เลขาธิการ กอศ. เปิดนโยบาย 4 พลิกอาชีวศึกษา มุ่งเป้าหมายผลิตผู้เรียนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน
เลขาธิการ กอศ. เปิดนโยบาย 4 พลิกอาชีวศึกษา มุ่งเป้าหมายผลิตผู้เรียนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน

เลขาธิการ กอศ. เปิดนโยบาย 4 พลิกอาชีวศึกษา มุ่งเป้าหมายผลิตผู้เรียนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน

เมื่อวันที่ 2 ม.ค. นายณรงค์  แผ้วพลสง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยถึงการขับเคลื่อนการอาชีวศึกษาว่า จากการหารือร่วมกับผู้บริหารและบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) รวมถึงรับฟังจากผู้ปกครองและประชาชนแล้ว ได้มีการทำความเข้าใจร่วมกันว่าในส่วนของการอาชีวศึกษาจะต้องมีการปรับตัวอย่างหลากหลาย เพราะส่วนหนึ่งที่เราต้องการ คือ การเพิ่มจำนวนผู้เรียน และการสร้างคุณภาพให้เห็นเป็นรูปธรรม

ซึ่งสอดคล้องกับที่ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ให้นโยบายมาตลอดว่า อยากเห็นกระทรวงศึกษาธิการ( ศธ.) พลิกภาพลักษณ์เดิม ๆ ที่เป็นความล่าช้า และไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน โดยทุกหน่วยงานจะต้องวางกรอบและทิศทางการสร้างการทำงานให้เห็นเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ ศธ.   ในไตรมาสที่ 2 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2563 สอศ.จะดำเนินการ 4 พลิก คือ

1. พลิกความเชื่อ โดยเฉพาะเรื่องภาพลักษณ์ที่ถูกมองว่ามีแต่การทะเลาะวิวาท และ เด็กไม่มีคุณภาพ

2. พลิกนโยบาย โดยเฉพาะเรื่องการรับเด็กที่จะต้องเอาเด็กเป็นตัวตั้ง และหาแรงจูงใจให้เด็กมาเรียนสายอาชีพให้มากขึ้น ไม่ใช่เพราะความอยาก แต่เป็นการตอบโจทย์ประเทศ ตอบโจทย์ภาวะเศรษฐกิจ ตอบโจทย์สถานประกอบการที่ขณะนี้กำลังมีปัญหา ซึ่งจะเป็นโอกาสที่อาชีวศึกษาจะเข้ามาช่วยได้

3.พลิกการดำเนินงาน ที่ต้องทำในเชิงรุก เดินเข้าไปหานักเรียนนักศึกษา และต้องประสานกับหน่วยงานเครือข่ายต่าง ๆ โดยไม่มีคำว่าแย่งเด็ก ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้ง แต่จะทำงานโดยเอาเด็กเป็นตัวตั้ง เอาความต้องการของเด็กเป็นตัวตั้ง ซึ่งครูอาชีวะจะต้องอธิบายให้เด็กและผู้ปกครองเข้าใจว่า การมาเรียนอาชีวะจะได้อะไรบ้าง ทำงานอะไรได้บ้าง ซึ่งถ้าทำ 3 พลิกนี้ได้ก็จะเกิดพลิกที่

4. คือ พลิกเป้าหมาย จำนวนเด็กมาเรียนอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น เด็กมีพฤติกรรมที่ดี”เลขาธิการ กอศ.กล่าวและว่า ทั้งนี้ ตนได้กำชับว่าในการเปิดสอนสาขาวิชาใดก็ตาม ต้องไม่ใช่ก้มหน้าก้มตาเปิด แต่ต้องคำนึงว่า เด็กที่เข้ามาเรียนอาชีวศึกษาทุกคนต้องมีงานทำไม่ว่าอาชีพหลัก อาชีพรอง หรือ อาชีพเสริม เพราะฉะนั้นการเปิดสอนจะต้องดูความต้องการของทั้งตลาดแรงงานและความต้องการของผู้เรียนด้วย

ที่มาของข่าว : เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 2 มกราคม 2563

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่