เริ่มแล้ววันแรก 23 ต.ค. 'ช้อปดีมีคืน' ใครมีสิทธิได้ "ลดหย่อนภาษี" ตามมาตรการนี้บ้าง?
เริ่มแล้ววันแรก 23 ต.ค. 'ช้อปดีมีคืน' ใครมีสิทธิได้ "ลดหย่อนภาษี" ตามมาตรการนี้บ้าง?

เริ่มแล้ววันแรก 23 ต.ค. ‘ช้อปดีมีคืน’ ใครมีสิทธิได้ “ลดหย่อนภาษี” ตามมาตรการนี้บ้าง? เริ่มแล้ว! “ช้อปดีมีคืน” วันนี้วันแรก! กับการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ก่อนออกจากบ้านไปเที่ยวช้อปชิมชิล “วันหยุดยาว” 23-24-25 ตุลาคมนี้ มาเช็คอีกทีว่าใครมีสิทธิได้ “ลดหย่อนภาษี” ตามมาตรการนี้บ้าง

1 คน 1 สิทธิ์ เลือกได้โครงการเดียว! ระหว่าง #คนละครึ่ง vs #ช้อปดีมีคืน
1 คน 1 สิทธิ์ เลือกได้โครงการเดียว! ระหว่าง #คนละครึ่ง vs #ช้อปดีมีคืน
ที่มา : Facebook Krungthai Care

ชวนคนไทยไป ช้อปปิ้ง กระตุ้นเศรษฐกิจไทยช่วงปลายปี 2563 กันในช่วง “วันหยุดยาว” สุดสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะวันนี้ (23 ต.ค.) เป็นวันแรกที่เริ่มต้นใช้มาตรการ “ช้อปดีมีคืน” ของรัฐบาล ที่ช่วยให้ขาช้อปสามารถนำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าตามกำหนดไป “ลดหย่อนภาษี” ได้ในปีหน้า 

มาตรการช้อปดีมีคืน อีกหนึ่งมาตรการที่ออกมาเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ และช่วยเหลือผู้ประกอบการ ร้านค้าที่จดทะเบียนในระบบ VAT โดยเป็นการซื้อสินค้าที่เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปี 2563 ที่จะต้องยื่นในเดือนมีนาคม 2564 โดยมาตรการนี้จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2563

แต่จะต้องซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษี VAT เท่านั้น และสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษี ได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน

เริ่มแล้ววันแรก 23 ต.ค. 'ช้อปดีมีคืน' ใครมีสิทธิได้ "ลดหย่อนภาษี" ตามมาตรการนี้บ้าง?
เริ่มแล้ววันแรก 23 ต.ค. ‘ช้อปดีมีคืน’ ใครมีสิทธิได้ “ลดหย่อนภาษี” ตามมาตรการนี้บ้าง?
ที่มา : https://news.thaipbs.or.th/content/297156
  • “ช้อปดีมีคืน” ต้องซื้ออะไร ถึงจะได้ลดหย่อน?

มาตรการนี้มีกำหนดไว้อย่างชัดเจนถึงประเภทของสินค้าและบริการที่เข้าร่วม กับสินค้าที่ไม่เข้าร่วมมาตรการลดหย่อนภาษี ไว้ดังนี้

1) สินค้าและบริการที่ “เข้าร่วม” มาตรการ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษี ได้แก่ 

  • สินค้าและบริการทั่วไป
  • สินค้า OTOP
  • หนังสือ ทั้งแบบเล่ม และอิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)

2) สินค้าและบริการที่ “ไม่เข้าร่วม” มาตรการ ได้แก่ 

  • เหล้า เบียร์ ไวน์
  • บุหรี่หรือยาสูบ
  • ค่าน้ำมันและก๊าซที่ใช้เติมยานพาหนะ
  • ค่าซื้อรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ เรือ
  • ซื้อหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ทั้งรูปเล่มและอิเล็กทรอนิกส์
  • ค่าบริการจัดนำเที่ยว
  • ค่าที่พัก โรงแรม

โดยมาตรการนี้ไม่ต้องลงทะเบียน แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่เป็นผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน และต้องเป็นผู้ที่ได้สิทธิมาตรการคนละครึ่ง 

ส่วนวิธีการเช็คว่าจะได้ลดหย่อนภาษีเท่าไหร่ จากการจับจ่ายซื้อของในกลุ่มสินค้าที่เข้าร่วมมาตรการดังกล่าว ผู้จับจ่ายต้องทำความเข้าใจในเงื่อนไขของการลดหย่อนภาษีในเบื้องต้นก่อน ดังนี้

  • ผู้เสียภาษีแต่ละคนจะได้รับสิทธิ “ลดหย่อนภาษี” ไม่เท่ากัน

การขอลดหย่อนภาษีจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคุณนำบิลค่าใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามจำนวนจ่ายจริงรวมกันไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน ซึ่งผู้เสียภาษีแต่ละคนจะได้รับสิทธิ์ ลดหย่อนภาษี มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ซื้อ และคิดอัตราภาษีคืนตามระดับ เงินสุทธิ ในแต่ละปี 

  • เงินได้สุทธิต่อปีแค่นี้ ได้ “ลดหย่อนภาษี” แค่ไหน?

มาลองคำนวณสิทธิในการได้รับเงินคืนภาษีสูงสุดตามระดับรายได้ (เงินได้สุทธิต่อปี) ดังนี้

– เงินได้สุทธิต่อปี 0-150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี ไม่ได้สิทธิ์คืนภาษี จากโครงการช้อปดีมีคืน แม้จะช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาทก็ตาม

– เงินได้สุทธิต่อปี 150,001-300,000 บาท หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์คืนภาษีสูงสุด 1,500 บาท 

– เงินได้สุทธิต่อปี 300,001-500,000 บาท หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 3,000 บาท

– เงินได้สุทธิต่อปี 500,001-750,000 บาท หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 4,500 บาท

– เงินได้สุทธิต่อปี 750,001-1,000,000 บาท หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 6,000 บาท

– เงินได้สุทธิต่อปี 1,000,001-2,000,000 บาท หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 7,500 บาท

– เงินได้สุทธิต่อปี 2,000,001-5,000,000 บาท หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 9,000 บาท

– เงินได้สุทธิต่อปี 5,000,001 บาทขึ้นไป หากช้อปเต็มจำนวน 30,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 10,500 บาท

หมายเหตุ: สิ่งที่ลืมไม่ได้คือ การขอเอกสารเพื่อใช้ในการขอลดหย่อนภาษี หมายความว่าต้องซื้อสินค้าจากร้านที่สามารถออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มรูปแบบจากการซื้อสินค้านั้นๆ เพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นลดหย่อนภาษี

ขอบคุณที่มาและอ่านเพิ่มเติม : เว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 23 ตุลาคม 2563

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่