เกณฑ์การแข่งขัน คัดลายมือสื่อภาษาไทย และแบบอักษรคัดลายมือ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565
เกณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๗๐ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สรุปกิจกรรมการแข่งขันกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ ๑๐ พ.ย. ๖๕)
การแข่งขันคัดลายมือสื่อภาษาไทย
๑. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน
การแข่งขันแบ่งเป็น ๔ ระดับชั้น ดังนี้
๑.๑ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ เท่านั้น
๑.๒ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ เท่านั้น
๑.๓ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ เท่านั้น
๑.๔ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ เท่านั้น
๒. ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน
๒.๑ ประเภทเดี่ยว
๒.๒ จำนวนผู้เข้าแข่งขันระดับชั้นละ ๑ คน
๓. วิธีดำเนินการและหลักเกณฑ์การแข่งขัน
กำหนดเนื้อหาการเขียนให้เหมาะสมตามระดับชั้นของนักเรียน ใช้เวลาแข่งขัน ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที
- ชั้น ป.๑ – ๓ ใช้ดินสอดำ ๒ B ตัวบรรจงเต็มบรรทัด ความยาว ๑0 – ๑๕ บรรทัด หรือไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ A ๔
- ชั้น ป.๔ – ๖ ใช้ปากกาลูกลื่นสีดำ ขนาด ๐.๕ มม. ตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ความยาว ๑๕ – ๒๐ บรรทัด หรือไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ A ๔
- ชั้น ม.๑ – ๓ ใช้ปากกาลูกลื่นสีดำ ขนาด ๐.๕ มม. ตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ความยาว ๒๐ – ๒๕ บรรทัด หรือไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ A ๔
- ชั้น ม.๔ – ๖ ใช้ปากกาลูกลื่นสีดำ ขนาด ๐.๕ มม. ตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ความยาว ๒๐ – ๒๕ บรรทัด หรือไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ A ๔
ตัวอักษรแบบกระทรวงศึกษาธิการ
๔. เกณฑ์การให้คะแนน (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน) ดังนี้
๔.๑ ใช้ตัวอักษรแบบกระทรวงศึกษาธิการ ๕๐ คะแนน
๔.๒ ถูกต้องตามอักขรวิธี ๒๕ คะแนน
๔.๓ อ่านง่าย เป็นระเบียบ สะอาดเรียบร้อย ๒๕ คะแนน
๕. เกณฑ์การตัดสิน
ร้อยละ ๘๐ – ๑๐๐ ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง
ร้อยละ ๗๐ – ๗๙ ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน
ร้อยละ ๖๐ – ๖๙ ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง
ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ ได้รับเกียรติบัตร เว้นแต่กรรมการจะเห็นเป็นอย่างอื่น
ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
๖. คณะกรรมการการแข่งขัน ระดับชั้นละ ๓ – ๕ คน
คุณสมบัติของคณะกรรมการ
๑ ผู้ทรงคุณวุฒิ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านภาษาไทย หรือ
๒) ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หรือ
๓) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ข้อควรคำนึง
๑ กรรมการที่เป็นครูต้องไม่ตัดสิน กรณีที่มีนักเรียนในสถานศึกษาของตนเข้าแข่งขันในระดับชั้นนั้น และกรรมการที่เป็นศึกษานิเทศก์ต้องไม่ตัดสิน กรณีที่มีนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดเขตของตนเข้าแข่งขัน
๒) กรรมการควรมีการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตัดสิน
๓) กรรมการควรมาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต่าง ๆ หลายเขตพื้นที่ในภาคเดียวกัน
๔) กรรมการควรให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมแก่นักเรียนที่ชนะลำดับที่ ๑ – ๓
๗. สถานที่ทำการแข่งขัน
ควรเป็นห้องที่มีโต๊ะ เก้าอี้ สำหรับผู้เข้าแข่งขันนั่งตามเลขที่ โดยจัดให้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละระดับชั้น
๘. การเข้าแข่งขันระดับภาค และระดับชาติ
๘.๑ ให้ผู้ที่เป็นตัวแทนของเขตพื้นที่การศึกษาเข้าแข่งขันระดับภาค ทุกกิจกรรมต้องได้คะแนนระดับเหรียญทอง ลำดับที่ ๑ (คะแนนร้อยละ ๘- ขึ้นไป และผู้ที่เป็นตัวแทนระดับภาคถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลระดับชาติ จะต้องได้คะแนนระดับเหรียญทอง ลำดับที่ ๑ – ๓ (คะแนนร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป)
๘.๒ กรณีแข่งขันระดับเขตพื้นที่การศึกษา ที่มีผู้ชนะลำดับสูงสุดได้คะแนนเท่ากัน และระดับภาคมีมากกว่า ๓ คน ให้พิจรณาลำดับที่ตามลำดับข้อของเกณฑ์การให้คะแนน เช่น มีผู้ที่ได้คะแนนข้อที่ ๑ เท่ากันให้ดูข้อที่ ๒ ผู้ที่ได้คะแนนข้อที่ ๒ มากกว่าถือเป็นผู้ชนะ แต่ถ้าข้อ ๒ เท่ากัน ให้ดูข้อถัดไป กรณีคะแนนเท่ากันทุกข้อให้ประธานกรรมการตัดสินเป็นผู้ขี้ขาด
ขอบคุณที่มา : https://sillapa.net/home/
บทความที่เกี่ยวข้อง
- สพฐ. แจ้งงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับภาค ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 มอบหมายเจ้าภาพการจัดการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ
- มาแล้ว!! เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565