ไขข้อสงสัย กรณีเกษียณอายุราชการ 63 ปี โดย เลขาฯ ก.พ. ให้เฉพาะข้าราชการที่มีความจำเป็น ขาดแคลน และมีคุณสมบัติครบตามที่กำหนด จึงจะได้สิทธิในการต่ออายุราชการนั้น ล่าสุด ทาง สำนักงาน ก.พ. โดยนางเมธินี เทพมณี เลขาธิการ ก.พ. ได้ออกมาชี้แจงในประเด็นดังกล่าวดังนี้
สาระสําคัญ
สํานักงาน ก.พ. ได้ศึกษาแนวทางการขยายเกษียณจากราชการมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยกําหนดสาระ สําคัญให้การขยายหรือปรับปรุงอายุเกษียณและการขยายอายุราชการทํางานเป็นมาตรการเพื่อรองรับ สังคมสูงอายุ รวมถึงสนับสนุนให้บุคลากรภาครัฐทํางานหรือมีอาชีพหลังเกษียณ และการบริหารกําลังคน ภาครัฐในช่วงวัยต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
แนวทางการขยายอายุเกษียณ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคมกําหนดให้สํานักงาน ก.พ. ศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นที่เกี่ยวข้อง กับการขยายอายุเกษียณราชการจาก 60 ปี เป็น 63 ปี โดยใช้เวลา 6 ปี คือ 2 ปี ขยาย 1 ปี ซึ่งไม่ ครอบคลุมหน่วยงานที่ต้องใช้ศักยภาพทางร่างกาย ทั้งนี้ กําหนดเป้าหมายให้ข้าราชการ พนักงาน รัฐวิสาหกิจ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เกษียณอายุราชการที่ 63 ปี ในปี พ.ศ. 2567
วิธีดําเนินการ
ขณะนี้ สํานักงาน ก.พ. อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อจัดทํารายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การศึกษา เพื่อกําหนดอายุที่ควรเกษียณจากราชการ (Retire from service) และอายุที่ควรเกษียณจากงาน (Retire from job) เพื่อนําไปสู่การจัดทําข้อเสนอต่อไป ทั้งนี้ ปัจจุบันตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กําหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบ 60 ปี บางตําแหน่งสามารถ รับราชการต่อไปได้อีกไม่เกิน 10 ปี อยู่แล้ว ได้แก่ ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป และประเภททั่วไประดับอาวุโสขึ้นไป ในลักษณะงานจํานวน 8 สายงาน โดยให้ อ.ก.พ. กระทรวง เป็นผู้พิจารณาข้าราชการตามเหตุผลความจําเป็น
ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …
ข่าวความคืบหน้าล่าสุด ณ วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2562 Update
ขอบคุณที่มา รายละเอียดจากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)