แนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ.
การนิเทศ ภายในมีความสำคัญมาก เพราะสามารถแก้ปัญหาด้านทรัพยากรหลาย ๆ ประการ โรงเรียนสามารถใช้ทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ จัดการนิเทศได้เป็นระยะ ๆ กระทำได้ทั้งการป้องกัน การแก้ไข และการพัฒนาไม่แพ้การนิเทศภายนอกและถือว่าได้เปรียบมากคือ ไม่ต้องเสียเวลาสร้างสายสัมพันธ์หรือสมานจิต และทุกฝ่ายต่างรู้และเข้าใจในปัญหาอยู่แล้วไม่ต้องเสียเวลาทำความเข้าใจกับปัญหามากนัก ก็ดำเนินการนิเทศกันได้ ช่วยให้บุคลากรในโรงเรียนรู้สึกภูมิใจว่าตนมีความสำคัญ ตนได้มีส่วนร่วมในการบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียน และตนได้ทำงานในบรรยากาศการบริหารโรงเรียนที่เป็นประชาธิปไตย (ที่มา การนิเทศ ภายใน – GotoKnow) ครูอาชีพดอทคอม ขอนำเสนอแนวทาง การนิเทศ ภายใน เพื่อเป็นองค์ความรู้สำหรับคุณครูที่ปฏิบัติหน้าที่ผู้นิเทศ ศึกษาและวางแผนต่อไป โดยอ้างอิงจากแนวทาง การนิเทศ ภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ครับ
การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
กระบวนการนิเทศเป็นกระบวนการหนึ่งที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดังนี้
การพัฒนาคุณภาพการศึกษา จะสำเร็จได้ตามเป้าหมาย จำเป็นต้องมีองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนา คือกระบวนการบริหาร กระบวนการจัดการเรียนรู้ และกระบวนการนิเทศ ที่ต้องร่วมกันสนับสนุนส่งเสริมไปด้วยกันในลักษณะของ “เกลียวเชือก ” กระบวนการนิเทศการศึกษา (supervision) เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุง กระบวนการเรียนการสอนของครู โดยมุ่งให้เกิดการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพส่งผลถึงคุณภาพของผู้เรียนกระบวนการนิเทศการศึกษาช่วยทำให้เกิดการพัฒนาคน พัฒนางาน สร้างการประสานสัมพันธ์ และขวัญกำลังใจ ซึ่งต้องดำเนินงานให้ประสานสัมพันธ์กับกระบวนการอื่นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมาย ทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนถาวร ดังที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน,๒๕๔๙ : ๕๒) กล่าวว่า “การจัดการที่ดีเป็นกุญแจนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร การนิเทศที่ดีนำไปสู่การจัดการที่ดี”
การนิเทศภายในโรงเรียน
การนิเทศ ภายใน โรงเรียน เป็นกิจกรรมสำคัญที่สุดในการสนับสนุนการเรียนการสอนภายในโรงเรียน ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สำคัญของผู้บริหารสถานศึกษาต้องดำเนินการให้เกิดขึ้นภายในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และครูได้ปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนภายในชั้นเรียน รวมทั้งเป็นกระบวนการประกันคุณภาพของโรงเรียนว่า โรงเรียนสามารถบริกรจัดกรภายในโรงเรียน จนถึงเป้าหมายสุดท้าย คือ คุณภาพผู้เรียนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานหลักสูตรและเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมทั้งโรงเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเป็นที่ยอมรับจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งไทลาฮัน (Tilahun, 1998 : 2168 : A ได้ทำกรวิจัยเรื่อง การจัดกิจกรรมกรนิเทศภายในที่พึงประสงค์ของประเทศเอธิโอเปีย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครู ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการ ผลการวิจัย พบว่า การจัดกิจกรรมการนิเทศ ภายในสถานศึกษาเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การฝึกอบรม แนะนำ การฝึกปฏิบัติการสาธิตการสอนโดยศึกษานิเทศก์การประชุมกลุ่มยอยของครู การเยี่ยม ชั้นเรียน การสังเกตการสอน ครู ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการมีความเห็นสอดคล้องกันว่า การจัดกิจกรรมการนิเทศ ภายในสถานศึกษาจัดอยู่ในระดับปานกลาง
บัลลิส (Bullis, 1980 : 35) ได้วิจัยเรื่อง การรับรู้บทบาทการนิเทศของครูใหญ่ในโรงเรียนประถมศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาบทบาทของการนิเทศ วิธีการนิเทศโดยใช้แบบสอบถาม พบว่า ผู้รับผิดชอบมาก คือ ครูใหญ่และผู้ช่วยครูใหญ่ ครูผู้สอนทำหน้าที่ส่วนนี้น้อย ส่วนเทคนิคที่ได้ผลได้แก่ วิธีเยี่ยมชั้นเรียน การประชุมร่วมกับคณะครูเชสเตอร์ (Chester, 1996 : 284 – 288) ได้ศึกษา การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารการศึกษาทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า พฤติกรรมที่ทำให้การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารมีสมรรถะสูง เนื่องมาจากการส่งเสริมให้ครูมีความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้น ได้แก่ การส่งเสริมให้ครูใช้เทคนิคการสอนหลากหลายวิธี อภิปรายปัญหาการปรับปรุงการสอนในที่ประชุม จัดปฐมนิเทศเพื่อช่วยครูใหม่ จัดให้มีการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาการศึกษาเพิ่มเติมแก่ครู เพื่อปรับปรุงเทคนิคการสอน
