3 กระทรวง "ศธ.-สธ.-พม." ลงนามความร่วมมือ แก้ปัญหาท้องในวัยเรียน เชื่อมโยง Big Data ถึงกัน
3 กระทรวง "ศธ.-สธ.-พม." ลงนามความร่วมมือ แก้ปัญหาท้องในวัยเรียน เชื่อมโยง Big Data ถึงกัน

3 กระทรวง “ศธ.-สธ.-พม.” ลงนามความร่วมมือ แก้ปัญหาท้องในวัยเรียน เชื่อมโยง Big Data ถึงกัน

3 กระทรวง "ศธ.-สธ.-พม." ลงนามความร่วมมือ แก้ปัญหาท้องในวัยเรียน เชื่อมโยง Big Data ถึงกัน 3

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วยนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และนายสากล ม่วงศิริ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการให้โอกาสเด็กและเยาวชนที่ตั้งครรภ์ได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

รัฐบาลมีความพยายามจะแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในกลุ่มเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีอัตราการตั้งครรภ์ลดน้อยลงตามลำดับ แต่การติดตามผลในทางปฏิบัติ พบว่ายังมีเด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อยที่ต้องหลุดจากระบบการศึกษา หรืออาจไม่ได้รับโอกาสในการศึกษาอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม ส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านครอบครัว ชุมชน เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการอบรมเลี้ยงดูบุตรให้มีพัฒนาการเติบโตตามวัย

ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีความซับซ้อนและไม่อาจแก้ไขได้ด้วยอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง จึงมีการสร้างกลไกการดำเนินงานร่วมกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในการให้โอกาสเด็กและเยาวชนที่ตั้งครรภ์ในสถานศึกษา ได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสม เป็นรูปธรรม มีความเป็นเอกภาพ และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3 กระทรวง "ศธ.-สธ.-พม." ลงนามความร่วมมือ แก้ปัญหาท้องในวัยเรียน เชื่อมโยง Big Data ถึงกัน
3 กระทรวง “ศธ.-สธ.-พม.” ลงนามความร่วมมือ แก้ปัญหาท้องในวัยเรียน เชื่อมโยง Big Data ถึงกัน

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ทั้ง 3 กระทรวงได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการให้โอกาสเด็กและเยาวชนที่ตั้งครรภ์ได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสม รวมทั้งหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ซึ่งอยู่ภายใต้นโยบายหลักของของคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ขณะที่ตนในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการชุดนี้ จะเดินหน้าบูรณาการร่วมกัน เนื่องจากภารกิจของแต่ละกระทรวงมีความเกี่ยวข้องโดยตรงในด้านต่าง ๆ

ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข: ดูแลด้านสุขอนามัย การรักษาพยาบาลการ ให้ความปลอดภัยแก่ทั้งแม่และลูก กระทรวงศึกษาธิการ: ดูแลด้านการให้การศึกษา การทำความเข้าใจ การให้โอกาส การลดความเหลื่อมล้ำและลดตราบาปของเด็ก และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์: ดูแลเกี่ยวกับการเยียวยา การให้กำลังใจ การพัฒนาสภาพจิตใจ และการให้โอกาสต่าง ๆ

การบันทึกข้อตกลง MOU ของทั้ง 3 กระทรวงในครั้งนี้ ทำให้มั่นใจได้ว่าจะเป็นนิมิตหมายอันดีที่สังคมจะให้โอกาสกับคนที่มีความผิดพลาดในช่วงวัยที่ภาวะการตัดสินใจยังไม่เต็มที่ สิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่ตัวเด็กที่ตั้งครรภ์คนเดียว แต่อาจจะกระทบไปถึงทารกในครรภ์ จึงเป็นสิ่งที่ยอมให้เกิดขึ้นไม่ได้

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การลงนามข้อตกลงในวันนี้ เป็นการให้โอกาสเด็กและเยาวชนที่ตั้งครรภ์ในสถานศึกษา ซึ่งต้องให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามแก้ไขปัญหา และป้องกันปัญหาในอนาคต ที่สำคัญคือเรื่องของ Big Data ที่ทั้ง 3 กระทรวงคงต้องเชื่อมโยงกันในทุกเรื่อง รวมถึงข้อมูลพื้นฐานจากกระทรวงมหาดไทยด้วย เพื่อให้สามารถรับทราบจำนวนรายชื่อและที่อยู่ที่ชัดเจนของเด็กที่อาจจะมีปัญหาในเรื่องต่าง ๆ

เรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นปัญหาทุกประเทศ หากสามารถให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง ถูกหลัก ทันสมัย เป็นที่เข้าใจของเด็กและเยาวชน ก็น่าจะทำให้ปัญหาลดความรุนแรงหรือลดจำนวนลงได้ ขณะเดียวกันยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์เรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้ ก็ต้องดูแลอย่างดีที่สุด ให้โอกาสเด็กและเยาวชนที่อาจยังไม่มีภาวะในการตัดสินใจหลาย ๆ เรื่องเข้าสู่กระบวนการดูแล

เพราะสุดท้ายเยาวชนเหล่านี้ก็คืออนาคตของประเทศ เป็นกลุ่มคนที่จะมาขับเคลื่อนประเทศ สร้างโอกาสในการแข่งขันในอนาคต เราจึงไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และหวังว่าความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้ปัญหาการตั้งครรภ์ในสถานศึกษาของเด็กและเยาวชนลดลง 

นายสากล ม่วงศิริ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ในส่วนของ พม. มีบทบาทในการจัดสวัสดิการดูแลให้ความช่วยเหลือกับคุณแม่ในช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันและแก้ปัญหา รวมถึงการที่จะฝึกอาชีพให้ตั้งแต่ก่อนคลอดลูก เมื่อคลอดลูกออกมาแล้วก็สามารถที่จะดูแลตัวเองและลูกที่เกิดมาได้ หรือหากไม่ต้องการเลี้ยงลุกที่เกิดมาแล้ว ทาง พม. ก็จะหาครอบครัวอุปถัมภ์มาดูแลให้ต่อไป

ขอบคุณที่มา : Facebook ศธ.360 องศา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่