มติ ครม. ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
มติ ครม. ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564

มติ ครม. ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564

มติ ครม. ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
มติ ครม. ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564

มติ ครม. ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้ผ่านอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 3 เดือน จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ส่วนการยื่นภาษีแบบกระดาษ ยังคงยึดกำหนดการเดิมคือ 31 มีนาคม 2564

นอกจากนี้ กำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ นำส่ง และชำระภาษี ให้แก่ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ผ่านอินเทอร์เน็ต ในเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน 2564 เป็นภายในวันสุดท้ายของเดือนนั้น ๆ

1 การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  • วัตถุประสงค์ เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
  • กลุ่มเป้าหมาย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • ระยะเวลาดำเนินงาน ขยายระยะเวลา 3 เดือน (ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564)
  • วิธีดำเนินงาน ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับแบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ของปีภาษี 2563 ที่ยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากเดิมภายในเดือนมีนาคม 2564 ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564
  • สูญเสียรายได้ ไม่สูญเสียรายได้ภาษี แต่จะส่งผลให้กระแสเงินสดรับจากการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในส่วนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเลื่อนออกไป
  • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นประมาณ 10,600 ล้านบาท

2 การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ นำส่ง และชำระภาษี ให้แก่ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และการนำส่งหรือการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT)

  • วัตถุประสงค์ เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้และผู้ประกอบการ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
  • กลุ่มเป้าหมาย ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งยื่นแบบแสดงรายการหรือนำส่งภาษี ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • ระยะเวลาดำเนินงาน เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนมิถุนายน 2564
  • วิธีดำเนินงาน ขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ นำส่ง และชำระภาษีของเดือนมกราคม 2564 ถึงเดือนพฤษภาคม 2564 ที่ต้องยื่นและนำส่งหรือชำระในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ถึงเดือนมิถุนายน 2564 แล้วแต่กรณี ออกไปเป็นภายในวันสุดท้ายของเดือนนั้น ๆ เฉพาะการยื่นแบบแสดงรายการ นำส่ง และชำระภาษีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับแบบแสดงรายการดังต่อไปนี้
    – แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร (ภ.ง.ด. 1)
    – แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร (ภ.ง.ด. 2)
    – แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร (ภ.ง.ด. 3)
    – แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส และมาตรา 69 ทวิ และการเสียภาษีตามมาตรา 65 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร (ภ.ง.ด. 53)
    – แบบยื่นรายการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล และการจำหน่ายเงินกำไร ตามมาตรา 70 และตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (ภ.ง.ด. 54)
    – แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ. 30)
    – แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ. 36)
  • สูญเสียรายได้ ไม่สูญเสียรายได้ แต่ส่งผลให้กระแสเงินสดรับจากการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเลื่อนออกไป
  • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ผู้มีเงินได้และผู้ประกอบการมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น แบ่งเป็น (1) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นเวลา 5 เดือน เดือนละประมาณ 21,500 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 107,500 ล้านบาท และ (2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นเวลา 5 เดือน เดือนละประมาณ 29,520 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 147,600 ล้านบาท

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ ศธ 360 องศา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่