เชมัว และลี (Seymour and Lee, 1999 : บทคัดย่อ) ศึกษาเกี่ยวกับคู่มือนิเทศการสอนในชั้นเรียนของครูใหญ่พบว่า ครูใหญ่หรือผู้บริหารควรนิเทศการสอน และควรเพิ่มทักษะเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรให้กับครูผู้สอน รวมใช้กลยุทธในการร่วมมือกันในการนิเทศการสอนการนิเทศ ภายในรงเรียน ศึกษานิเทศก็จะเป็นส่วนสำคัญในกรขับเคลื่อนให้ระบบการนิเทศ ภายในโรงเรียนเกิดขึ้นด้วยภารกิจบทบาทหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ และจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะในการสร้างระบบนิเทศภายในโรงเรียน ในเรื่อง ๑) ความหมายของกรนิเทศภายในโรงเรียน ๒) จุดมุ่งหมายของการนิเทศ ภายในโรงเรียน ๓) หลักการของกรนิเทศภายในโรงเรียน ๔) ขอบข่ายของการนิเทศ ภายในโรงเรียน ๕) กระบวนการและขั้นตอนการ นิเทศภายในโรงเรียน ๖) เทคนิค/วิธีการนิทศภายในโรงเรียน ๗) กิจกรรมการนิเทศ ภายในโรงเรียน
ความหมายของการนิเทศภายในโรงเรียน
การนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน เป็นกิจกรรมสำคัญที่สุดในการสนับสนุนการเรียนการสอนภายในโรงเรียนให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการยั่วยุให้ผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้บริหารสถานศึกษาต้องดำเนินการให้เกิดขึ้นภายในโรงเรียนและครูปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนภายในชั้นเรียนและโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
คำว่า “การนิเทศ” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Supervision” ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ หมายถึง ชี้แจงแสดง จำแนก (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๒ : ๔๔๑)
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (๒๕๓๖ : ๑๑๘ ให้ความหมายว่า การนิเทศ ภายในโรงเรียน หมายถึงการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารกับครูในโรงเรียนในการปรับปรุงพัฒนาการทำงานของครูให้มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งผลให้นักเรียนมีคุณภาพตามกรอบที่หลักสูตรกำหนด
สาโรช บัวศรี (๒๕๔- : ๖๘) ได้ให้ความหมายของการนิเทศว่า การนิเทศเป็นการช่วยเหลือดูแล และตรวจตราแนะนำสนับสนุนส่งเสริมและเกื้อกูล เพื่อให้งานฝ่ายวิชาการและธุรการในโรงเรียนหรือแต่ละลักษณะงานเกิดผลดีซึ่งไม่เกี่ยวกับการบังคับบัญชาแต่ประการใด แต่เป็นการแนะนำช่วยเหลืออย่างเปิดเผย
สาย ภานุรัตน์ (๒๕๓0 : ๑๑) ให้ความหมายของการนิเทศว่า เป็นความพยายามอย่างหนึ่งในหลายๆ อย่างที่จะช่วยให้การส่งเสริมให้การศึกษามีคุณภาพด้านการเรียนการสอน
สงัด อุทรานันท์ (๒๕๒๙ : ๗) มองการนิเทศเป็นกระบวนการทางวิชาการในการสร้างสรรค์และในการทำงานร่วมกับครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อปรับปรุงตัวของเขาให้เกิดความมั่นใจจะปฏิบัติได้ถูกต้องก้าวหน้าเกิดประโยชน์สูงสุดและบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาที่พึงประสงค์
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (๒๕๒๙ : ๗) ให้ความหมายการนิเทศการศึกษาหมายถึงความพยายามทุกชนิดของผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่นิเทศการศึกษาให้คำแนะนำเป็นที่ปรึกษาครูและ/หรือผู้อื่นที่ทำงานการศึกษาเพื่อช่วยให้เกิดสิ่งต่อไปนี้
๑. ครูรู้จักวิธีปรับปรุงการสอนและการให้การศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
๒. ช่วยให้เกิดความงอกงามในวิชาชีพทางการศึกษา
๓. ช่วยพัฒนาครู
๔. ช่วยเหลือและปรับปรุงวัตถุประสงค์ของการศึกษา
๕. ช่วยเหลือและปรับปรุงวิธีสอน
๖. ช่วยเหลือและปรับปรุงการประเมินผลการสอน
กราสกี้, มาร์ติน และวาลเดน (Kragewski, Martin and Walden, 1983 : 97 ได้กล่าวถึง ความหมายของการนิเทศ ภายในโรงเรียนว่าเป็นส่วนหนึ่งของการนิเทศการศึกษาที่ทำให้บุคลากร ในโรงเรียนดำเนินการเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของครูให้เหมาะสมขึ้นเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ การเรียนการสอนให้สูงขึ้น
จุดมุ่งหมายของการนิเทศภายในโรงเรียน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดจุดมุ่งหมายของการนิเทศภายในโรงเรียนไว้ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ๒๕๔๗ : ๑๘๐-๑๘๑ ก)
๑. เพื่อให้การศึกษามีศักยภาพในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตรและให้เป็นไปตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕
๒. เพื่อให้สถานศึกษาสามารถบริหารและจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ
๓. เพื่อพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนสังคมทันต่อการเปลี่ยนแปลงทุกด้าน
๔. เพื่อให้บุคลากรในสถานศึกษาได้เพิ่มพูนความรู้ทักษะและประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน ตลอดจนความต้องการในวิชาชีพ
