“ณัฏฐพล” คิดผ่องถ่ายโอนครู สพฐ.ไปอาชีวะเพิ่มขึ้น  เหตุเด็กน้อยลง และรัฐสนับสนุนให้คนเรียนสายอาชีพมากขึ้น
“ณัฏฐพล” คิดผ่องถ่ายโอนครู สพฐ.ไปอาชีวะเพิ่มขึ้น  เหตุเด็กน้อยลง และรัฐสนับสนุนให้คนเรียนสายอาชีพมากขึ้น

“ณัฏฐพล” คิดผ่องถ่ายโอนครู สพฐ.ไปอาชีวะเพิ่มขึ้น  เหตุเด็กน้อยลง และรัฐสนับสนุนให้คนเรียนสายอาชีพมากขึ้น

ด้านบอร์ด ก.ค.ศ.อนุมัติ การตัดโอนอัตราเงินเดือน ครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด สพฐ. ว่าง เป็นตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ในสถานศึกษา จำนวน 1,843 อัตรา พร้อมเห็นชอบ ยกเว้น คุณสมบัติผู้เข้ารับการคัดเลือก ตำแหน่งผอ.- รอง ผอ.สถานศึกษา

    นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.)มีการหารือ เกี่ยวกับการอนุมัติอัตราการโอนย้ายตำแหน่งข้ามแท่ง  เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมวางแผนให้เกิดการทำงานเป็นหนึ่งเดียวกัน เช่น โรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ที่้เด็กน้อยลง ขณะที่รัฐบาลต้องการผลักดันการผลิตผู้เรียนสายอาชีพ ตำแหน่งครูอาชีวะก็ต้องมีเพิ่มขึ้น เป็นต้น 

    นอกจากนี้  ที่ประชุมได้อนุมัติให้กำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยการตัดโอนอัตราเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ว่างอยู่ กำหนดเป็นตำแหน่งครูผู้ช่วย ในสถานศึกษา รวมจำนวน 1,843 อัตรา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) 1,023 อัตรา และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) 820 อัตรา โดยมีเงื่อนไขในการใช้ตำแหน่ง เพื่อการบรรจุและแต่งตั้ง คือ ให้ได้รับเงินเดือนอันดับครูผู้ช่วย ตามวุฒิที่ ก.ค.ศ. กำหนด โดยอาศัยเบิกในอัตราเงินเดือนที่กำหนด และอัตราเงินเดือนที่กำหนดนี้ เมื่อนำไปใช้บรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วยแล้ว อัตราเงินเดือนที่เหลือ อยู่ไม่สามารถนำไปใช้เป็นอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งว่าง ไม่มีเงินหรือนำไปกำหนดเป็นตำแหน่งเพิ่มใหม่ได้ และให้สำนักงานปลัด ศธ. นำเรื่องการตัดโอนอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน สังกัด สพฐ. ไปกำหนดเป็นตำแหน่งครูผู้ช่วย ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน กศน. สำนักงานปลัด ศธ. สอศ. เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของ ศธ.ในภูมิภาคให้พิจารณาอนุมัติต่อไป    

นายณัฏฐพล กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบให้ยกเว้นคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัด สพฐ. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ (ว8/2562) โดยมีสาระสำคัญ คือ ยกเว้นให้ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกไม่ต้องผ่านการพัฒนาก่อนเข้าสู่การคัดเลือก แต่มีเงื่อนไขให้เพิ่มระยะเวลาในการพัฒนาก่อนการบรรจุและแต่งตั้ง โดยเนื้อหาของหลักสูตรต้องมีการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและทักษะทางเทคโนโลยีดิจิทัล  และให้เพิ่มระยะเวลาในการประเมินสัมฤทธิ์ผลในการปฏิบัติงานในหน้าที่เพื่อพัฒนาการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ที่ ก.ค.ศ. กำหนด จากระยะเวลา 6 เดือน เป็นระยะเวลา 1 ปี และกำหนดให้มีการประเมิน 2 ครั้ง ครั้งละ 6 เดือน โดยให้ทุกส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความรู้ความสามารถ และศักยภาพในการเป็นผู้นำ ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา “ส่วนหลักเกณฑ์การเข้าสู่แหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ที่ประชุมก็ได้มีการพูดคุย และใช้เวลาค่อนข้างนาน ซึ่งตนย้ำว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะต้องคัดผู้บริหารที่มีทักษะภาษาอังกฤษ  มีใช้เทคโนโลยี มีความมั่นคงทางการเงิน ซึ่งทักษะเหล่านี้ถือเป็นเรื่องสำคัญของการมาเป็นผู้บริหารที่จะต้องมีความสามารถขับเคลื่อนการศึกษาไทย”นายณัฏฐพลกล่าว

ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 26 พฤศจิกายน 62

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่