ดาวน์โหลด ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงิน (Financial Literacy) จำนวน ๑๑ กิจกรรม โดยสถาบันสังคมศึกษา สพฐ.
หนังสือชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงิน (Financial Literacy) ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ความฉลาดรู้ การเงิน (Financial Literacy) หมายถึง ความรู้ทักษะ และเจตคติที่ทำให้บุคคลสามารถตัดสินใจด้านทรัพยากรการเงินได้อย่างรอบรู้จากข้อมูลรอบด้าน มีประสิทธิผล เกิดความมั่นคงและความอยู่ดีมีสุขของบุคคลและสังคม (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2562)
ด้วยกระทรวงศึกษามีภารกิจตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะการเงิน พ.ศ.2565-2570 ในเรื่องด้ายการยกระดับความรู้และพัฒนาครูผู้สอน จึงได้ประสานกับสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขออนุญาตใช้งานวิจัยเกี่ยวกับการส่งเสริมความฉลาดรู้ การเงิน (Financial Literacy) ของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้วิจัย นางสาวกมลชนก สกนธวัฒน์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาริณี ตรีวรัญญู มาจัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่และใช้เป็นสื่อสำหรับพัฒนาครูต่อไป
คุณครูสามารถนำไปใช้สอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ไปพร้อมกับการส่งเสริมความฉลาดรู้ การเงินให้แก่ผู้เรียนได้ เอกสารให้ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง และกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน ๑๑ กิจกรรม แต่ละกิจกรรมให้ข้อมูลแนวคิดหลัก จุดประสงค์การเรียนรู้ การเชื่อมโยงองค์ประกอบความรู้ทางเศรษฐศาสตร์และความฉลาดรู้ การเงิน สาระการเรียนรู้ ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม การประเมิน สื่อและอุปกรณ์ประกอบกิจกรรม กิจกรรมการเรียนรู้ มีดังนี้
กิจกรรมที่ ๑ อยู่ให้รอดเมื่ออายุ ๓๐ ปี
กิจกรรมที่ ๒ วัยรุ่นพันล้าน
กิจกรรมที่ ๓ วัยรุ่น ๔,๕๐๐ บาท
กิจกรรมที่ ๔ ๕๐๐ บาท fun for all
กิจกรรมที่ ๕ Need or Want
กิจกรรมที่ ๖ โปรโมชั่นงาม ๆ ที่ลงตัว
กิจกรรมที่ ๗ Money Expo
กิจกรรมที่ ๘ รู้ว่าเสี่ยงแต่คงต้องขอลอง
กิจกรรมที่ ๙ ซื้อ – ไม่ซื้อ
กิจกรรมที่ ๑๐ เมื่อเงินเดือนของฉันไม่เหมือนเดิม
กิจกรรมที่ ๑๑ บทสรุปของการวางแผนและจัดการเงิน
ลักษณะของชุดกิจกรรม
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบไปด้วย ๑๑ กิจกรรม แต่ละกิจกรรมใช้ระยะเวลา ๑๐๐ นาที (โรงเรียนสามารถจัดเป็น ๒ คาบ คาบละ ๕- นาที จัดต่อเนื่องกิจกรรมละ ๒ คาบ) แต่ละกิจกรรมได้ออกแบบตามขั้นตอนออกแบบฉากทัศน์และจัดเรียงลำดับกิจกรรมตามหลักการของการวางแผนและจัดการการเงินและการเรียงลำดับโดยยึดจากกิจกรรมที่ใช้ความรู้และทักษะทางการเงินในระดับง่ายไปยังระดับที่ยากยิ่งขึ้น ดังนี้
รายการอ้างอิง
กมลชนก สกนธวัฒน์. (๒๕๖๒). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญมหาบัณฑิต). กรุงเทพ ฯ: จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (๒๕๖๒). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ชุดความฉลาดรู้(Literacy). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (น.๔๙-๕๐)