ศธ. จับมือหน่วยงานพันธมิตร ร่วมแก้ปัญหาหนี้สินครู เปิดลงทะเบียนหลังสงกรานต์อีกครั้ง
วันที่ 8 เมษายน 2565 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยนายสุทธิชัย จรูญเนตร ที่ปรึกษา รมว.ศธ. เป็นประธานคณะทำงานในการช่วยกันแก้ไขและดำเนินงานในเรื่องนี้ ระบุว่า จากการเก็บข้อมูลครูทั้งประเทศ พบว่าครูประจำการ ครูนอกประจำการ รวมถึงครูประเภทอื่น ๆ ประมาณ 900,000 คน มีหนี้รวม 1.4 ล้านล้านบาท เกือบ 30% ของหนี้ครัวเรือนทั้งประเทศ เจ้าหนี้รายใหญ่ของครูอยู่ที่สหกรณ์ออมทรัพย์ครู รองลงมา คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอาคารสงเคราะห์ และสถานบันการเงินอื่นตามลำดับ
ภาพรวมหนี้สินครูทั้งระบบ
ปัญหาหนี้สินครู
แนวทางแก้ปัญหา
นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ. กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูถือว่าเป็นปัญหาเร่งด่วน ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยประกาศเป็นการลดหนี้ครัวเรือน พร้อมทั้งเน้นย้ำว่าหนี้ครูจำนวน 1.4 ล้านล้าน ถือว่าเป็นหนี้ก้อนใหญ่ จึงมอบหมายรองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม เข้ามาช่วยเหลือ และเชื่อมต่อในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้ เข้ามาทำงานร่วมกัน และได้มอบหมายนายสุทธิชัย จรูญเนตร ที่ปรึกษา รมว.ศธ. เป็นประธานคณะทำงานในการช่วยกันแก้ไขและดำเนินงานในเรื่องนี้ด้วย ขณะเดียวกันเราได้มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู โดยเริ่มจากจุดที่ครูมีหนี้มากที่สุดได้มาประสานงานและทำงานร่วมกัน เป็นคณะทำงานที่มาช่วยร่วมเจราทำการพูดคุย ไม่ว่าจะเป็นสหกรณ์ครู ที่ได้เจรจาไปแล้วกว่า 80 แห่ง แล้วมีการลดดอกเบี้ยลงไป ซึ่งในจำนวนนี้มีถึง 11 แห่งที่ลดดอกเบี้ยได้ต่ำกว่า 5% และมีครูที่ได้รับประโยชน์กว่า 460,000 คน ตลอดจนการพูดคุยผ่อนปรนหนี้จากธนาคารออมสิน กว่าอีก 20,000 ราย นี่คือโครงการในเบื้องต้น ซึ่งโครงการเหล่านี้ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของครูในภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการทำงานให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา
“ทั้งนี้ เพื่อให้โครงการเหล่านี้ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและหาแนวทางให้กับพี่น้องครูหรือบุคลากรทางการศึกษามากขึ้น นอกจากการลดดอกเบี้ยยังมีการหาแนวทางให้พี่น้องครูสามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ โดยให้มีเงินเดือนเหลือ 30% เพื่อไม่ให้ครูเกิดความเดือดร้อน ดังนั้นโครงสร้างของหนี้สินนั้นมีความซับซ้อนและการแก้ไขเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย จึงต้องอาศัยเครือข่ายเข้ามาช่วยเหลือ โดยเฉพาะการจัดตั้งสถานีหนี้ครูถือเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหาทั้งระดับเขตพื้นที่และระดับจังหวัด ขณะนี้มีการจัดตั้งสถานีหนี้ครูแล้วกว่า 558 แห่ง และมีการลงทะเบียนในเบื้องต้นเพื่อรับการช่วยเหลือ ซึ่งมีครูลงทะเบียนแล้วกว่า 41,000 คน ในเบื้องต้นจะเป็นการรายงานผู้บริหารระดับเขตพื้นที่ว่าสามารถช่วยเหลืออะไรได้บ้าง หากเกินกว่ากำลังก็จะเลื่อนขึ้นไปเป็นระดับจังหวัด ถือว่าโครงการนี้เป็นโครงการเบื้องต้นของ ศธ. เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับครูค่ะ” รมว.ศธ. กล่าว
นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ. กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูถือว่าเป็นปัญหาเร่งด่วน ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยประกาศเป็นการลดหนี้ครัวเรือน พร้อมทั้งเน้นย้ำว่าหนี้ครูจำนวน 1.4 ล้านล้าน ถือว่าเป็นหนี้ก้อนใหญ่ จึงมอบหมายรองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม เข้ามาช่วยเหลือ และเชื่อมต่อในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้ เข้ามาทำงานร่วมกัน และได้มอบหมายนายสุทธิชัย จรูญเนตร ที่ปรึกษา รมว.ศธ. เป็นประธานคณะทำงานในการช่วยกันแก้ไขและดำเนินงานในเรื่องนี้ด้วย ขณะเดียวกันเราได้มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู โดยเริ่มจากจุดที่ครูมีหนี้มากที่สุดได้มาประสานงานและทำงานร่วมกัน เป็นคณะทำงานที่มาช่วยร่วมเจราทำการพูดคุย ไม่ว่าจะเป็นสหกรณ์ครู ที่ได้เจรจาไปแล้วกว่า 80 แห่ง แล้วมีการลดดอกเบี้ยลงไป ซึ่งในจำนวนนี้มีถึง 11 แห่งที่ลดดอกเบี้ยได้ต่ำกว่า 5% และมีครูที่ได้รับประโยชน์กว่า 460,000 คน ตลอดจนการพูดคุยผ่อนปรนหนี้จากธนาคารออมสิน กว่าอีก 20,000 ราย นี่คือโครงการในเบื้องต้น ซึ่งโครงการเหล่านี้ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของครูในภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการทำงานให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา
“ทั้งนี้ เพื่อให้โครงการเหล่านี้ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและหาแนวทางให้กับพี่น้องครูหรือบุคลากรทางการศึกษามากขึ้น นอกจากการลดดอกเบี้ยยังมีการหาแนวทางให้พี่น้องครูสามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ โดยให้มีเงินเดือนเหลือ 30% เพื่อไม่ให้ครูเกิดความเดือดร้อน ดังนั้นโครงสร้างของหนี้สินนั้นมีความซับซ้อนและการแก้ไขเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย จึงต้องอาศัยเครือข่ายเข้ามาช่วยเหลือ โดยเฉพาะการจัดตั้งสถานีหนี้ครูถือเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหาทั้งระดับเขตพื้นที่และระดับจังหวัด ขณะนี้มีการจัดตั้งสถานีหนี้ครูแล้วกว่า 558 แห่ง และมีการลงทะเบียนในเบื้องต้นเพื่อรับการช่วยเหลือ ซึ่งมีครูลงทะเบียนแล้วกว่า 41,000 คน ในเบื้องต้นจะเป็นการรายงานผู้บริหารระดับเขตพื้นที่ว่าสามารถช่วยเหลืออะไรได้บ้าง หากเกินกว่ากำลังก็จะเลื่อนขึ้นไปเป็นระดับจังหวัด ถือว่าโครงการนี้เป็นโครงการเบื้องต้นของ ศธ. เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับครูค่ะ” รมว.ศธ. กล่าว
ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ สพฐ.