๖. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาปฏิรูประบบบริหาร โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจและร่วมรับผิดชอบ ชื่นชมในผลงาน
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (๒๕๔๑ : ๕๕) ได้กำหนดจุดหมายการนิเทศ ภายในไว้ว่า
๑. เป็นการช่วยให้ครูผู้สอนสามารถปรับปรุงตนเอง และกิจกรรมการเรียนการสอน
๒. สามารถพัฒนาพฤติกรรม บุคลิกภาพการสอนของครูให้ดีขึ้น
๓. สนับสนุนความรู้ความสามารถของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
๔. กำกับ ควบคุม ติดตามผลการปฏิบัติของครูในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
๕. ส่งเสริมความสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกันเป็นคณะ
หลักการของการนิเทศภายในโรงเรียน
หลักการนิเทศการศึกษา เป็นแนวทางหรือกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น เพื่องานนิเทศการศึกษาตามความคิดเห็นความเชื่อและประสบการณ์ของนักการศึกษา ดังนี้
สงัด อุทรานันท์ (๒๕๒๙ : ๘) กล่าวว่าหลักการนิเทศการศึกษา มีดังนี้
๑. การนิเทศการศึกษา เป็นกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ
๒. การนิทศมีเป้าหมายอยู่ที่คุณภาพของนักเรียน แต่การดำเนินงานนั้นจะกระทำโดยผ่าน “ตัวกลาง” คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา
๓. การนิเทศการศึกษา (ในประเทศไทย) เป็นบรรยากาศแห่งความเป็นประชาธิปไตย
ชารี มณีศรี (๒๕๒๑ : ๓๑-๓๙) ให้ความเห็นว่าหลักการเบื้องต้นของการนิเทศการศึกษา มีดังนี้
๑. เป็นการช่วยกระตุ้นการประสานงานและแนะนำ
๒. ตั้งอยู่บนรากฐานของประชาธิปไตย
๓. เป็นกระบวนการส่งเสริมสร้างสรรค์
๔. เกี่ยวกับการปรับปรุงหลักสูตร
๕. เป็นการสร้างมนุษยสัมพันธ์
๖. มุ่งส่งเสริมบำรุงขวัญ
๗. มีจุดมุ่งหมายขจัดช่องว่างระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
วัชรา เล่าเรียนดี (๒๕๕๓ : ๑๑๖-๑๑๗) กล่าวถึงหลักการสำคัญของการนิเทศ ภายในสถานศึกษา ดังนี้
๑. การให้ความร่วมมือร่วมใจสอน
๒. การสร้างความผูกพันต่อภาระหน้าที่ ด้วยความเต็มใจของบุคลากรในโรงเรียนและครู
๓. การประสานสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
๔. การประสานกันทุกฝ่าย
๕. เป็นประชาธิปไตย
๖. การยึดความแตกต่งของมนุษย์และพัฒนาการของมนุษย์แต่ละวัย
๗. การมีเป้าหมายเดียวกัน คือคุณภาพการศึกษาของผู้เรียน
ดังนั้น ผู้นิเทศจึงต้องยึดหลักการนิเทศ ดังต่อไปนี้
๑. ผู้นิเทศต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักการนิเทศอย่างถูกต้อง ตรงประเด็น มีระบบและขั้นตอนที่ชัดเจนในกระบวนการนิเทศ
๒. กระบวนการนิเทศที่เกิดขึ้นต้องเกิดจากความร่วมมือของคณะครูทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในโรงเรียน และการนิเทศ
๓. ต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนของครู และการนิเทศการศึกษาควรมีการบริหารเป็นกระบวนการเชิงระบบ มีการวางแผนการดำเนินงาน มีขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ถือหลักการมีส่วนร่วมในการทำงานมีความเป็นประชาธิปตย มีการดำเนินงานอย่างสร้างสรรค์ มีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน
๔. สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้น สร้างความผูกพันและความมั่นคงต่องานอาชีพ รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพครูให้มีความรู้สึกภาคภูมิใจในวิชาชีพของตนเองพร้อมที่จะรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (๒๕๔๑ : ๕๒ – ๕๓ ได้ให้หลักการนิเทศ ภายในโรงเรียนประถมศึกษาที่น่าจะนำไปสู่ความสำเร็จ ดังนี้
๑. การนิเทศ ภายในโรงเรียน จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องตามขั้นตอนกระบวนการนิเทศ
๒. บุคลากรที่เป็นหลักสำคัญในการดำเนินการพัฒนาระบบการนิเทศ ภายในโรงเรียน คือ ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องดำเนินการโดยเปิดโอกาสให้คณะครูในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ การนิเทศ ภายในโรงเรียนจะต้องสอดคล้องกับความต้องการ ความจำเป็นในการพัฒนาครูในโรงเรียนและสอดคล้องกับระดับพัฒนาการของครูจากแนวคิดของนักการศึกษาและและหน่วยงานทางการศึกษา สรุปได้ว่า หลักการของการนิเทศ ภายในโรงเรียน เป็นการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ ตามความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนาโดยมีเป้าหมายเดียวกัน
กระบวนการและขั้นตอนนิเทศภายในโรงเรียน
สงัด อุทรานันท์ (๒๕๓0 : ๘๔ – ๘๕) กล่าวถึง กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย
๑. การวางแผน (Planning-P)
๒. การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (Informing-I)
๓. การปฏิบัติการนิเทศ (Doing-D)
๔. การสร้างเสริมขวัญกำลังใจ (Reinforcing-R)
๕.การประเมินผลการนิเทศ (Evaluating-E)
๖. การรายงานผลการนิเทศ (Reporting-R)
