เปิดเทอม On-Site ปี2565 เจอติดโควิด19 ไปเรียนได้-ไม่ต้องปิดโรงเรียน
เปิดเทอม On-Site ปี2565 เจอติดโควิด19 ไปเรียนได้-ไม่ต้องปิดโรงเรียน

เปิดเทอม On-Site ปี2565 เจอติดโควิด19 ไปเรียนได้-ไม่ต้องปิดโรงเรียน

 เมื่อวันที่ 3 พ.ค.2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมช.สธ.) กล่าวในการเปินประธานเปิดการประชุมชี้แจงพร้อมแถลงข่าวมาตรการเปิดเรียน On-Site ปลอดภัย อยู่ได้กับโควิด-19 ในสถานศึกษาเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1/2565 ว่า ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 สธ. และกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ ได้ปรับเปลี่ยนมาตรการการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อการเรียนรู้ที่ดีในโรงเรียนของเด็กไทยต่อไป  โดยเน้นย้ำ ตามมาตรการต่อไปนี้ คือ

1.เร่งรัดการฉีดวัคซีน เพื่อให้นักเรียนได้รับวัคซีนตามความสมัครใจให้ครอบคลุม

2.สถานศึกษา ต้องเข้ารับการประเมิน Thai Stop COVID Plus โดยต้องผ่านการประเมินมากกว่า 95 %  ส่วนการตรวจATK ที่เดิมให้ตรวจทุกราย แต่จากการหารือร่วมกับราชวิทยาลัยและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง  โดยการตรวจเฝ้าระวังให้ดำเนินการเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีอาการเท่านั้น  เพราะกรณีที่มีฉีดวัคซีนครบและไม่มีอาการ การตรวจATKอาจผิดพลาดได้ 

3. เน้นย้ำการทำตามแผนเผชิญเหตุ เมื่อเจอผู้ติดเชื้อ หรือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ไม่ดำเนินการปิดชั้นเรียนหรือโรงเรียน เป้าประสงค์นักเรียนควรได้รับการเรียนรู้อย่างเต็มที่ที่โรงเรียน และ

4.เน้นย้ำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดให้ปฏิบัติตามมาตรการ โดยมอบหมายให้ศูนย์อนามัยในเขตสุขภาพเป็นพี่เลี้ยง 

เปิดเทอม On-Site ปี2565 เจอติดโควิด19 ไปเรียนได้-ไม่ต้องปิดโรงเรียน
เปิดเทอม On-Site ปี2565 เจอติดโควิด19 ไปเรียนได้-ไม่ต้องปิดโรงเรียน

ด้านนพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย  อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า  สถานการณ์การติดโควิด19 กลุ่มเด็ก0-19 ปี ตั้งแต่  1 ม.ค.2565 ข้อมูล ณ วันที่ 27 เม.ย.2565 ติดเชื้อสะสม  334,030 ราย อายุ 0-6 ปี ติดเชื้อ 115,332 ราย อายุ  7-12 ปี 458 ราย และ 13-19 ปี  546 ราย ส่วนผู้เสียชีวิต อายุ  0-5 ปี 33 ราย  และ อายุ 6-18 ปี 21 ราย   โดยการฉีดวัคซีนในกลุ่มเด็ก ในกลุ่มเด็ก 12-17 ปีต้องเร่งรัดการฉีดเข็ม 3 และอายุ 5-11 ปี เข็ม 1 ฉีดแล้ว 53 % และเข็ม 2 ฉีดแล้ว 13 % จะต้องเร่งรัดเช่นกัน
      

สำหรับมาตรการเปิดเรียน On-Site อยู่ได้กับโควิด19 กรณีโรงเรียนประจำ เน้นมาตรการ Sandbox Safety zone in School  โดย 1.หากนักเรียน รู หรือบุคลากรเป็นผู้ติดเชื้อ ให้หารือหน่วยบริการสาธารณสุขในการแยกกักตัวในโรงเรียนกรณีไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย ให้จัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสม เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร งดร่วมกลุ่ม

     

2.กรณีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงให้จัดควอรันทีนโซน จัดการเรียนการสอนในนั้นเป็นเวลา 5 วัน จากนั้นให้สังเกตอาการอีก 5 วัน อย่างไรก็ตามกรณีได้รับวัคซีนครบตามกำหนดและไม่มีอาการไม่แนะนำให้กักตัว และตรวจ ATK ในวันที่ 5 และ 10 และ3.กรณีเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ให้เปิดเรียนปกติ โดยป้องกันตนเองครอบจักรวาล ประเมิน Thai Save Thai (TST) เว้นระยะห่างในห้องอย่างน้อย 1 เมตร
     

กรณีโรงเรียนไป-กลับ 1. กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากร ติดเชื้อ ให้แยกกักตัวที่บ้าน หรือพิจารณากักตัวที่โรงเรียน โดยคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานสาธารณสุข และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด กรณีเป็นผู้ติดเชื้อมีอาการให้พิจารณาจัดรูปแบบการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีอาการ  และทำความสะอาดห้องเรียน ชั้นเรียน สถานศึกษา และเปิดเรียนตามปกติ 

       

2.กรณีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงหากยังไม่ได้รับวัดซีน ไม่มีอาการ แนะนำให้กักตัวเองเป็นเวลา 5 วันและติดตามหลังจากนั้นอีก 5 วัน กรณีได้รับวัคซีนครบและไม่มีอาการไม่ต้องกักตัว ให้เรียนได้โดยให้ตรวจ ATK วันที่ 1 , 5 และ 10 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อ สถานศึกษาจัดให้เรียนตามความเหมาะสม เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร และ3.กรณีผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ให้เรียนตามปกติ ป้องกันตนเองครอบจักรวาล ประเมิน TST เว้นระยะห่างในห้องอย่างน้อย 1 เมตร

           

นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) กล่าวว่า  โรงเรียนทั่วประเทศมีกว่า  35,000 แห่ง เป็นร.ร.รัฐสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ทั้งประถมศึกษาแฃและมัธยมฯ 29,200 แห่ง   เอกชน 4,100 แห่ง และอื่นๆ เช่น อปท. มหาดไทย(มท.) อีกราว 1,800 แห่ง  โดยกว่า 90 % จะเปิดเรียนในวันที่  17 พ.ค.2565  โดยทุกสถานศึกษามีการเตรียมความพร้อม โดยสิ่งที่แตกต่างระหว่างภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 กับภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 คือ การเว้นระยะห่าง ในห้องเรียน จะเหลือ 1 เมตร จาก 1.5 เมตร
        

เพราะฉะนั้น ห้องเรียนปกติที่มีขนาด 8 X 8 เมตร สามารถจัดโต๊ะเรียนได้7 แถว ๆ ละ 6 ที่นั่ง รวม 42 คน ซึ่งโดยปกติ 1 ห้องเรียนจะมีนักเรีนนประมาณ 40 คน ไม่มีปัญหาในเรื่องการเว้นระยะห่าง แต่อาจจะมีปัญหาในโรงเรียนประถมศึกษาบางแห่งเท่านั้น ที่เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ บางห้องอาจจะมีขนาด 6 X 8 เมตร และสิ่งสุดท้ายที่มีความแตกต่าง คือ บางโรงเรียนเป็นการเรียนในห้องปรับอากาศ ต้องมีการเปิดระบายอากาศ ทุก 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 นาที ในช่วงพัก สำหรับโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อในโรงเรียน คือ การถอดหน้ากาก กินข้าวร่วมกัน สนทนาระหว่างกันโดยไม่สวมหน้ากาก ดังนั้น ในโรงอาหารควรมีการแยกสำรับกับข้าว แยกพื้นที่ งดการพูดคุย ขณะกินอาหาร และเมื่อมีการเล่นร่วมกัน ควรสวมหน้ากากตลอดเวลา

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 3 พ.ค. 2565 เวลา 16:07 น.

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่