ดาวน์โหลด คู่มือการดำเนินงานขับเคลื่อนการเตรียมความพร้อมรับการประเมินระดับนานาชาติ แผนการดำเนินงานระยะสั้น ระหว่าง พ.ค.-ส.ค.2565 โดย สพฐ.
คู่มือการดำเนินงานขับเคลื่อนการเตรียมความพร้อมรับการประเมินระดับนานาชาติ แผนการดำเนินงานระยะสั้น ระหว่าง พ.ค.-ส.ค.2565 สามารถดาวน์โหลดได้ดัง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าร่วมโปรแกรมประเมินสมรรถะนักเรียนมาตรฐานสากล (Programme for Interational Student Assessment หรือ PI5A) มาตั้งแต่ PISA 2000 จนถึงปัจจุบัน PISA 2022 ริเริ่มโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพของระบบการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ในการเตรียมความพร้อมให้ยาวชนมีศักยภาพหรือความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงโดย PSA เน้นการประเมินสมรรถะของนักเรียนเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในชีวิตจริงมากกว่าการเรียนรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันนี้มีประเทศจากทั่วโลกเข้าร่วม PISA มากกว่า 80 ประเทศ
สำหรับ PISA 2022 ที่จะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกำหนดแผนการดำเนินงานชับเคลื่อนการเตรียมความพร้อมรับการประเมินระดับนานาชาติเพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวิจัยของโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล และตระหนักถึงความสำคัญของการเข้าร่วมโปรแกรมการประเมินระดับนานาชาติศูนย์ PISA
สพฐ. เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดสำนักทดสอบทางการศึกษา มีบทบาทในการสื่อสารสร้างความเข้าใจและดำเนินการเตรียมความพร้อมรับการประเมินระดับนานาชาติให้กับหน่วยงานในสังกัดทุกระดับและเพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจถึงแนวทางกรดำเนินงานการขับเคลื่อนการเตรียมความพร้อมรับการประเมิน โปรแกรมการประเมินสมรรถะนักเรียนมาตรฐานสากล 2022 หรือ PISA 2022 ให้กับหน่วยงานส่วนภูมิภาคระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล ตระหนักถึงความสำคัญ และเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนและสถานศึกษาในสังกัดได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
จึงได้จัดทำ “คู่มือการดำเนินงานการขับเคลื่อนการเตรียมความพร้อมรับการประเมินระดับนานาชาติ เพื่อส่งเสริมการยกระดับความเป็นลิศด้านสมรรถะความฉลาดรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาแผนการดำเนินงานระยะสั้น ระหว่างเดือน พ.ค. – ส.ค. 2565” ขึ้น เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกแห่ง สามารถดำเนินงานเตรียมความพร้อมรับการประเมินโปรแกรมประเมินสมรรถะนักเรียนมาตรฐานสากล 2022 หรือ PISA 2022ได้สอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป
วัตถุประสงค์
คู่มือการดำเนินงานการขับเคลื่อนการเตรียมความพร้อมรับการประเมินระดับนานาชาติ (แผนการดำเนินงานระยะสั้น ระหว่าง พฤษภาคม – กันยายน 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้หน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับมีแนวทางการดำเนินงานเพื่อนำไปวางแผนเตรียมความพร้อมรับการประเมินระดับนานาชาติให้กับนักเรียนในสังกัดสู่การยกระดับผลการประเมิน PISA 2022
ระยะเวลา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกแห่งและสถานศึกษาที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาดำเนินการเตรียมความพร้อมรับการประเมินระดับนานาชาติ ระหว่างเดือนพฤษภาคม – กันยายน 2565 ตามคู่มือการดำเนินงานการขับเคลื่อนการเตรียมความพร้อมรับการประเมินระดับนานาชาติ (แผนการดำเนินงานระยะสั้น ระหว่าง พฤษภาคม – กันยายน 2565)
กรอบการดำเนินงาน 5 กิจกรรมหลัก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาสามารถปรับเปลี่ยนการดำเนินงานตามกรอบการดำเนินการนี้ได้ตามความเหมาะสม ประกอบด้วยกรอบการดำเนินงานภายใต้ 5 กิจกรรมหลัก ดังต่อไปนี้
กิจกรรมที่ 1 การสื่อสารสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล
เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์ของการนำข้อมูถจากโปรแกรมประเมินสมรรถะนักเรียนมาตรฐานสากไปใช้เพื่อการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศและการได้มาซึ่งข้อมูลที่สอดคล้องกับความสามารถที่แท้จริงของนักเรียนที่เข้าร่วมเป็นกลุ่มตัวอย่างเกิดความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำข้อสอบอย่างเต็มความสามารถ
กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาศักยภาพด้านการสร้างเครื่องมือประเมินความฉลาดรู้ตามแนวทางการประเมินโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล
OECD พัฒนาเครื่องมือประเมินความฉลาดรู้มาอย่างต่อเนื่องตลอด 20 ปี ตั้งแต่เริ่มโปรแกรมวิจัย ทำให้เครื่องมือประเมินความฉลาดรู้ของโปรแกรมประเมินสมรรถะนักเรียนมาตรฐานสากลมีลักษณะเฉพาะซึ่งเป็นข้อสอบที่ถูกจัดเป็นกลุ่มตามเรื่องราวหรือประเด็นต่ง ๆ ที่นำสนใจ ที่มีเนื้อหาเชื่อมโยงกับชีวิตจริง โดยข้อคำถามในข้อสอบมุ่งให้นักเรียนประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในวิชาหลักที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ซึ่งมีสมรรถนะในการวิเคราะห์การให้เหตุผล และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถระบุสระหลัก ตีความ ประเมิน นอกจากนี้ ยังมีสมรรถนะการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ครูผู้สอนควรมีความรู้ความเข้าใจเกี๋ยวกับลักษณะข้อคำถามที่มุ่งประเมินระดับสมรรถะที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถพัฒนาสมรรถะความฉลาดรู้ของนักเรียนได้อย่างถูกต้องตามระดับการพัฒนาสมรรถนะ
กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาทักษะการสอบด้วยคอมพิวเตอร์
โปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล รอบการประเมิน พ.ศ. 2559 (PISA 2015) เป็นรอบการประเมินแรกที่ได้ดำเนินการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC) ซึ่งมีอุปกรณ์ที่นักเรียนต้องใช้ในการสอบ คือ มอนิเตอร์ การพิมพ์คำตอบโดยใช้แป้นพิมพ์ และเมาส์ รวมทั้งทักษะทางเทคโนโลยีที่นักเรียนต้องใช้ในการสอบ เช่น คลิก ลาก วาง สัลักษณ์ต่าง ๆ บนหน้าจอ เช่น ลูกศร นาฬิกาจับเวลา เครื่องคิดเลข เป็นต้นทำให้ผู้สอบที่ไม่คุ้นชินกับอุปกรณ์และทักษะดังกล่วข้างต้น ไม่สามารถทำข้อสอบได้อย่างเต็มที่ มีผลต่อเวลาในการทำแบบทดสอบ จึงมีความจำเป็นต้องให้ผู้สอบควรได้รับการฝึกฝนการสอบด้วยคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาสมรรถนะความฉลาดรู้ของผู้เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหา
แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาตามแนวทางการประเมินของ PISA ทั้งความฉลาดรู้ด้านการอ่าน ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ และความฉลาดรู้ด้นวิทยาศาสตร์จัดทำขึ้นเพื่อให้ครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาใช้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพตามกรอบการประเมินของ PISA ที่ไม่เน้นเพื่อการพิจารณาว่านักเรียนรู้ หรือจำเนื้อหาที่เรียนไปแล้วไต้หรือไม่ แต่เป็นแบบฝึแพักษะที่เน้นทักษะแารเชื่อมโยงหวามรู้ที่นักเรียนไต้เรียน ในห้องเรียนกับสถาน!ารณ์ที่กำหนดให้ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งครูผู้สอนควรนำแบบฝึกทักษะนี้ไปใช้ควบคู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
กิจกรรมที่ 5 ติดตาม ประเมินผล และตรวจเยี่ยมการดำเนินงานเตรียมความพร้อมรับการประเมิน
การดำเนินงานตามแผนการขับเคลื่อนการเตรียมความพร้อมรับการประเมินโปแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากลของหน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับ มีความเหมือนและแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละแห่ง ทำให้หน่วยงานต้นสังกัดควรดูแล ร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา และมีส่วนร่วมในการทำให้แผนงานเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยการกำกับ ติดตาม และตรวจเยี่ยมในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
แนวทางการดำเนินงานการเตรียมความพร้อมรับการประเมินระดับนานาชาติ
เพื่อให้การเตรียมความพร้อมรับการประเมิน PISA 2022 ให้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามกรอบการดำเนินงานที่กล่าวไว้ข้างต้น สำนักทดสอบทางการศึกษา โดยศูนย์ PISA สพฐ. จึงมีรูปแบบการเตรียมความพร้อมรับการประเมิน PISA 2022 ที่หน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับสามารถนำไปปรับใช้ ดังนี้
แนวทางการกำหนดปฏิทินการเตรียมความพร้อมรับการประเมิน PISA 2022
เพื่อให้การทำงานของหน่วยงานทางการศึกษาต่าง ๆ เป็นไปในทิศทางเดียวกันและช่วงเวลาที่สอดคล้องกันอันจะส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงกำหนดกรอบปฏิทินการเตรียมความพร้อมรับการประเมินPISA 2022 ให้กับหน่วยงานนำไปวางแผนการทำงาน โดยใช้สัญลักษณ์ดังนี้
Cr. ข้อมูลจากศูนย์ PISA สพฐ. สำนักทดสอบทางการศึกษา