริหาร โรงเวียน ผู้ปกครองชุมชนรับทราบ ขับเคลื่อนเนินการพัฒนาตามนใยบาย จุน 8เรื่อง ได้แก่ความปลอดภัย ระบบประกันคุณภาพ หลักสูตรฐานสมรรถะ การพัฒนาครู การเรียนการาสอน การวัดประเมินผล การนิเทศ และ ฺBig Data บริหารอัตรากำลัง ครู ผู้บริหาร สนับสนุนใครงสร้างพื้นฐาน ที่ยังขาคแคลนในด้านต่างๆให้เป็นประโยชน์ สนับสนุนงบประมาณ กำกับติดตามแล ละรายงานผล
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
โรงเรียนมีอาคารเรียนมีห้องเรียนปฏิบัติการต่งๆที่มีคุณภาฬมีบ้านพักครูที่ปลอดภัย มีครูที่สอนตรงตามสายาวิชาเอกมีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการสื่อสารภาษาต่งประเทศอย่างน้อย 2 ภาษา มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ระบบ ICT เพื่อค้นคว้า ผู้บริหารมีความพร้อมด้นสมรรถนะ ศักยภาพ และความสามารถ ในการบริหารจัดการ นักเรียนแสดง ออกถึงความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ รักการเรียนรู้มีความคิดสร้างสรรค์มีทักษะการทำงานและทักษะ ฟื้นฐานเพื่อประกอบอาชีพในอนาคต
LEARNING LOSS
รายละเอียด เรื่องที่ 8. การดำเนินการแก้ไขภาวะถดถอยทาง.pdf – Google ไดรฟ์
กรอบแนวคิด
การแก้ไขภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียน สำหรับเด็กปฐมวัย และผู้เรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1- 6
เป้าหมาย
เด็กปฐมวัย ผู้เรียนระดับั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ㆍ ผู้เรียนจากโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย 24 โรงเรียนและครูผู้สอนภาษาไทย
ปัญหา
เด็กปฐมวัย ผู้เรียนระดับั้นประถมศึกุษาปีที่ 1 – : มีปัญหาด้านการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ขาดปฏิสัมพันธ์และการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการสื่อสารพัฒนาการทางความคิด
แนวทางขับเคลื่อน
จัดใครงการจำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย
1.โครงการพัฒนาการจัดประสบการเพื่อแก้ไขภาวะถดถอยทางพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
2.โครงการพัฒนาผู้เรียนเพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรม Active Learning
3.โครงการ สพฐ. รักการอ่าน แก้ปัญหาภาวะถอถอย อยทางการเรียนรู้ตัสนการอ่าน
4.โครงการพัฒนาการอ่านและการเชียนภาษาไทยเพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของผู้เรียน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ด้านผู้เรียน
1.เด็กปฐมวัยได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและมีพัฒนาการสมวัย
2.ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ทุกคนมีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ลดลง
3.ผู้เรียนที่มีปัญหาการอ่านไม่ออกเชียนไม่ใด้ลดลง
4.ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน
ด้านครูผู้สอน/บุคลากร
1.บุคลากรปฐมวัยสามารถออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
2.ครูภาษาไทยสามารถวางแผนพัฒนาการอำน การเชียนของผู้เรียนได้
RT NT และ O-NET
รายละเอียด : แผนการขับเคลื่อนการนำผลการประเมิน RT, NT และ O-NET
กรอบแนวคิด
การนำผลการประเบิน RT, NT, และ O-NET ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
เป้าหมาย
นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ครูผู้สอน สถานศึกษาษา และสำนักงานเขตฟื้นที่การศึกษานำผลการประเมินไปใช้
ปัญหา
สถานศึกษาไม่สามารถจัดการกับข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน เช่น ไม่ทราบว่ามีอะไรบ้าง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ไม่นำผลการประเมินมาวิเคราะห์เพื่อคันหาสิ่งที่ต้องปรับปรุงและพัฒนา มุ่งคั่นหาแต่สิ่งที่ประสบความสำเร็จ ครูผู้สอนไม่นำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล และสถานศึกษาไม่นำผลการประเมินไปใช้ในการกำหนดเป้าหมาย วางแผนเพื่อประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
แนวทางขับเคลื่อนแก้ปัญหา
1.แต่งตั้งคณะกรรมการชับเคลื่อนการนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2.กำหนดแนวทางการชับเคลื่อนการนำผลการประเมินไปใช้
3.สื่อสารสงความเข้าใจกับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาเกี่ยวกับการนำผลการประเมินไปใช้
4.ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรแกนนำระดับเขตพื้นที่การศึกษาในการนำผลการประเมินไปใช้
5.ปฏิบัติการภาคสนามติดตามและถอดบทเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาและหา Best Practice ใน 4 ภูมิภาค
6.รายงานผลการชับเคลื่อนการนำผลการประเบินไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อผู้บริหารและผู้ปีส่วนเกี่ยวข้อง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.นักเรียนได้รับการพัฒนาคุณภาพและเต็มตามศักยภาพเป็นรายบุคคล
2.ครูผู้สอนนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเอง
3.สถานศึกษานำผลการประเมินไปใช้ในการกำหนดเป้าหมายหรือวางแผนการประกันคุณภาพของสถานศึกษา
4.สำนักงานเขตฟื้นที่การศึกษานำผลการประเบินไปใช้ในการกำหนดนใยบายและจุดเนั้นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานตามบริบทพื้นที่
ความปลอดภัย
แผนเผชิญเหตุความปลอดภัยสถานศึกษา
นโยบายเร่งด่วนสพฐ 2565 pdf รายละเอียด : แผนเสริมสร้างความปลอดภัยฯ
กรอบแนวคิด
เพื่อให้เป็นไปตามนใยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาการ ปี 2565 ข้อที่ 1.การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย และเมื่อเกิดเหตุหรือสถานการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบต้องประเบินสถานการณ์และรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาใดยเร็วที่สุต และเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้
เป้าหมาย
1.สถานศึกษามีระบบเสริมสร้างความปลอดภัยตามบริบทของสถานศึกษา
2.นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
3.สถานศึกษาสามารถเผชิญเหตุ และแก้ไซสถานการณ์ได้
4.นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ประสบเหตุได้รับการคุ้มครองดูแลช่วยเหลือเยียวยาทั้งค้านร่างกายและจิตใจ
แนวทางขับเคลื่อนแก้ปัญหา
ดำเนินการตามมาตรการ 3 ป ได้แก่ ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม โดยเริ่มจาก
1.ประเมินสภาพความเสี่ยง
2.จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง
3.ดำเนินการตามมาตรการ
4.ดำเนินการตามขอบช่าย
5.กำกับติดตามประเมินผล
จากนั้นกำหนดแนวทางการดำเนินงาน กำหนดช่องทางการแจ้งเหตุ และกำหนดบทบาทหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.สถานศึกษามีระบบเสริมสร้างความปลอดภัยตามปริบทของสถานศึกษา
2.นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความปลอดภัยทั้งค้านร่างกายและจิตใจ
3.สถานศึกษาสามารถผชิญเหตุ และแก้ไขสถานการณ์ใด้
4.นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ประสบเหตุได้รับการคุ้มครองดูแลช่วยเหลือเยียวยาทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
สรุปนโยบายเร่งด่วน สพฐ. QUICK POLICY 2565
ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | (obec.go.th)