อัมพร ติวเข้มจี้ครูปรับการสอนสู่ Active Learning รร.ต้องมีหลักสูตรของตัวเองสอดคล้องบริบทพื้นที่
อัมพร ติวเข้มจี้ครูปรับการสอนสู่ Active Learning รร.ต้องมีหลักสูตรของตัวเองสอดคล้องบริบทพื้นที่

อัมพร ติวเข้มจี้ครูปรับการสอนสู่ Active Learning รร.ต้องมีหลักสูตรของตัวเองสอดคล้องบริบทพื้นที่

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวภายหลังการประชุมสื่อสารสร้างความเข้าใจ โครงการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เพื่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้แก่ครู ผู้บริหาร และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ว่า การประชุมครั้งนี้ตนต้องการสร้างความเข้าใจการขับเคลื่อนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะหน่วยงานรับนโยบายและเราเป็นผู้ปฎิบัติให้เป็นไปตามแผนปฎิรูปประเทศด้านการศึกษาด้วยการกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะ โดยที่ผ่านมาเรามีการปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 มาแล้วและปรับปรุงอีกครั้งในปี 2560 ด้วยการเพิ่มสมรรถนะการเรียนรู้เข้าไปเพิ่มอีก 5 ตัวจากหลักงสูตรอิงมาตรฐาน

อัมพร ติวเข้มจี้ครูปรับการสอนสู่ Active Learning รร.ต้องมีหลักสูตรของตัวเองสอดคล้องบริบทพื้นที่
อัมพร ติวเข้มจี้ครูปรับการสอนสู่ Active Learning รร.ต้องมีหลักสูตรของตัวเองสอดคล้องบริบทพื้นที่ 2

นายอัมพร กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สพฐ.จึงต้องการขับเคลื่อนหลักสูตรไปสู่กระบวนการจัดการเรียนการสอนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียน โดยการดำเนินการในการขับเคลื่อนกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) นั้น สพฐ.จะมุ่งพัฒนาครูให้เข้าใจ ว่า อะไรคือการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning และจะจัดการเรียนการสอนอย่างไรให้ตอบโจทย์การเรียนรู้ดังกล่าว ซึ่งแม้จะมีการอบรมครูไปแล้ว กว่า 4 แสนคน แต่เราต้องการให้เกิดการขับเคลื่นในการปฏิบัติเรื่องนี้อย่างจริงจัง ดังนั้นครูและผู้บริหารจะต้องกลับไปปรับปรุงหลักสูตรของสถานศึกษาให้มุ่งสู่การเป็นสมรรถนะ ซึ่งทุกโรงเรียนจะต้องไปทำหลักสูตรของสถานศึกษาตัวเองให้เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ เช่น โรงเรียนในพื้นที่ภาคใต้มีการอนุรักษ์เรื่องวัฒนธรรมโนราห์ โรงเรียนก็ต้องมุ่งทำหลักสูตรท้องถิ่นให้เด็กได้เรียนรู้วัฒนธรรมของตัวเอง เป็นต้น จากนั้นเมื่อได้หลักสูตรสถานศึกษาที่เป็นหลักสูตรของตัวเองแล้วครูจะต้องนำหลักสูตรไปคลี่ เพื่อกำหนดหน่วยการเรียนออกแบบการวัดและประเมินผล เพื่อให้เกิดการประเมินผลสัมฤทธิ์ของเด็กที่แท้จริงว่าเด็กเรียนไปแล้วเกิดสมรรถนะการเรียนรู้แบบไหนอย่างไร

“จากนี้ไปครูต้องปรับแผนการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และการวัดประเมินผลใหม่ให้สอดรับกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพราะสมัยก่อนครูจะต้องยืนสอนอยู่หน้ากระดาน เป็นผู้บอกความรู้ แต่จากนี้ไปครูต้องเป็นคนอำนวยการ และวิธีการแสวงหาความรู้เด็กต้องทำเอง โดยสิ่งเหล่านี้ที่เราอยากให้เกิดขึ้น ในส่วนเขตพื้นที่ ผอ.โรงเรียนจะต้องปรับการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูในเรื่องการวัดและประเมินผลด้วย เพราะสุดท้ายแล้วจะทำให้เกิดการขับเคลื่อนการกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning อย่างแท้จริง”เลขาฯ กพฐ.กล่าว

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ไทยโพสต์ วันที่ 22 มิถุนายน 2565 เวลา 16:26 น.

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่