๑. การวางแผน (planning-P) เป็นขั้นตอนที่ผู้บริหาร ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศจะทำการประชุม ปรึกษาหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหาและความต้องการจำเป็นที่ต้องมีการนิเทศ รวมทั้งวางแผนถึงขั้นตอนการประชุม ปรึกษาหารือเพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหาและความต้องการจำเป็นที่ต้องมีการนิเทศ รวมทั้งวางแผนถึงขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับการนิเทศ
๒. การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (Informing-I) เป็นขั้นตอนของการให้ความรู้ ความเข้าใจถึงสิ่งที่จะดำเนินการว่าต้องอาศัยความรู้ ความสามารถอย่างไรบ้าง จะมีขั้นตอนในการดำเนินการอย่างไร และจะดำเนินการอย่างไรให้ผลงานออกมาอย่างมีคุณภาพ ขั้นตอนนี้จำเป็นทุกครั้งสำหรับเริ่มการนิเทศที่จัดขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม และมีความจำเป็นสำหรับงนนิเทศที่ยังเป็นไปไม่ได้ผล หรือได้ผลไม่ถึงขั้นที่พอใจ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องทบทวนให้วามรู้ในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง
๓. การปฏิบัติการนิเทศ (Doing-D) ประกอบด้วยการปฏิบัติงาน ลักษณะ คือ การปฏิบัติงานขิงผู้รับการนิเทศ (ครู) การปฏิบัติงานของผู้ให้การนิเทศ (ผู้นิเทศ) การปฏิบัติงานของผู้ให้การนิเทศ ผู้นิเทศ) การปฏิบัติงานของผู้สนับสนุนการนิเทศ (ผู้บริหาร)
๔. การสร้างเสริมขวัญกำลังใจ (Reinforcing-R) เป็นขั้นตอนของการเสริมแรงของผู้บริหาร เพื่อให้ผู้รับการนิเทศมีความมั่นใจและบังเกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานขั้นนี้อาจดำเนินไปพร้อม ๆ กับผู้รับการนิเทศที่กำลังปฏิบัติงานหรือการปฏิบัติงานได้เสร็จสิ้นแล้วก็ได้
๕. การประเมินผลการนิเทศ (Evaluating-E) เป็นขั้นตอนที่ผู้นิเทศทำการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านไปแล้วว่าเป็นอย่างไร หลังจากการประเมินผลการนิเทศ หากพบว่ามีปัญหาหรือมีอุปสรรคอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้การดำเนินงานไม่ได้ผล จะต้องมีการปรับปรุง แก้ไข ซึ่งการปรับปรุงแก้ไข อาจทำได้โดยการให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่ปฏิบัติใหม่อีกครั้ง ในกรรีที่ผลงานยังไม่ถึงขั้นน่าพอใจหรือได้ดำเนินการปรับปรุงการดำเนินงานทั้งหมดไปแล้ว ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องการ สมควรที่จะต้องวางแผนร่วมกันวิเคราะห์หาจุดที่ควรพัฒนา หลังใช้นวัตกรรมด้านการเรียนรู้เข้ามานิเทศ
เทคนิค/วิธีการนิเทศภายในโรงเรียน
เทคนิคหรือวิธีการจัดการนิทศภายในโรงเรียน มุ่งน้นการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานการจัดการนิเทศ ภายในโรงเรียนเป็นงนสำคัญที่โรงเรียนต้องดำเนินการ โดยเลือกวิธีการจัดการนิเทศให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และบุคลากรภายในโรงเรียนซึ่ง วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์ (๒๕๓๘ : ๔๓) ได้กล่าวไว้ว่าการนิเทศการศึกษาจะประสบความสำเร็จด้วยดีนั้น ผู้นิเทศจำเป็นจะต้องทราบเทคนิคในการนิเทศการศึกษาเป็นอย่างดีเทคนิคหรือวิธีการจัดการนิเทศ ภายในโรงเรียนซึ่งมีนักการศึกษาได้เสนอไว้ ดังนี้
Glatthorn (1984 อ้างถึงในวัชรา เล่าเรียนดี, ๒๕๔๘ : ๑๐๒-๑๐๙) ได้เสนอเทคนิค/วิธีการนิเทศที่หลากหลายวิธี คือ
๑. การนิเทศแบบคลินิก (Clinical Supervision)
หลักการนิเทศแบบคลินิก เป็นการนิเทศที่เน้นกระบวนการปรับปรุงการสอนของครูอย่างเข้มข้น ที่ต้องวางแผนอย่างเป็นระบบ มีการกระทำอย่างรอบคอบทุกขั้นตอน และทำให้ครบวงจร ในการนิเทศซี่งประกอบด้วย การประชุมก่อนการสังเกตการสังเกตการสอน กรวิเคราะห์ข้อมูลหลังการสังเกตการสอนการประชุมหลังการวิเคราะห์ข้อมูลและการประเมินผลโดยวงจรการนิเทศจะต้องกระทำช้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้งตลอดปีสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่นิเทศ ควรได้รับการฝึกฝนวิธีการและเทคนิคการนิเทศแบบนี้ โดยเฉพาะและควรมีสัมพันธภาพอันดีกับผู้รับการนิเทศการนิทศแบบคลินิกเริ่มจากแนวคิดของ Goldhammer and Gogan (1969, 1973,quoted in Glickman and others 1995 : 287-290)
การนิทศแบบคลินิกเป็นทั้งความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการนิเทศ (Concept และโครงสร้างของการดำเนินการนิเทศ(Structure) Goldhammer, Andersonand Krajewski (1993, quoted in Glickman and others 1995 : 288)ได้เสนอลักษณะสำคัญของการนิเทศแบบคลินิกสรุปได้ดังนี้ คือ
๑. การนิเทศแบบคลินิก เป็นเทคโนโลยีในการปรับปรุงการเรียนการสอนโดยตรง
๒. การนิเทศแบบคลินิก เป็นส่วนสำคัญที่แทรกอยู่ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน
๓. การนิทศแบบคลินิก เป็นกระบวนการที่มีเป้าหมายวัตถุประสงค์ชัดเจน โดยเชื่อมโยงระหว่างความต้องการของโรงเรียนและความต้องการในความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพของครูในโรงเรียน
๔. การนิทศแบบคลินิก เป็นกระบวนการที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานในวิชาชีพระหว่างครูและ
