ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน
ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่านครับ

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

บทความนี้ ครูอาชีพดอทคอม ขอนำเสนอไฟล์แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน เนื้อหาประกอบไปด้วยการนำแนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์สู่การปฏิบัติ การดำเนินการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ นิยาม ตัวชี้วัด พฤติกรรมบ่งชี้ และเกณฑ์การให้คะแนน ตัวอย่างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แผนการสอน การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ การดำเนินการวัดและประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา แนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ พร้อมกันทั่วประเทศ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ โดยกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยืดเป็นแนวทางในการดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด นอกจากนั้นหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานยังมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดทำแนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งประกอบด้วย แนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แนวทางการดำเนินการพัฒนาผู้เรียนพร้อมตัวย่างการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ แนวทางการดำเนินการวัดและประเมินผล และการรายงานผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา คณาจารย์ ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้เกี่ยวข้องตลอดจนนักวิชาการของสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำเอกสารชุดนี้ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี และหวังว่าจะเป็น
ประโยชน์ในการดำเนินงานพัฒนาและวัดประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ในการจัดพิมพ์ครั้งที่ ” นี้ ได้มีการปรับปรุงแก้ไขกณฑ์การประเมินบางส่วนให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕ ๕ ๑

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

การดำเนินการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนรู้และการประเมินผู้เรียน เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนดทุกระดับการศึกษาเมื่อสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์แล้ว ครูที่รับผิดชอบการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนควรจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ ๑ ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน นิยามตัวชี้วัด พฤติกรรมบ่งชี้ และเกณฑ์การให้คะแนน เพื่อพิจารณาว่าตัวชี้วัดนั้นครอบคลุมและสอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติของวิชา งาน กิจกรรมที่รับผิดชอบหรือไม่ อย่างไร
ขั้นตอนที่ ๒ ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ขั้นตอนที่ ๓ ศึกษาแนวปฏิบัติในการพัฒนาผู้เรียนว่าจะดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ด้วยวิธีใดดังต่อไปนี้ คือ
๑. บูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระ
๒. จัดในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๓. จัดโครงการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๔. ปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยสอดแทรกในกิจวัตรประจำวันของสถานศึกษา
ขั้นตอนที่ ๔ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียนก่อนการพัฒนา

ขั้นตอนที่ ๕ สร้างหรือเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมสอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่เลือกดำเนินการ ตามขั้นตอนที่ ๓
ขั้นตอนที่ ๖ ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางที่กำหนดไว้และประเมินเป็นระยะ ๆ ผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ให้ปรับปรุงพัฒนา แล้วประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
ขั้นตอนที่ ๗ รายงานผลการพัฒนาต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนต่าง ๆ ที่กล่าวแล้ว แสดงได้ดังแผนภาพที่ ๑.๑

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง ๘ ประการ ได้แก่
๑) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
๒) ซื่อสัตย์สุจริต
๓) มีวินัย
๔) ใฝ่เรียนรู้
๕) อยู่อย่างพอเพียง
๖) มุ่งมั่นในการทำงาน
๗) รักความเป็นไทย
๘) มีจิตสาธารณะ

การนำคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง ๘ ประการดังกล่าว ไปพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลนั้น สถานศึกษาต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างชัดเจน โดยพิจารณาจากนิยาม ตัวชี้วัด พฤติกรรมบ่งชี้ และกณฑ์การให้คะแนนของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

แบบรายงานผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน
ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

แบบรายงานผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

แบบบันทึกการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

คุณลักษณะอันพึงประสงค์คืออะไร

ความสำคัญของคุณลักษณะอันพึงประสงค์

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้กล่าวไว้ใน มาตราที่ ๒๓ ๒๔ และ ๒๖ เกี่ยวกับการจัดการศึกษาสรุปได้ว่า ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้และคุณธรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องบูรณาการความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้เกี่ยวกับตนเองทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย ทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข โดยต้องผสมผสานสาระความรู้เหล่านั้นให้ได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชาและให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบ ควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน ตามความเหมาะสมในแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา (สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๔๕: ๑๓-๑๕)

ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงมีนโยบายปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ มุ่งมั่นขยายโอกาสทางการศึกษา ให้เยาวชนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างกว้างขวางและทั่วถึง โดยคำนึงถึงการพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน ครอบคลุมทั้งด้านพฤติกรรม จิตใจ และปัญญา นอกเหนือจากการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมและสร้างความตระหนักให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในคุณค่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี และวิถีประชาธิปไตย

ความหมายของคุณลักษณะอันพึงประสงค์

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง ลักษณะที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน อันเป็นคุณลักษณะที่สังคมต้องการในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึก สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก (กลุ่มส่งเสริมการเรียนการสอนและประเมินผล สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, ๒๕๔๘. ๒) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ได้กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ – ประการ ได้แก่ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ

แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์

คุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นคุณลักษณะภายในของบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องกับสังคม อารมณ์ความรู้สึก ที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมตามที่สังคมต้องการ ประกอบด้วย คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม ซึ่งเกิดจากการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมทั้งการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โครงการกิจกรรมอื่น ๆ ที่สถานศึกษาจัดขึ้น ทั้งนี้สถานศึกษาสามารถเลือกใช้แนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ได้อย่างหลากหลายดังตัวอย่างต่อไปนี้

ทฤษฎีพัฒนาการทางการรู้การคิดของเพียเจต์

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (๒๕๕๑: ๑ ๕-๑๘) ได้สรุปว่า สติปัญญาหรือความสามารถในการรู้คิดเป็นพื้นฐานของการมีคุณธรรมจริยธรรม เนื่องจากผู้มีคุณธรรมจริยธรรมสูงมักเป็นผู้ที่สามารถคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณ และสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับสาเหตุและผลของการกระทำได้ นักวิชาการทางจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางการรู้การคิด คือ Jean Piaget ได้เสนอพัฒนาการทางการรู้การคิดไว้ ๔ ขั้นตอน ได้แก่

๑. ขั้นระยะการเคลื่อนไหวสัมผัส (the sensorimotor stage) เป็นช่วงของเด็กแรกเกิดถึงอายุ ๒ ขวบ จะมีพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับความคงที่ของวัตถุ โดยจะเริ่มรับรู้ว่า
วัตถุที่หายไปจากสายตาของตนยังคงเป็นวัตถุเดิมและไม่ได้หายไปไหน เช่น เมื่อเอากระดาษมาคั่นของเล่นที่เด็กกำลังเล่นอยู่ เด็กจะปัดกระดาษเพื่อหาของเล่น แสดงว่าเด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับการคงอยู่ของวัตถุ ในช่วงนี้จะเกิดกระบวนการ ๒ ประเภท คือ

๑) การดูดซึม (assimiation) เป็นการรับรู้เข้าสู่โครงสร้างเดิมและเข้าสู่ระบบเดิมเป็นการปรับสภาพแวดล้อมให้เข้ากับการรู้คิดของตน และปฏิเสธสิ่งที่ไม่เข้ากับการรู้คิดของตน
๒) การปรับเปลี่ยน (accommodation) เป็นการปรับความคิดหรือปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ เกิดการยอมรับประสบการณ์ใหม่ กระบวนการทั้งสองจะทำให้บุคคลเกิดความสมดุล(equilibration)

๒. ขั้นก่อนปฏิบัติการ (the preoperational stage) เป็นช่วงของเด็กอายุ ๒-๗ ขวบโดยแบ่งเป็น ๒ ส่วน

๑) ส่วนแรกปรากฎในเด็กอายุ ๒-๕ ชวบ เด็กจะมีพัฒนาการทางสวีระมากขึ้นและสามารถสำรวจสภาพแวดล้อมได้มากขึ้น เรียนรู้คำและพฤติกรรมใหม่ ๆ แต่มีความคิดและพฤติกรรม
ที่เด่น คือ ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (egocentric เด็กเชื่อว่าสิ่งที่ตนเห็น ตนเข้าใจนั้น คนอื่น ๆ ก็จะเห็นและเข้าใจอย่างที่ตนเห็นและตนเข้าใจ ในช่วงนี้เด็กจะมีการเลียนแบบผู้ปกครองมาก ไม่ว่าจะเป็นคำพูดท่าทาง กิริยามารยาท และพฤติกรรมในช่วงนี้กระบวนการ assimilation เป็นกระบวนการที่ใช้มาก โดยเมื่อเด็กเล่นเด็กจะเข้าใจสิ่งต่าง 1 ที่อยู่รอบข้างมากขึ้น รวมทั้งกระบวนการ accommodation เช่น การเลียนแบบจะช่วยพัฒนาสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ทางสังคม

