ศธ. เดินหน้าแก้ระเบียบทรงผมนักเรียน ยึดสิทธิ์ของเด็กเป็นตัวตั้ง - ความหลากหลายทางเพศ
ศธ. เดินหน้าแก้ระเบียบทรงผมนักเรียน ยึดสิทธิ์ของเด็กเป็นตัวตั้ง - ความหลากหลายทางเพศ

ศธ. เดินหน้าแก้ระเบียบทรงผมนักเรียน ยึดสิทธิ์ของเด็กเป็นตัวตั้ง – ความหลากหลายทางเพศ กระทรวงศึกษาธิการ จัดประชุมคณะกรรมการพิจารณาข้อร้องเรียนของนักเรียน นักศึกษา ครั้งที่ 2 ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ศธ. เดินหน้าแก้ระเบียบทรงผมนักเรียน ยึดสิทธิ์ของเด็กเป็นตัวตั้ง - ความหลากหลายทางเพศ
ศธ. เดินหน้าแก้ระเบียบทรงผมนักเรียน ยึดสิทธิ์ของเด็กเป็นตัวตั้ง – ความหลากหลายทางเพศ

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (TDRI) ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาข้อร้องเรียนของนักเรียน นักศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยหลังการประชุมว่า คณะกรรมการแยกประเด็นที่มีปัญหาออกเป็น 3 ส่วน คือ ปัญหาที่เกิดจากตัวระเบียบเอง ปัญหาเรื่องการตีความในตัวระเบียบ และการลงโทษนักเรียนกรณีที่ครูหรือโรงเรียนเห็นว่านักเรียนไม่ได้ทำตามระเบียบ โดยมีแนวทางแก้ปัญหาทั้ง 3 เรื่องดังต่อไปนี้

ศธ. เดินหน้าแก้ระเบียบทรงผมนักเรียน ยึดสิทธิ์ของเด็กเป็นตัวตั้ง - ความหลากหลายทางเพศ
ศธ. เดินหน้าแก้ระเบียบทรงผมนักเรียน ยึดสิทธิ์ของเด็กเป็นตัวตั้ง – ความหลากหลายทางเพศ
ศธ. เดินหน้าแก้ระเบียบทรงผมนักเรียน ยึดสิทธิ์ของเด็กเป็นตัวตั้ง - ความหลากหลายทางเพศ
ศธ. เดินหน้าแก้ระเบียบทรงผมนักเรียน ยึดสิทธิ์ของเด็กเป็นตัวตั้ง – ความหลากหลายทางเพศ
  1. ข้อความระเบียบที่เป็นปัญหา คือ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 ข้อ 7 ที่เขียนไว้ว่า “สถานศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาหรือคณะกรรมการบริหารโรงเรียนวางระเบียบเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนที่มีความเฉพาะเจาะจงได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้” ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้มีมติที่จะปรับปรุงแก้ไขให้เป็น “โรงเรียนไปออกกฎเฉพาะได้ แต่ระเบียบดังกล่าวจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของนักเรียนผู้ปกครอง และชุมชนท้องถิ่น” โดยเป็นการใช้คำพูดที่เน้นการมีส่วนร่วมมากขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบแล้ว ก็จะพิจารณาให้เกิดความยืดหยุ่นและคำนึงถึงเรื่องอื่น ๆ ที่สำคัญด้วย เช่น การออกระเบียบใหม่เฉพาะเจาะจงจะต้องยึดเรื่องของสิทธิ์ของเด็กเป็นตัวตั้ง และคำนึงถึงความหลากหลายทางเพศสภาพด้วย เพื่อให้รองรับกับความแตกต่างของนักเรียนมากขึ้น
  2. ปัญหาเรื่องการตีความในตัวระเบียบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับระเบียบข้อ 4 เช่น ผมสั้นหรือผมยาวได้แค่ไหน มีผมเปียหรือผมหน้าม้าได้หรือไม่ ซึ่งไม่มีทางที่จะเขียนระเบียบทั้งหมดให้ละเอียดได้ จึงจะใช้วิธีออกแนวทางปฏิบัติ แนะนำว่าให้ทำอย่างไร มีตัวอย่างในการปฏิบัติ เช่น โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ ใช้วิธีการออกระเบียบเฉพาะเจาะจงเรื่องทรงผม โดยมีกระบวนการปรึกษาหารือกับนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน รวมถึงเชิญเทศบาลมาร่วมด้วย และเมื่อมีร่างกฎออกมาแล้วก็ให้มีระยะเวลาในการรับฟังความเห็นคัดค้านได้อีก ดังนั้นหากทำตามกระบวนการแบบนี้ได้ ทุกคนจะเข้าใจตรงกันและไม่เกิดปัญหาขึ้นอีก
  3. เรื่องการลงโทษนักเรียน คณะกรรมการมีแนวทางที่จะเสนอ รมว.ศึกษาธิการ สั่งการให้ชัดเจนว่าการลงโทษ หากเห็นว่านักเรียนผิดระเบียบ จะต้องทำตามระเบียบที่มีอยู่เท่านั้น เช่น การตักเตือน การทำทัณฑ์บน ให้ทำกิจกรรมปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งต้องไม่ใช่การไปกล้อนผมเด็ก ไปคุกคามทำให้เด็กอับอาย เสื่อมเสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเด็ดขาด

ดร.วีระ แข็งกสิการ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเพิ่มเติมว่า วันนี้มีตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนครู ตัวแทนผู้บริหาร และตัวแทนนักเรียนเข้ามาร่วมจำนวนมาก ถือเป็นการประชุมร่างระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งฟังประชาพิจารณ์ไปพร้อมกัน ทำให้ได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์จากนักเรียน ครู และผู้บริหาร ส่งผลให้คณะกรรมการสามารถตัดสินใจได้รอบคอบและตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ ศธ360 องศา วันที่ 26 ตุลาคม 2563

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่