๕. การนิเทศแบบคลินิก เป็นกระบวนการที่จะต้องมีความเชื่อใจเชื่อถือซึ่งกันและกัน โดยสะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจสนับสนุนกันและกันและความผูกพันในการที่จะพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวหน้า
๖. กรนิทศแบบคลินิก เป็นกระบวนการที่ เป็นระบบถึงแม้ว่าการดำเนินการจะต้องยึดหยุ่นมีการปรับเปลี่ยนวิธีการอย่างต่อเนื่อง
๗. การนิเทศแบบคลินิก เป็นกระบวนกรที่สร้งสรรค์เชื่อมโยงช่องว่างระหว่างความจริงกับอุดมการณ์
๘. การนิเทศแบบคลินิก เป็นกระบวนการที่อยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ผู้นิเทศคือผู้ที่มีความรู้อย่างแท้จริงเกี่ยวกับการวิเคราะห์การสอนและการเรียนรู้ รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างเพื่อนมนุษย์
๙. การนิทศแบบคลินิก เป็นกระบวนการที่ต้องมีการให้กรฝึกอบรมสำหรับผู้ที่จะทำหน้าที่นิเทศก่อนที่จะนำการนิเทศแบบคลินิกไปใช้ โดยเฉพาะในเรื่องเทคนิคกรสังเกตการสอนและการดำเนินการนิเทศแบบคลินิกที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
๒. การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ (Cooperative professional Development)
การนิทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ จัดเป็นวิธีนิเทศการสอนแบบหนึ่งของระบบการนิทศแบบหลากหลายวิธีการของ Glatthorn (1984, อ้างใน วัชรา เล่าเรียนดี ๒๕๔๕ : ๑๓๗) การนิทศแบบร่วมมือพัฒนาวิชาชีพเป็นกระบวนการนิเทศที่ครูตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงาน เพื่อปรับปรุงความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพของตนเองโดยปกติจะมีการสังเกตการสอนกันและกันในชั้นเรียนแลกเปลี่ยนกัน ให้ข้อมูลย้อนกลับจากการสังเกตการสอนกันและอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน Glatthorn (1984 : 40-41) ได้กล่าวถึง ลักษณะพิเศษของการนิทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ ดังต่อไปนี้
๑. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับการนิเทศมีความเป็นทางการและเป็นเรื่องของสถานศึกษาระดับหนึ่งนั่นคือมีการดำเนินการในโรงเรียนโดยบุคลากรในโรงเรียนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป มีกระบวนการการทำงาน มีการแลกเปลี่ยนการสังเกตการสอนในชั้นเรียนกันและกัน และมีความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนที่ใกล้ชิดกัน
๒. การจับคู่กันสังเกตการสอนอย่างน้อย ๒ ครั้ง หรือมากกว่า ๒ ครั้ง ตามความจำเป็นและมีการให้ข้อมูลย้อนกลับภายหลังการสังเกตการสอน
๓. เน้นความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ถึงแม้ว่าผู้บริหารหรือผู้นิเทศอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดดำเนินการและติดตามดูแลโครงการเป็นบางครั้ง หรือเข้าสังเกตการสอนในชั้นเรียน จัดประชุมกับอภิปราย โดยเข้าร่วมโครงการโดยตลอดก็ได้
๔. เน้นความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ไม่มีการประเมินมาเกี่ยวข้องการนิเทศในแบบดังกล่าว เพื่อให้การชมเชยผู้ปฏิบัติ ไม่ใช้ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยมาตรฐาน ดังนั้น ข้อมูลจากผลการสังเกตการสอนหรือจากการประชุมจะไม่ควรนำไปใช้ในกระบวนการประเมินผลครูของผู้บริหารลักษณะสำคัญ ๔ ประการ ของการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ เป็นลักษณะที่สำคัญของวิธีการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ แต่อย่างไรก็ตามจากความหมายของคำว่า การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพซึ่งมีความหมายกว้างขึ้นทำให้เกิดความหลากหลายในการปฏิบัติในกรนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ การนิทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๖๘ ได้นำวิธีการนิเทศแบบดังกล่าวไปใช้ แต่ค่อนข้างจะเป็นทางการ สรุปปัญหาที่เกิดขึ้น (Glatthorn, 1984 : 88) คือ ครูที่ร่วมโครงการประสบปัญหาด้านเวลาในการสังเกต การสอนกันและกัน แต่ที่สำคัญข้อดีของการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพเกิดขึ้นกล่าว คือ ครูมีโอกาสแลกเปลี่ยนวิธีสอนซึ่งกันและกัน ครูเกิดแรงจูงใจทางบวกเกี่ยวกับการสอนของตนเอง ครูเกิดความเข้าใจในงานของเพื่อนร่วมงานมากขึ้น และครูเกิดความเข้าในตัวนักเรียนของตนเองมากยิ่งขึ้น
๓. การนิเทศแบบเพื่อนนิเทศเพื่อน (Peer Coaching)
การนิเทศแบบเพื่อนนิเทศเพื่อน เป็นการนิเทศภายในรูปแบบหนึ่งที่เน้นการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของครู และเพื่อส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและบุคลากรอื่น ๆ ในโรงเรียน
