คลังยันใช้คนละครึ่งไม่ครบ 150 บาท/วัน ทบได้ไม่ถูกตัดเงิน
คลังยันใช้คนละครึ่งไม่ครบ 150 บาท/วัน ทบได้ไม่ถูกตัดเงิน

คลังยันใช้คนละครึ่งไม่ครบ 150 บาท/วัน ทบได้ไม่ถูกตัดเงิน โดยยังสามารถสมทบไปใช้ต่อในวันอื่นได้ แต่ต้องไม่เกินวันละ 150 บาทเท่านั้น หากประชาชนใช้จ่ายเต็มจำนวนที่รัฐช่วยออกให้วันละ 150 บาททุกวัน จะใช้สิทธิได้ทั้งหมด 20 วัน แต่หากใช้ไม่ครบถึง 150 บาท ก็สามารถใช้จ่ายได้นานกว่า 20 วัน

คลังยันใช้คนละครึ่งไม่ครบ 150 บาท/วัน ทบได้ไม่ถูกตัดเงิน
คลังยันใช้คนละครึ่งไม่ครบ 150 บาท/วัน ทบได้ไม่ถูกตัดเงิน

นางสาวสุภัค ไชยวรรณ รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบยอดผู้ลงทะเบียน แต่ไม่ผ่านการตรวจสอบและยอดผู้ได้รับสิทธิที่ถูกตัดสิทธิจากการไม่ใช้จ่ายภายใน 14 วัน เพื่อรวบรวมมาเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนใหม่เร็ว ๆ นี้  ปัจจุบันจำนวนผู้ที่ลงทะเบียนครบ 10 ล้านคนนั้น มีการใช้จ่ายตามสิทธิ์ในโครงการคนละครึ่งแล้ว 2.6 ล้านคน คิดเป็นวงเงินรวมการใช้จ่ายสะสม 1,255.44 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 626.97 ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก 598.47 ล้านบาท ยอดใช้จ่ายเฉลี่ย 229 บาทต่อครั้ง และมีการใช้จ่ายครบทุกจังหวัด โดยจังหวัดที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และเชียงใหม่ ตามลำดับ

ทั้งนี้ สศค.ยืนยันว่า หากประชาชนใช้จ่ายแต่ละวันไม่ถึง 150 บาท ในส่วนของภาครัฐร่วมจ่ายนั้น วงเงินที่เหลือจะไม่ถูกตัดออก โดยยังสามารถสมทบไปใช้ต่อในวันอื่นได้ แต่ต้องไม่เกินวันละ 150 บาทเท่านั้น หากประชาชนใช้จ่ายเต็มจำนวนที่รัฐช่วยออกให้วันละ 150 บาททุกวัน จะใช้สิทธิได้ทั้งหมด 20 วัน แต่หากใช้ไม่ครบถึง 150 บาท ก็สามารถใช้จ่ายได้นานกว่า 20 วัน

ส่วนร้านค้าที่ยื่นความจำนงขอเข้าร่วมโครงการกว่า 400,000 ร้านค้า ประกอบด้วย หาบเร่แผงลอย 50,000 ราย มีหน้าร้าน 170,000 ราย แบ่งเป็น ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 125,539 ราย ร้านธงฟ้าประชารัฐ 42,399 ราย ร้านค้าโอท็อป 10,593 ราย และร้านอื่นๆ 46,421 ราย โดยในจำนวนนี้ลงทะเบียนสำเร็จแล้วกว่า 200,000 ราย และมีการใช้จ่ายจริง 132,000 ราย

สำหรับกรณีร้านค้าไม่อยากเข้าร่วมโครงการ เพราะได้รับเงินโอนในส่วนของภาครัฐสมทบล่าช้านั้น นางสาวสุภัค  กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมบัญชีกลางจะโอนเงินเข้าบัญชีร้านค้าในวันถัดไป แต่หากติดวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรือหยุดยาวจะโอนเงินให้ในวันทำการถัดไป ซึ่งกระทรวงการคลังพยายามปรับปรุงเงื่อนไขการโอนเงินในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรือหยุดยาวให้เร็วขึ้น เพื่อให้ผู้ค้ามีสภาพคล่องไวขึ้น

“การโอนเงินให้ร้านค้า ทุกวันนี้ทำได้เร็วแล้ว คือ ในวันถัดไปที่มีการชำระสินค้ากัน แต่ในวันหยุดจะพยายามดูให้เร็วขึ้นกว่าเดิม แต่ปัญหา คือ ต้องมีการตั้งงบประมาณเบิกจ่ายแบบรายวัน ไม่ได้เงินมาทั้งก้อนแล้วตัดออกจากระบบ จึงอาจทำให้ผู้ค้าต้องได้รับเงินในวันถัดไปหลังจากวันหยุด”นางสาวสุภัค กล่าว

ด้านนายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กระทรวงการคลังกับธนาคารกรุงไทยในฐานะผู้ดูแลระบบของโครงการคนละครึ่งได้มีการประสานงานอย่างใกล้ชิด เพื่อติดตามตรวจสอบพฤติกรรมหรือธุรกรรมที่ผิดปกติ โดยธนาคารกรุงไทยได้นำระบบการป้องกันการทุจริตในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสากลมาสนับสนุนโครงการ เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้

ทั้งนี้ หากพบพฤติกรรมหรือธุรกรรมที่ผิดปกติ หรือมีการใช้จ่ายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขโครงการจะมีการระงับการใช้แอปพลิเคชั่น และระงับการจ่ายเงินทั้งฝั่งร้านค้าและประชาชนทันที หากตรวจสอบพบว่าการใช้จ่ายผิดเงื่อนไขโครงการจริงจะดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

“ยอมรับว่าพบการชำระเงินและโอนเงินแบบผิดปกติจริง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบร่วมกับ สศค. และรอการประมวลผล ซึ่งทุก ๆ การใช้จ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ย่อมมีผู้ทำผิดอยู่แล้ว แต่ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในมาตรฐานการชำระและการจ่ายเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของไทย” นายผยง กล่าว.

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย 28 ตุลาคม 2563

1 ความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่