ดาวน์โหลดที่นี่!! แนวทางคัดลายมือตามแบบตัวอักษร ของกระทรวงศึกษาธิการ
ดาวน์โหลดที่นี่!! แนวทางคัดลายมือตามแบบตัวอักษร ของกระทรวงศึกษาธิการ

ดาวน์โหลดที่นี่!! แนวทาง คัดลายมือตามแบบตัวอักษร ของกระทรวงศึกษาธิการ

บทความนี้ ครูอาชีพดอทคอม ขอนำเสนอ แนวทาง คัดลายมือ ตามแบบตัวอักษร ของกระทรวงศึกษาธิการ สำหรับยุคสมัยนี้นั้น การเขียนด้วยมือ หรือลายเส้น เปรียบเสมือนเป็นเสน่ห์เฉพาะตัวของแต่ละคน

สำหรับการฝึกเขียนจึงจำเป็นต้องหาแบบอักษรมาเพื่อใช้เป็นแนวทางนำทางฝึกเขียน เพื่อให้ลายเส้นออกมาสวยงาม บทความนี้มีแบบอักษรจากทางกระทรวงศึกษาธิการ มาให้คุณครูดาวน์โหลดเก็บไว้ใช้เป็นสื่อการสอน หรือแบบสำหรับให้นักเรียนได้ฝึกเขียนครับ

ดาวน์โหลดที่นี่!! แนวทางคัดลายมือตามแบบตัวอักษร ของกระทรวงศึกษาธิการ
ดาวน์โหลดที่นี่!! แนวทาง คัดลายมือ ตามแบบตัวอักษร ของกระทรวงศึกษาธิการ

โดยจุดม่งหมายของการคัดลายมือ

๑. เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมือ ตา ให้คล่องแคล่วในการเขียน
๒. เพื่อเขียนตัวอักษรไทยถูกต้องตามหลักเกณฑ์ อยางประณีต สะอาดเป็ นระเบียบ ชัดเจน
รวดเร็ว และอ่านเข้าใจง่าย
๓. เพื่อให้เกิดความชํานาญจากการคัดไปสู่การเขียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
๕. เพื่อให้เกิดสมาธิการทํางาน มีวินัยในตนเอง รับผิดชอบในการปฏิบัติงานให้สําเร็จ

ลักษณะการนั่งที่ถูกวิธี

ก่อนฝึกคัดลายมือต้องฝึกให้นักเรียนนั่งอย่างถูกวิธีค่อนฝึกคัดลายมือ ดังนี้

๑. นักเรียนต้องหันหน้าเข้าหาโต๊ะ การนั่งเอียงอาจทําให้หลังคด

๒. แขนทั้ง ๒ ข้างวางอยู่บนโต๊ะ ประมาณ ๓ ใน ๔ ของความยาวระหว่างศอกกับข้อมือพาดไว้กับ ขอบโต๊ะ หากไม่ทําเช่นนี้ อาจทําให้กระดูกสันหลังคด

๓. กระดาษต้องวางไว้หน้าผู้เขียน การวางกระดาษไม่ตรง ทําให้ผู้เขียนต้องเอียงคอ สายตาทํางาน มาก อาจทําให้กระดูกสันหลังคด

๔. ส่วนล่างของกระดาษทํามุมกับขอบโต๊ะ ๓๐ องศา

๕. แขนของมือที่เขียนต้องทํามุมที่เหมาะสมกับตัวอักษร ข้อศอกต้องไม่กางออกหรือแนบตัวมาก เกินไป

๖. การวางมือ ฝ่ามือคว่ําลง มืองอ ทํามุม ๔๕ องศากับข้อมือ นิ้วกลาง รองรับดินสอหรือปากกา นิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือจะประคองดินสอ หรือปากการ่วมกับนิ้วกกลาง มือจะพักอยู่บนนิ้วนางและนิ้วก้อย

๗. จับดินสอหรือปากกาพอเหมาะ ไม่แน่นเกินไป นิ้วที่จับโค้งเล็กน้อย

. ในขณะที่คัดลายมือ แขน มือ และนิ้วจะต้องเคลื่อนไหวให้สัมพันธ์กัน

๙. การเคลื่อนไหวของดินสอหรือปากกาในขณะที่คัดแบ่งออกไปเป็นหน่วยๆ แต่ละหน่วยมีระยะ หยุดเป็นระยะ ไม่เคลื่อนไหวติดต่อกันโดยตลอด

ดาวน์โหลดคลิกที่นี่

ดาวน์โหลดฟอนต์คัดลายมือ คลิกที่นี่

ลักษณะของแบบอักษรชุดนี้ เรียกได้ว่า เป็น “แบบเลีอก” ตามหนังสือ “โครงสร้างมาตรฐานตัวอักษรไทย” ของราชบัณฑิต นอกจากจะพิมพ์อักษรไทย-อังกฤษ ได้แล้ว ยังสามารถพิมพ์ตัวพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่ได้อีกด้วย

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ Learn Education

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่