วัชรา เล่าเรียนดี (๒๕๔๕ : ๑๕๖-๑๕๘) ได้กล่าวถึงการนิเทศแบบเพื่อนนิเทศเพื่อน ว่าเป็นวิธีการที่ครูและเพื่อนครูหรือครูในสาขาอื่นหรือบุคลากรที่ไม่ใช่บุคคลในสายผู้สอนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ร่วมกันมาปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรือร่วมกันพัฒนาโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจะต้องมีการวางแผนการปฏิบัติร่วมกัน มีการสังเกตการสอน วิเคราะห์การสอน และการให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback รูปแบบต่าง ๆ ของเพื่อนนิเทศเพื่อน (Peer Coaching) ได้จำแนกการนิเทศแบบเพื่อนนิเทศเพื่อน (Peer Coaching เป็น ประเภทซี่งแต่ละประเภทจะมีจุดเน้นหรือจุดมุ่งหมายในการพัฒนาต่างกัน ดังนี้
๑. Technical Coaching เป็นการนิเทศที่ช่วยและส่งสริมการถ่ายโยงความรู้ทักษะและวิธีการสู่การปฏิบัติจริงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (หลังการฝึกอบรมเทคนิควิธีการใหม่ ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ
๒. Collegial Coaching เป็นการนิเทศที่ช่วยให้ครูได้พัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ของตนเองด้วยตัวเอง เป็นการปฏิบัติงานพร้อมกันระหว่างผู้นิเทศกับครูหรือครูกับเพื่อนครูหรือครูกับบุคลากรอื่น ๆ ในโรงเรียน
๓. Challenge Coaching เป็นการนิเทศที่ช่วยเหลือและให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาการสอน ที่เกิดขึ้นเสมอและยังไม่ได้รับการแก้ไขซึ่งเป็นงานที่ท้าทายความสามารถในการแก้ปัญหาของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ข้อดีของการเพื่อนนิเทศเพื่อน (Peer Coaching)
๑. ช่วยให้มีการช่วยเหลือแนะนำซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่องทำให้มีการปรับปรุงพัฒนาการจัด
การเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ
๒. เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ครูได้ปรับปรุงและพัฒนาการสอนของตนเองอย่างต่อเนื่อง
๓. เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดทักษะวิธีสอนซึ่งกันและกัน
๔. ส่งเสริมการทำงานร่วมกันในสายเดียวกันหรือต่างสาขากัน
๕. สร้างเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีในโรงเรียนสร้างบรรยากาศที่ดีในการร่วมมือกันปฏิบัติงาน
๖. ช่วยให้ครูได้ตระหนักถึงความสำคัญและเป้าหมายในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
๗. ช่วยเติมช่องว่างระหว่างครูด้วยกันช่วยสลายกฎแห่งความโดดเดี่ยวของครูแต่ละคน ช่วยทำให้ครูรู้สึกว่า
ตนเองมีเพื่อนหัวอกเดียวกันประสบปัญหาคล้ายกัน
ข้อเสนอแนะในการเริ่มต้นโครงการเพื่อนนิเทศเพื่อน (Peer Coaching)
๑. เปิดโอกาสจัดเวลาให้มีการสังเกตการสอนเพื่อนร่วมงานทั้งในโรงเรียนเดียวกัน และโรงเรียนอื่นที่มี
ชื่อเสียงขณะเดียวกันเปิดโอกาสให้รับการสังเกตการสอนจากเพื่อน
๒. จัดประชุมปฏิบัติการเพื่อสำรวจจุดเด่นจุดบกพร่องในการจัดการเรียนการสอนของตนเอง
๓. ให้ความรู้ทบทวนหลักการและวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพหรือวิธีที่จะนำมาใช้ทดลองปฏิบัติ
๔. ให้การฝึกอบรมฝึกปฏิบัติทักษะที่จำเป็นเช่นทักษะการสังเกตการสอน
๔. การนิเทศภายในแบบพัฒนาการ (Supervisory Approach in Developmental Supervision)
ในการนิเทศแบบพัฒนาการนั้น Glickman and others (1995 : 135-171) ได้กำหนดวิธีการนิเทศหรือพฤติกรรมการนิเทศ ๔ แบบ คือ
๑. วิธีให้การนิเทศแบบชี้นำควบคุม (Directive Control Approach) เป็นพฤติกรรมการนิเทศ ภายในที่เน้นการประพฤติปฏิบัติด้วยการพูด การใช้ภาษา ท่าทางต่าง ๆ ในการให้คำแนะนำช่วยเหลือครูในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ซึ่งสามารถที่กระทำได้กับครูเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
๒.วิธีให้การนิเทศแบบชี้นำให้ข้อมูล (Directive Informational Approach) เป็นพฤติกรรมการนิเทศ ภายในแบบชี้นำให้ข้อมูลมีลักษณะเช่นเดียวกันกับกรนิเทศแบบชี้นำควบคุม เพียงแต่ไม่ชี้นำหรือไม่แนะนำวิธีการปฏิบัติให้ครูโดยตรง แตให้ข้อมูลและวิธีการหลายวิธีให้ครูได้เลือกปฏิบัติ ซึ่งผู้นิเทศควรจะต้องพยายามลดพฤติกรรมการนิเทศแบบชี้นำควบคุมให้น้อยลง และพยายามส่งเสริมครูในการตัดสินใจมากขึ้นเรื่อย ๆ จนครูสามารถที่จะร่วมคิดร่วมปฏิบัติงานได้กับบุคคลอื่น โดยไม่ต้องอาศัยผู้นิเทศช่วยแนะนำตลอดเวลา
๓. วิธีให้การนิเทศแบบร่วมมือ (Collaborative Approach) เป็นพฤติกรรมการนิเทศ ภายในที่เน้นทั้งผู้นิเทศและครูจะร่วมกันตัดสินใจในวิธีการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงานตลอดเวลา ทั้งครูและผู้นิเทศจะให้ข้อเสนอแนะแก่กันและกัน เพื่อร่วมกันพิจารณาหาข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ
๔. วิธีให้การนิเทศแบบไม่ชี้นำ (Non – directive Approach) เป็นพฤติกรรมกรนิเทศภายในที่ผู้นิเทศจะใช้พฤติกรรมในการพูดคุยทำงานร่วมกับครู โดยที่ครูจะเป็นผู้ที่ตัดสินใจด้วยตัวเอง ผู้นิเทศเป็นเพียงผู้ช่วยในการสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ ที่ครูร้องขอเท่านั้น
จากแนวคิดของนักการศึกษาและและหน่วยงานทางการศึกษา สรุปได้ว่า เทคนิคและวิธีการนิเทศ ภายในโรงเรียน เป็นการกำหนดแนวทางการพัฒนางานร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน.
กิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ในการนิเทศการศึกษา เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการปฏิบัติงานของครูซึ่งจะช่วยให้การดำเนินการนิเทศบรรลุเป้าหมาย กิจกรรมการนิเทศมีหลากหลาย ซึ่งผู้นิเทศสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของการนิเทศแต่ละครั้ง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ครูและนักเรียน ดังนั้นผู้นิเทศจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมการนิทศ โดยจะขอนำเสนอกิจกรรมกรนิเทศที่สำคัญและใช้มาก ๒๓ กิจกรรม ดังนี้
๑. การบรรยาย (Lecturing) เป็นกิจกรรมที่เน้นการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจของผู้นิเทศไปสู่รับการนิเทศ ใช้เพียงการพูดและการฟังเท่านั้น
๒. การบรรยายโดยใช้สื่อประกอบ (Visualized Lecturing) เป็นการบรรยายที่ใช้สื่อเข้ามาช่วย เช่น สไลด์ แผนภูมิ แผนภาพ มัลติมีเดีย อินโฟกราฟฟิก เป็นตัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ฟังมีความสนใจมากยิ่งขึ้น
๓. การบรรยายเป็นกลุ่ม (Panel presenting) เป็นกิจกรรมการให้ข้อมูลเป็นกลุ่มที่มีจุดเน้นที่การให้ข้อมูลตามแนวความคิดหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
๔. การให้ดูภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ (Viewing flm and television) เป็นการใช้เครื่องมือที่สื่อทางสายตาได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิดีโอเทป เพื่อทำให้ผู้รับการนิเทศได้รับความรู้และเกิดความสนใจมากขึ้น
๕. การฟังคำบรรยายจากสื่อผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ การถ่ายทอดสด (Live) การประชุมทางไกล (Conference) ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นการใช้วิธีการบันทึกในรูปแบบดิจิทัลเพื่อนำเสนอแนวความคิดของบุคคลหนึ่งไปสู่ผู้ฟังคนอื่น
๖. การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับวัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ (Exhibiting materials and equipment) เป็นกิจกรรมที่ช่วยในการฝึกอบรมหรือเป็นกิจกรรมสำหรับงานพัฒนาสื่อต่าง ๆ
๗. การสังเกตในชั้นเรียน (Observing in classroom) เป็นกิจกรรมที่ทำการสังเกตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จริงของบุคลากร เพื่อวิเคราะห์สภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ซึ่งจะช่วยให้ทราบจุดหรือจุดบกพร่องของบุคลากร เพื่อใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานและใช้ในการพัฒนาบุคลากร
๘. การสาธิต (Demonstrating เป็นกิจกรรมการให้ความรู้ที่มุ่งให้ผู้อื่นเห็นกระบวนการและวิธีการดำเนินการ
๙. การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured interviewing) เป็นกิจกรรมสัมภาษณ์ที่กำหนดจุดประสงค์ชัดเจนเพื่อให้ได้ข้อมูลต่าง ๆ ตามต้องการ
๑๐. การสัมภาษณ์เฉพาะเรื่อง (Focused inteviewing) เป็นกิจกรรมการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างโดยจะทำกรสัมภาษณ์ฉพาะรงเรียนที่ผู้ตอบมีความสามารถจะตอบได้เท่านั้น
๑๑. การสัมภาษณ์แบบไม่ชี้นำ (Non-directive interview) เป็นการพูดคุยและอภิปราย หรือการแสดงแนวความคิดของบุคคลที่สนทนาด้วย ลักษณะการของการสัมภาษณ์จะสนใจกับปัญหาและความสนใจของผู้รับการสัมภาษณ์
๑๒. การอภิปราย (Discussing) เป็นกิจกรรมที่ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งเหมาะสมกับกลุ่มขนาดเล็ก มักใช้ร่วมกับกิจกรรมอื่น ๆ
๑๓. การอ่าน (Reading) เป็นกิจกรรมที่ใช้มากกิจกรรมหนึ่ง สามารถใช้ได้กับคนจำนวนมาก เช่น การอ่านข้อความจากวารสาร มักใช้ร่วมกับกิจกรรมอื่น
๑๔. การวิเคราะห์ข้อมูลและการคิดคำนวณ (Analyzing and calculating) เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการติดตามประเมินผล การวิจัยเชิงปฏิบัติการและการควบคุมประสิทธิภาพการสอน
๑๕. การระดมสมอง (Brainstorming) เป็นกิจกรรรมที่เกี่ยวข้องกับการเสนอแนว ความคิดวิธีการแก้ปัญหาหรือใช้ข้อแนะนำต่าง ๆ โดยให้สมาชิกแต่ละคนแสดงความคิดโดยเสรี ไม่มีการวิเคราะห์หรือวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใด
