กั๊กที่จอดรถบนถนน ผิดกฎหมายปรับสูงสุด 1 หมื่น ผู้แจ้งได้ส่วนแบ่งด้วย!
กั๊กที่จอดรถบนถนน ผิดกฎหมายปรับสูงสุด 1 หมื่น ผู้แจ้งได้ส่วนแบ่งด้วย!

กั๊กที่จอดรถบนถนน ผิดกฎหมายปรับสูงสุด 1 หมื่น ผู้แจ้งได้ส่วนแบ่งด้วย!

การกั๊กที่จอดรถ คือ พฤติกรรมที่มีการนำป้าย หรือการวางสิ่งของต่างๆ กันที่จอดรถให้กับลูกค้า หรือรถของตนเอง โดยสิ่งของยอดฮิตที่นิยมเอามาวางขวางบริเวณที่จอดรถจะมาในรูปแบบต่างๆ เช่น กระถางต้นไม้, ถังน้ำ, แผงกั้นเหล็ก, กรวย และเก้าอี้ เป็นต้น

กั๊กที่จอดรถบนถนน ผิดกฎหมายปรับสูงสุด 1 หมื่น ผู้แจ้งได้ส่วนแบ่งด้วย!
กั๊กที่จอดรถบนถนน ผิดกฎหมายปรับสูงสุด 1 หมื่น ผู้แจ้งได้ส่วนแบ่งด้วย!

ในยุคที่ที่จอดรถหายาก ทำให้หลายคนต้องจับจองที่จอดรถ ด้วยการวางวัตถุสิ่งของบนถนนเพื่อจอง หรือกั๊กที่จอดรถไว้ให้ตนเองหรือผู้อื่น แต่รู้หรือไม่ว่าการกระทำดังกล่าว ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย โดยผู้กระทำผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

ทั้งนี้ ค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบปรับ ให้แบ่งแก่ผู้แจ้งที่ถ่ายภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวไว้เป็นหลักฐานกึ่งหนึ่งและพนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จับกุมกึ่งหนึ่ง (มาตรา 19, 48 วรรค 3 และ 57 แห่งพ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535)

มีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท คนแจ้งได้รับส่วนแบ่งครึ่งนึง

การกั๊กที่จอดรถด้วยการวางป้ายหรือสิ่งของ (ตามมาตรา 19) ซึ่งก็คือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ตามบทกำหนดโทษ มาตรา 57 ของ พ.ร.บ. นี้ นอกจากนี้ผู้แจ้งจะได้รับส่วนแบ่งครึ่งหนึ่งของค่าปรับ ตามมาตรา 48

สามารถแจ้งกับใครได้อีกที่ไม่ใช่ตำรวจ

  • ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร
  • ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขต และผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร
  • ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด
  • ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด และนายอำเภอ สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด
  • นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล
  • ปลัดเทศบาลและรองปลัดเทศบาล สำหรับในเขตเทศบาล
  • ประธานกรรมการสุขาภิบาล สำหรับในเขตสุขาภิบาล
  • ปลัดสุขาภิบาล สำหรับในเขตสุขาภิบาล
  • หัวหน้าผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การปกครองท้องถิ่นอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่น สำหรับในเขตราชการส่วนท้องถิ่นนั้น
  • หรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ
  • ปลัดเมืองพัทยา สำหรับในเขตเมืองพัทยา (เขตปกครองพิเศษ)
  • รองปลัดเมืองพัทยา สำหรับในเขตเมืองพัทยา (เขตปกครองพิเศษ)

ที่มา : กลุ่มประชาสัมพันธ์กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม | kapook.com

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่