เตือน โรคชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย จันทบุรี พบแล้ว 19 ราย ยึดหลัก 3 เก็บ
เตือน โรคชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย จันทบุรี พบแล้ว 19 ราย ยึดหลัก 3 เก็บ

เตือน โรคชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย จันทบุรี พบแล้ว 19 ราย ยึดหลัก 3 เก็บโรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แม้กระทั่งในเด็กเล็ก 

โรค “ชิคุนกุนยา” กำลังระบาดในบางพื้นที่ของจังหวัดจันทบุรี การติดต่อของโรค ชิคุนกุนยา เกิดขึ้นเมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสนั้นจะไปเพิ่มจำนวนมากขึ้นในตัวยุง และเมื่อยุงนั้นไปกัดคนอื่นต่อ ก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค ชิคุนกุนยา ได้

ทั้งนี้ โรคชิคุนกุนยา มีระยะฟักตัว 1-12 วัน แต่ช่วง 2-3 วันจะพบบ่อยที่สุด ส่วนในช่วงวันที่ 2-4 วัน จะเป็นช่วงที่มีไข้สูง มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก และสามารถติดต่อกันได้หากมียุงลายมากัดผู้ป่วยในช่วงนี้ และนำเชื้อไปแพร่ยังผู้อื่นต่อ

ดังนั้น ป้องกันยุงและกำจัดแหล่งที่อาจเป็นที่เพาะพันธุ์ยุง เป็นวิธีที่ดีที่สุด #เพราะป้องกันดีกว่ารักษา

เตือน โรคชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย จันทบุรี พบแล้ว 19 ราย ยึดหลัก 3 เก็บ
ขอบคุณที่มา : เฟชบุ้ค โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี

อาการของโรค

เชื้อไวรัสชิคุนกุนยามีระยะฟักตัว 3-7 วัน หลังจากถูกยุงลายกัด และเมื่อครบระยะฟักตัว จะมีอาการดังนี้

  • ไข้สูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน
  • ผื่นแดงตามร่างกาย
  • ตาแดง
  • ปวดกล้ามเนื้อและปวดตามข้อ

การรักษา

ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคชิคุนกุนยาโดยเฉพาะ รวมถึงยังไม่มีวัคซีนป้องกัน การรักษาจึงเป็นไปตามอาการ เพื่อลดอาการของผู้ป่วย เช่น การให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด  แต่ห้ามผู้ป่วยซื้อยาทานเอง

การป้องกัน

  • เก็บบ้านให้สะอาด ป้องกันจุดอับเป็นที่พักยุงลาย
  • เก็บภาชนะ ป้องกันแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 
  • เก็บน้ำปิดให้มิดชิด ป้องกันยุงลายวางไข่ 

ปฏิบัติดังนี้ สามารถป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายได้ อิทิ โรคชิคุนกุนยา โรคไข้เลือดออก และโรคอื่นๆ ที่มียุงลายเป็นพาหะ

ขอบคุณที่มา/ภาพ : เฟชบุ้ค โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่