๑๖. การบันทึกวิดี้โอและการถ่ายภาพ (Videotaping and photographing) วิดีโอเทปเป็นเครื่องมือที่แสดงให้เห็นรายละเอียดทั้งภาพและเสียง ส่วนการถ่ายภาพมีประโยชน์มากในการจัดนิทรรศการ กิจกรรมนี้มีประโยชน์ในการประเมินผลงานและการประชาสัมพันธ์
๑๗. การจัดทําเครื่องมือและแบบทดสอบ (Instrumenting and testing) กิจกรรมนี้เกี่ยวข้องกับการใช้แบบทดสอบและแบบประเมินต่าง ๆ
๑๘. การประชุมกลุ่มย่อย (Buzz session) เป็นกิจกรรมการประชุมกลุ่มเพื่ออภิปรายในหัวข้อเรื่องที่เฉพาะเจาะจง มุ่งเน้นการปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่มมากที่สุด
๑๙. การจัดทัศนศึกษา (Field trip) กิจกรรมนี้เป็นการเดินทางไปสถานที่แห่งอื่น เพื่อศึกษาดูงานที่สัมพันธ์กับงานที่ตนปฏิบัติ
๒๐. การเยี่ยมเยียน (Inter visiting เป็นกิจกรรมที่บุคคลหนึ่งไปเยี่ยมและสังเกตการทำงานของอีกบุคคลหนึ่ง
๒๑. การแสดงบทบาทสมมติ (Roleplaying) เป็นกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นความรู้สึกนึกคิดของบุคคลกำหนดสถานการณ์ขึ้นแล้วให้ผู้ทำกิจกรรมตอบสนองหรือปฏิบัติตนเองไปตามธรรมชาติที่ควรจะเป็น
๒๒. การเขียน (Witing เป็นกิจกรรมที่ใช้เป็นสื่อกลางในการนิเทศเกือบทุกชนิด เช่น การเขียนโครงการนิเทศ การบันทึกข้อมูล การเขียนรายงาน การเขียนบันทึก ฯลฯ
๒๓. การปฏิบัติตามคำแนะนำ (Guided practice) เป็นกิจกรรมที่เน้นการปฏิบัติในขณะที่ปฏิบัติ มีการคอยดูแลช่วยเหลือ มักใช้กับรายบุคคล
การดำเนินการนิเทศภายในระดับโรงเรียน
การดำเนินการนิเทศภายในโดยให้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับโรงเรียนมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้
จากแผนภาพการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีรายละเอียดการดำเนินงาน
๑. ประเด็นการนิเทศ
๑.๑ การพัฒนาและใช้หลักสูตรสถานศึกษา
๑.๒ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
๑.๓ การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อเทคโนโลยีทางไกล (DLTV/DLIT)
๑.๔ การอ่านออกเขียนได้
๑.๕ การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
๑.๖ การประกันคุณภาพการศึกษา
๒. กระบวนการนิเทศ
๒.๑ การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ
๒.๑.๑ การจัดทำข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานรอบด้านทั้งของผู้บริหาร ครูและนักเรียน เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาวางแผนการดำเนินงานตามประเด็นการนิเทศ ได้แก่
๑) การพัฒนาและการใช้หลักสูตรสถานศึกษา
๒) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
๓) การจัดการเรียนรู้โดยสื่อเทคโนโลยีทางไกล (DLTV/DLIT)
๔) การอ่านออกเขียนได้
๕) การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
๖) การประกันคุณภาพการศึกษา
๒.๑.๒ ประชุมแลกเปลี่ยนระดมความคิดของผู้บริหารและบุคลากรในโรงเรียน เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาตามบริบทของโรงเรียน
๒.๑.๓ จัดลำดับความสำคัญของปัญหาหรือความต้องการเร่งด่วนหรือที่เห็นว่าสำคัญที่สุดก่อน
๒.๑.๔ นำผลการวิเคราะห์จากประเด็นการนิเทศมากำหนดค่าเป้าหมายการพัฒนาที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานและประเด็นพิจารณาของมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
๒.๑.๕ การสร้างกรรับรู้ระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้มีเป้าหมายในการดำเนินงานร่วมกันด้วยการใช้สื่อและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การประชุม สัมมนา การประชาสัมพันธ์ โดยการจัดทำเอกสาร หรือเผยแพร่ในเว็บไซต์ของโรงเรียน
ตัวอย่างเครื่องมือนิเทศภายในโรงเรียน
แบบประเมินการนิเทศภายในสถานศึกษา
แบบบันทึกการนิเทศภายในโรงเรียน
แบบบันทึกการสังเกตการจัดเรียนการสอนในชั้นเรียน
ที่มา : หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ.
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ดาวน์โหลด แบบบันทึก แบบรายงานการนิเทศแผนการจัดการเรียนรู้ Doc ไฟล์เวิร์ด แก้ไขได้
- แนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ.
- แนวทางการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน