เปิดตัว DEEP แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการศึกษาไทยยุคใหม่ ปลดล็อคการศึกษาไทยด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัล
เปิดตัว DEEP แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการศึกษาไทยยุคใหม่ ปลดล็อคการศึกษาไทยด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัล

เปิดตัว DEEP แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการศึกษาไทยยุคใหม่ ปลดล็อคการศึกษาไทยด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัล

วันที่ 31 สิงหาคม 2563 นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมนิทรรศการแสดงการจัดการเรียนการสอนบนแพลตฟอร์มออนไลน์ “ยกกำลังสองการศึกษาไทยสู่ความเป็นเลิศ Education Digital Disruption ปลดล็อคการศึกษาไทยด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัล” เพื่อเปิดตัวดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ Digital Education Excellence Platform : DEEP โดยมีผู้บริหารของ สพฐ. อาทิ นายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายนิพนธ์ ก้องเวหา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน นางอาทิตยา ปัญญา ผู้อำนวยการศูนย์บริหารงานการพัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ นายธีร์ ภวังคนันท์ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบเครือข่ายและการมีส่วนร่วม พร้อมทั้งผู้แทนจากบริษัทไมโครซอฟต์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้แทนจากบริษัทกูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด รวมถึงผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู บุคลากร นักเรียน และประชาชนที่สนใจ เข้าร่วมในพิธี ณ โรงเรียนวัดราชบพิธ กรุงเทพมหานคร

เปิดตัว DEEP แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการศึกษาไทยยุคใหม่ ปลดล็อคการศึกษาไทยด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัล
เปิดตัว DEEP แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการศึกษาไทยยุคใหม่ ปลดล็อคการศึกษาไทยด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัล
เปิดตัว DEEP แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการศึกษาไทยยุคใหม่ ปลดล็อคการศึกษาไทยด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัล
เปิดตัว DEEP แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการศึกษาไทยยุคใหม่ ปลดล็อคการศึกษาไทยด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัล

นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า กิจกรรม “ยกกำลังสองการศึกษาไทยสู่ความเป็นเลิศ Education Digital Disruption ปลดล็อคการศึกษาไทยด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัล” เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในสังกัด ที่จะนำเสนอการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 สอดคล้องกับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้เกิดผลตามแนวทางการปฏิรูปประเทศและนโยบายของรัฐบาล คือ ปรับรูปแบบการเรียนรู้และการสอน เพื่อพัฒนาทักษะและอาชีพของคนทุกช่วงวัย โดยปรับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาให้ทันสมัย มีการนำเทคโนโลยีและการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน นอกจากนี้ ยังได้จัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะของครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด สพฐ. ให้สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับบริบทของโลกในปัจจุบันต่อไป

สำหรับแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ Digital Education Excellence Platform หรือ DEEP ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด ที่ให้การสนับสนุนเครื่องมือในการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ โดยใช้เครื่องมือ Microsoft Teams และ G Suite for Education สำหรับครูผู้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนสังกัด สพฐ. ซึ่งได้ดำเนินการจัดอบรมการใช้งานออนไลน์ผ่าน OBEC Channel ในระหว่างวันที่ 8-20 พฤษภาคม 2563 และพัฒนาศึกษานิเทศก์ Co-Leader เพื่อเป็นผู้ดูแลระบบระดับเขตพื้นที่การศึกษาให้กับศึกษานิเทศก์จาก 225 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดย สพฐ. ได้คัดเลือกให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 (สพม.1) เป็นสำนักงานเขตฯต้นแบบในการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ และสพม.1 ได้คัดเลือกโรงเรียนต้นแบบจำนวน 6 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนวัดราชบพิธ โรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โรงเรียนราชวินิตมัธยม โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย และโรงเรียนมหรรณพาราม เป็นโรงเรียนต้นแบบในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ พร้อมวางแผนขยายผลในโรงเรียนอื่นๆ ทั่วประเทศต่อไป

สำหรับแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ Digital Education Excellence Platform หรือ DEEP ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด ที่ให้การสนับสนุนเครื่องมือในการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ โดยใช้เครื่องมือ Microsoft Teams และ G Suite for Education สำหรับครูผู้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนสังกัด สพฐ. ซึ่งได้ดำเนินการจัดอบรมการใช้งานออนไลน์ผ่าน OBEC Channel ในระหว่างวันที่ 8-20 พฤษภาคม 2563 และพัฒนาศึกษานิเทศก์ Co-Leader เพื่อเป็นผู้ดูแลระบบระดับเขตพื้นที่การศึกษาให้กับศึกษานิเทศก์จาก 225 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดย สพฐ. ได้คัดเลือกให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 (สพม.1) เป็นสำนักงานเขตฯต้นแบบในการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ และสพม.1 ได้คัดเลือกโรงเรียนต้นแบบจำนวน 6 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนวัดราชบพิธ โรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โรงเรียนราชวินิตมัธยม โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย และโรงเรียนมหรรณพาราม เป็นโรงเรียนต้นแบบในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ พร้อมวางแผนขยายผลในโรงเรียนอื่นๆ ทั่วประเทศต่อไป

ขอบคุณที่มาเนื้อหา : อีทีวีแม็ค เวทีสาธารณะเพื่อการศึกษา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่