ดาวน์โหลด คู่มือการปฏิบัติการด้านการเงิน การบัญชี ของสถานศึกษา โดยสพป.ศรีษะเกษ เขต 4 ไฟล์ PDF
ครูอาชีพดอทคอม ขอแนะนำไฟล์ดาวน์โหลด คู่มือ การปฏิบัติการด้านการเงิน การบัญชี ของสถานศึกษา โดยสพป.ศรีษะเกษ เขต 4 ไฟล์ PDF สามารถดาวน์โหลดไฟล์ในลิงก์ด้านล่าง ขอขอบคุณไฟล์จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4
คู่มือปฏิบัติงานด้านการเงินการบัญชีของสถานศึกษา จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี ของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ให้เป็นไปในแนวทางและมาตรฐานเดียวกัน โดยมีการทบทวน วิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงานด้านการเงินการบัญชีของสถานศึกษา และพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานให้มีความสมบูรณ์ ทันสมัย เหมาะสมกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเนื้อหาสาระประกอบด้วย การปฏิบัติงานตามระบบการควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544 การควบคุมด้านการเงินการบัญชี การรับเงินของสถานศึกษา โดยสังเขป
คู่มือปฏิบัติงานด้านการเงินการบัญชีของสถานศึกษาเล่มนี้ มีการอ้างอิงกฎหมาย ระเบียบแนวปฏิบัติ และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงนของสถานศึกษา ตลอดจนแสดงกระบวนการในการปฏิบัติงานที่เป็นขั้นเป็นตอน โดยจัดทำแบบฟอร์มทะเบียน และรายงานต่าง ๆ สำหรับให้เจ้าหน้าที่การเงินและเจ้าหน้าที่บัญชี สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล อันจะส่งเสริมให้การปฏิบัติงานมีความเข้มแข็ง มีความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน สอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการที่ดี(Good Governance)
เนื้อหาคู่มือ
- การบริหารงบประมาณของสถานศึกษา
- เงินอุดหนุนโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรม การจัดงานและการประชุมระหว่างประเทศ
- ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
- การควบคุมการเงินของสถานศึกษา ตามระบบการควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544
- แบบฟอร์มการปฏิบัติงานด้านการเงินการบัญชีของสถานศึกษา
- กรณีศึกษา
การบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา
ในยุคปัจจุบันเน้นความเป็นอิสระในการบริหารให้มี ความคล่องตัว โปร่งใส ตรวจสอบได้ ยึดหลักการบริหารมุ่งเน้นผลสัมฤทธ์ิและบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้น ผลงานมีการจัดผลประโยชนจ์ากทรัพย์สินของโรงเรียนรวมทั้งจัดหารายได้จากการบริการมาใช้ในการบริหาร จัดการเพ่ือประโยชน์ทางการศึกษา ส่งผลให้เกิดคุณภาพที่ดีต่อผู้เรียน การบริหารงบประมาณจึงให้ความสาคัญ อย่างย่ิงต่อระบบการจัดการศึกษาทั้งระบบ ดังนั้น การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผลเท่าเทียมกัน จึงส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการติดตามประเมินผลก็เป็นอีกเง่ือนไขหนึ่ง ที่ส่งผลให้การจัดการศึกษา มีคุณภาพได้มาตรฐานตามเป้าหมายของการจัดการศึกษา
การบริหารงบประมาณเป็นสิ่งจาเป็นอย่างย่ิงในการบริหารงานทุกชนิด ทุกหน่วยงานและ ทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐหรือเอกชน องค์กรการกุศลหรือฝ่ายธุรกิจ ทุกหน่วยงานและทุกองค์กรจะต้อง จัดทางบประมาณให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถใช้งบประมาณที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดรวมท้ังคาดการณ์ ล่วงหน้าถึงการเปล่ียนแปลงทางการเงินที่จะเพิ่มหรือลดในอนาคตด้วย เพื่อสามารถวางแผนแก้ปัญหาได้ทัน การณ์และไม่เป็นเหตุให้การดาเนินงานต้องหยุดชะงัก งบประมาณเป็นส่ิงชี้บ่งแนวความคิดในการบริหารงาน ตลอดจนวิธีการดำเนินงานงบประมาณ จึงมีความสัมพันธ์เกยี่ วข้องกับ วัตถุประสงค์ นโยบาย วิธีดาเนินงาน และโครงสร้างของหน่วยงาน การดาเนินการกับงบประมาณในรูปแบบท่ีเหมาะสม มีความจำเป็นในการช่วย ส่งเสริมการดาเนินงานของหน่วยงานองค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
งบประมาณ หมายถึง แผนการเงินของรัฐบาล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขแสดงรายรับว่า มาจากทางใด และรายจ่ายท่ีจะต้องจ่ายตามแผน โครงการที่ได้กาหนดไว้ว่าจะดาเนินการในปีงบประมาณหนึ่งๆ แผนการเงิน ดังกล่าวฝ่ายบริหารเป็นผู้จัดทำขึ้นและฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ก็ตราเป็น กฎหมายใช้บังคับต่อไป เรียกว่า พระราชบัญญัติงบประมาณประจาปี และการจัดทางบประมาณ ประกอบด้วย ขั้นตอนต่างๆ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ การเตรียมงบประมาณ การอนุมัติงบประมาณ และการบริหารงบประมาณ
การบริหารงบประมาณ หมายถึง การวางแผนการใช้ทรัพยากรให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแผนงาน และโครงการที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามความต้องการของหน่วยงานและผู้ที่เก่ียวข้องทุกฝ่าย
ขอบข่ายในการบริหารการเงินโรงเรียน
ควรจะประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
1. การวางแผ่นการเงินของโรงเรียน มีการคาดการล่วงหน้าเกี่ยวกับการใช้จ่ายและ ดำเนินการเกี่ยวกับการเงินของโรงเรียน ซึ่งผู้บริหารจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบกระเทือนที่มีต่อการให้ได้มาหรือการจ่ายไปซึ่งการเงินของโรงเรียน เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ รายได้ของประชาชนใน ท้องถิ่น ฯลฯ เป็นต้น
2. การจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของโรงเรียนโดยส่วนรวม เช่น ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง วัสดุครุภัณฑ์ต่าง ๆ ของโรงเรียนเป็นต้น
3. การควบคุมการดำเนินงานทาง ด้านการเงิน เพื่อให้มีประสิทธิภาพให้เป็นไปตาม มาตรฐานและกฎเกณฑ์เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบไปด้วยระบบบัญชี และวิธีการต่าง ๆ ในการตรวจสอบเงิน และทรัพย์สินของโรงเรียน
4. การจัดการเกี่ยวกับกรรับและจ่ายเงินของโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้อง กับหลักการทางเศรษธูศาสตร์ หลักการทงกรบริหารและรวมทั้งหลักการคลังทั่วไป
ตัวอย่างไฟล์
ขอบคุณไฟล์ : สพป.ศรีษะเกษ เขต 4