ว9/2566 แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ยกเว้นสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ) แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งครูผู้ช่วย 2566
ว9/2566 แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ยกเว้นสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ) แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งครูผู้ช่วย 2566

ว9/2566 แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ยกเว้นสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ) แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งครูผู้ช่วย 2566

ว9/2566 แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ยกเว้นสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ) แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งครูผู้ช่วย 2566
แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งครูผู้ช่วย 2566

แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้ารชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ยกเว้นสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ)

(ส่งพร้อมหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0๒๐๖.๖/ ว๙ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๖)

โดยที่มาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๙/๒๕๖๐ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ พ.ศ. ๒๕๖๕ กำหนดให้มี อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สำหรับแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณี ทำหน้าที่การบริหารงานบุคคลตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดไว้ จากเดิมที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของ กศจ. และปรับเปลี่ยนผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรา ๕๓ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๑ ไปเป็นอำนาจของผู้อำนวยการสถานศึกษา ส่งผลต่อการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้ดำเนินการสอบแข่งขันไว้ก่อนที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ดังนั้น เพื่อให้การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ยกเว้นสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ) สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.ค.ศ. จึงกำหนดแนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ยกเว้นสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ) ดังนี้

๑. ในแนวปฏิบัตินี้

“บัญชีผู้สอบแข่งขันได้” หมายความว่า บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ตามประกาศคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เกี่ยวกับการขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ที่ได้ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วยตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ ๐๒๐๖.๖/ว ๑๔ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓

“สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ดูแลบัญชีผู้สอบแข่งขันได้” หมายความว่าการศึกษาประถมศึกษา เขต ๑ หรือเขตเดียวในจังหวัด ซึ่งมีหน้าที่ดูแล ควบคุม แสะประสาน
การใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ จนกว่าจะครบอายุการขึ้นบัญชีหรือบัญชีถูกยกเลิก

๒. ให้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของแต่ละ กศจ. เป็นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ทุกเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนั้น ๆ

๓. ให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดดำเนินการส่งมอบบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ พร้อมทั้งรายละเอียดและเอกสารหลักฐานของผู้ได้รับการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ดูแลบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา ๓ วัน นับตั้งแต่วันที่สำนักงาน ก.ค.ศ. มีหนังสือแจ้งแนวปฏิบัติฯ นี้

๔. ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ดูแลบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ประชุมร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นในจังหวัดนั้น เพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับบัญซีผู้สอบแข่งขันได้ รวมทั้งจำนวนตำแหน่งว่างและกำหนดแผนการดำเนินการบรรจุและแต่งตั้งจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ แล้วรายงานให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ทราบ

๕. การดำเนินการบรรจุและแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้
๕.๑ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีตำแหน่งว่างและประสงค์จะบรรและแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้ ให้นำเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาเพื่อมีมติอนุมัติจำนวนตำแหน่งว่าง กลุ่มวิชาหรือทาง หรือสาขาวิชาเอก ที่จะบรรจุและแต่งตั้ง

๕.๒ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีตำแหน่งว่าง แจ้งมติ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเกี่ยวกับจำนวนตำแหน่งว่าง กลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอก พร้อมทั้งรายชื่อและที่ตั้งของสถานศึกษาที่จะบรรจุและแต่งตั้งไปยังสำนักงานเขตพื้นที่กา รศึกษาที่ดูแลบัญชีผู้สอบแข่งขันได้

กรณีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่มีท้องที่รับผิดชอบครอบคลุมมากกว่าหนึ่งจังหวัด ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีตำแหน่งว่างแจ้งมติ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา พร้อมทั้งรายชื่อและที่ตั้งของสถานศึกษาที่จะบรรจุและแต่งตั้งไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ดูแลบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ซึ่งมีสถานศึกษาที่มีตำแหน่งว่างตั้งอยู่

๕.๓ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ดูแลบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เรียกตัวผู้สอบแข่งขันได้มารายงานตัวเพื่อบรรจุและแต่งตั้ง โดยทำหนังสือเรียกตัวผู้สอบแข่งชันได้โดยตรงเป็นรายบุคคลตามลำดับที่ในประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ โดยแจ้งกำหนดวันรายงานตัวไม่น้อยกว่าเจ็ดวันแต่ไม่เกินสิบวันนับแต่วันประทับตราลงทะเบียนไปรษณีย์ต้นทาง โดยให้แจ้งรายละเอียด ดังนี้
๑) วัน เวลา และสถานที่ร้ายงานตัวเพื่อเลือกสถานศึกษา
๒) เอกสารและหลักฐานที่ใช้ประกอบการรายงานตัวเพื่อเลือกสถานศึกษา
๓) ลำดับที่ที่ผู้สอบแข่งขันได้มีสิทธิได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง
๔) ที่ตั้งของสถานศึกษาที่จะบรรจุและแต่งตั้ง
๕) วันที่จะบรรจุและแต่งตั้ง
๖) อื่น ๆ ตามที่เห็นสมควร

๕.๔ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ดูแลบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ที่เลือกสถานศึกษาแล้ว พร้อมเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการรายงานตัวไปยังที่สถานศึกษานั้นสังกัดอยู่

ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการตามข้อ ๕.๔ แล้ว ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ดูแลบัญชีผู้สอบแข่งขันได้รายงาน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อทราบด้วย

๕.๕ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัดของสถานศึกษาที่มีตำแหน่งว่างนำเสนออ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา พิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบการบรรจุและแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้
๕.๖ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (๔) สั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือหลักฐานที่ใช้แสดงในการป ระกอบวิชาชีพครู
ตามที่คุรุสภาออกให้เพื่อปฏิบัติหน้าที่สอน ที่ยังไม่หมดอายุ โดยให้บรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย และรับเงินเดือนในอันดับครูผู้ช่วย ตามประกาศรับสมัครสอบแข่งขันตามจำนวนตำแหน่งว่าง และตามลำดับที่ในประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ โดยความเห็นชอบของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา

๖. การยกเลิกการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้รายใดออกจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นช้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0๒๐๖365.๑๔ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓กรณี ไม่สามารถดำเนินการได้หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติให้เสนอ ก.ค.ศ. พิจารณาหรือวินิจฉัย



ว9/2566 แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ยกเว้นสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ) แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งครูผู้ช่วย 2566
แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งครูผู้ช่วย 2566
ว9/2566 แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ยกเว้นสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ) แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งครูผู้ช่วย 2566
แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งครูผู้ช่วย 2566
ว9/2566 แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ยกเว้นสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ) แนวปฏิบัติการบรรจุและแต่งตั้งครูผู้ช่วย 2566 5

ที่มา :: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา – ก.ค.ศ., สำนักงาน ก.ค.ศ., ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, (otepc.go.th)

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่