๒) ส่วนที่สองปรากฎในเด็กอายุ ๒-๗ ขวบ เป็นขั้นความคิดแบบอัตสัมฤทธิ์ (initiative though! เด็กจะลดการยึดตนเองเป็นศูนย์กลางลง จากการเรียนรู้สิ่งแวดล้อม เด็กอาจยังแยก
ไม่ออกระหว่างความเพ้อฝันหรือนิทานกับความเป็นจริง ช่วงนี้พัฒนาการทางความคิดเริ่มมีมากขึ้น

๓ ขั้นปฏิบัติการแบบรูปธรรม (the stage of concrete operations) ปรากฎในเด็กอายุ ๕-๑๐ ขวบ มีความคิดที่จัดเป็นระบบมากขึ้น สามารถคิดทวนกลับและมีสังกัปในเชิงของมวลสาร ปริมาตร และน้ำหนัก

๔. ขั้นปฏิบัติการแบบระบบ (the stage of formal operations) เป็นความสามารถในการคิดแบบสมมติและการคิดเป็นเหตุเป็นผล โดยมีลักษณะระบบคิดเป็น ประการ คือ

๑) การสร้างการทวนกลับความคิดเกี่ยวกับความจริงกับความเป็นไปได้ (thinking in possibilities) ผู้มีความสามารถในการคิดขั้นนี้ จะสามารถคิดสลับไปมาระหว่างความจริงกับความ
เป็นไปได้ ซึ่งเป็นความคิดสมมติ ผู้ที่มีพัฒนาการในขั้นนี้จะสามารถคิดในเชิงนามธรรมได้

๒) ความคิดแบบตั้งสมมติฐานจากหลักที่กว้างกว่า (hypothetical-deductive thinking) ผู้ที่คิดในเชิงนามธรรมได้จะสามารถตั้งสมมติฐานได้ แล้วตรวจสอบสมมติฐานด้วยการทำวิจัย

๓) การคิดถึงการคิด (thinking about thinking ผู้ที่คิดในขั้นนามธรรมแบบระบบชั้นนี้จะสามารถคิดถึงความหมาย ความสำคัญ คิดวิเคราะห์ และหาเหตุผลประกอบการคิดหรือการจินตนาการของตนเอง ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดและการวิจารณ์ตนเองได้

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

โคลเบิร์ก ยึดถือทฤษฎีพัฒนาการทางการรู้การคิดของเพียเจต์ (Piaget) เป็นหลักในการวัดพัฒนาการทางจริยธรรม และถือว่าพัฒนาการทงจริยธรรมเป็นผลของพัฒนาการทางปัญญา
ซึ่งสรุปได้ดังนี้ (พิศเพลิน เขียวหวาน และคณะ, ๒๕๔๖: ๓-๕)

เด็กวัยแรกเกิด-๒ ขวบ ปัญญาความคิดอยู่ในขั้นต่ำเกินกว่าที่จะเข้าใจความถูกผิดของการกระทำ เมื่อย่างเข้าสู่ระยะที่ ๒ อายุ ๒๗ ปี เริ่มที่จะเข้าใจเกี่ยวกับความถูกผิดของการกระทำเมื่อย่างเข้าสู่ระยะที่ ๓ อายุ ๗-๑๒ ปี เด็กสามารถคิดตามหลักเหตุผลได้ แต่จำกัดอยู่ในขอบเขตของสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น จัดประเภทให้เป็นระบบได้ และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ เมื่อความคิดของเด็กในระยะที่ ๒ และ ๓ ยังจำกัดอยู่ในขอบเขตของการนึกคิดเอาเองและการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นรูปธรรม ความคิดเกี่ยวกับความถูก-ผิดจึงจำกัดอยู่ในขอบเขตของสิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น ไม่สามารถเข้าใจกฎเกณฑ์ของสังคมอย่างเป็นระบบ โคลเบิร์กจัดอยู่ในระดับที่ ๑ คือ ระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม (preconventional level)

ผู้ที่สามารถคิดในเชิงเหตุผลนามธรรมได้ เป็นผู้ที่มีอายุประมาณ ๑๒ ปีขึ้นไป สามารถเข้าใจบทบาทของบุคคลและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่าง ๆ ในสังคมอย่างเป็นระบบ จะตัดสิน
ความถูกผิดของการกระทำของบุคคลต่ง ๆ ตามกฎเกณฑ์ของสังคมไทย ความเข้าใจเกี่ยวกับความถูกผิดในทำนองนี้จัดอยู่ในระดับที่ ๒ คือ ระดับกฎเกณฑ์สังคม (conventional morality)

สำหรับผู้ที่สามารถคิดเชิงตรรกได้เป็นอย่างดีอาจจะพัฒนาการรับรู้ของตนเองในระดับที่สูงขึ้นไปอีก อยู่ในระดับที่ ๓ คือ ระดับสูงกว่ากฎเกณฑ์สังคม (postconventional morality) ซึ่งสามารถตัดสินความถูกต้องเหมาะสมตามกฎเกณฑ์ต่าง 1ของสังคม แล้วไตร่ตรองด้วยตนเองว่าถูกต้องผู้ที่สามารถตัดสินความถูกต้องของการกระทำในระดับสูงนี้ต้องอาศัยปัญญาความคิดระดับสูง และเป็นผู้ที่ช่างคิดช่างสังเกต ผู้ที่จะวิพากษักฎเกณฑ์ต่าง ๆ ได้ ต้องใช้เวลาอีกหลายปี จากเริ่มวัยรุ่นจนกระทั่งยายุอย่างน้อย ๒๐ ปี จึงจะทำไต้

ตามทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก แบ่งระดับพัฒนาการออกเป็น ๓ ระดับคือ ระดับที่ ๑ ก่อนกฎเกณฑ์สังคม ระดับที่ ๒ กฎเกณฑ์สังคม และระดับที่ ๓ สูงกว่ากฎเกณฑ์สังคมในแต่ละระดับโคลเบิร์กยังแบ่งพัฒนาการออกเป็น ๒ ขั้น รวมเป็น : ขั้น เรียงตามลำดับดังนี้

ระดับที่ ๑ ก่อนกฎเกณฑ์สังคม (preconventional level)
ขั้นที่ ๑ การลงโทษและการเชื่อฟัง (punishment-obedience orientation)
ก. สิ่งที่ถูก
-ต้องเชื่อฟัง ไม่ฝาฝืนกฎเกณฑ์ที่มีการลงโทษ
-ไม่ทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
ข. เหตุผล
-เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ

ขั้นที่ ๒ เอกบุคคลนิยม การตอบสนองความต้องการ และการชำระแลกเปลี่ยน (instrumental relativist orientation)
ก. สิ่งที่ถูก
-ทำตามกฎเกณฑ์เพื่อเกิดประโยชน์แก่ตนเองในปัจจุบัน
-ทุกคนทำในสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของตน
-ความยุติธรรมในการชำระแลกเปลี่ยน
ข. เหตุผล
-การตอบสนองความต้องการของตนจำเป็นต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้อื่นด้วย

ระดับที่ ๒ กฎเกณฑ์สังคม (conventional morality)
ขั้นที่ ๓ ความคาดหวังทางสังคม ความสัมพันธ์ และการคล้อยตาม(good boy-nice girl orientation)
ก. สิ่งที่ถูก
-กระทำในสิ่งที่สังคมคาดหวัง
-มีความปรารถนาดีและอาทรต่อผู้อื่น
-ความไว้วางใจ ความภักดี ความเคารพ และความกตัญญู
ข. เหตุผล
-ต้องการเป็นคนดีในทรรศนะของตนและของบุคคลต่าง ๆ ในสังคม
-ต้องการรักษากฎเกณฑ์ต่าง ๆ ทางสังคม เพื่อรักษาพฤติกรรมดีงามต่าง ๆ ให้คงอยู่

ขั้นที่ ๔ ระบบสังคมและมโนธรรม (law and order orientation)

ก. สิ่งที่ถูก
-การปฏิบัติตามหน้าที่ของตน
-กฎหมายต้องเป็นกฎหมาย ยกเว้นในกรณีที่ขัดกับหน้าที่ทางสังคมอื่น ๆ
-การบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม กลุ่ม หรือสถาบัน

ข. เหตุผล
-เพื่อให้สถาบันต่าง ๆ ของสังคมดำรงอยู่ต่อไป
-รักษาระบบสังคมให้คงอยู่ ไม่พังทลาย

ระดับที่ ๓ สูงกว่ากฎเกณฑ์สังคมหรือตามหลักการ (postconventional morality or principled level)

ขั้นที่ ๕ สัญญาสังคมหรืออรรถประโยชน์และสิทธิส่วนบุคคล (social contract orientation)

ก. สิ่งที่ถูก
-การเข้าใจว่าบุคคลในสังคมต่างมีค่านิยมและความเห็นต่างกัน
-การเข้าใจกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคมว่าเกิดจากการตกลงกันของบุคคลในสังคม
-การปฏิบัติตามสัญญาสังคม
ข. เหตุผล

– เพื่อประโยชน์และเพื่อพิทักษ์สิทธิของทุกคนในสังคม
-ความรู้สึกผูกพันต่อสัญญาสังคมกับบุคคลต่าง ๆ

ขั้นที่ ๖ หลักการจริยธรรมสากล (universal ethical principle orientation)

ก. สิ่งที่ถูก
-ทำตามหลักการทางจริยธรรมที่ตนเลือกเอง
-กฎหมายและสัญญาสังคมที่ถูกต้องควรเป็นไปตามหลักการเหล่านี้
-เมื่อกฎหมายขัดกับหลักการเหล่านี้จะต้องทำตามหลักการ
-หลักการที่ถูกต้องคือ หลักการสากลเกี่ยวกับความยุติธรรม ซึ่งได้แก่ ความเสมอภาคในสิทธิของมนุษย์ และการเคารพ

ข. เหตุผล
– หลักการจริยธรรมสากลเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลักเหตุผล

การเกิดจริยธรรมตามทรศนะของโคลเบิร์กนั้น จริยธรรมหรือความเข้าใจเกี่ยวกับความถูกผิดมิได้เกิดจากการเรียนรู้ มิได้เกิดจากสังคมแวดล้อม แต่เกิดจากการคิดไตร่ตรองตามเหตุผลของแต่ละบุคคลพัฒนาการของจริยธรรมเป็นผลของกรสังเกตและการคิดไตร่ตรองของบุคคล ผู้ที่ไม่ชอบสังเกตหรือไม่ชอบ

ที่จะคิดไตร่ตรอง พัฒนาการทางจริธรรมก็ไม่เกิด แม้ว่าพัฒนาการทางปัญญาได้เข้าสู่ขั้นสูงแล้วก็ตามซึ่งโคลเบิร์กเชื่อว่าพัฒนาการเกิดเป็นขั้น 1 จากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งตามลำดับอย่างแน่นอนตายตัว(invariant) ดังนั้นจริยธรรมจึงพัฒนาเป็นชั้น 1 จากขั้นต่ำกว่าไปสู่ขั้นสูงกว่าทีละขั้น ไม่มีการข้ามชั้นไม่มีการสลับขั้น และไม่ว่าบุคคลจะเติบตในสังคมใดหรือนับถือศาสนาใด ย่อมมีลำดับขั้นการพัฒนาของจริยธรรมที่เหมือน ๆ กัน เรียกชื่อว่าทฤษฎีพัฒนาการเชิงโครงสร้าง (structural development theory และทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา (cognitive development theory)

แนวทางการดำเนินการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพีงประสงค์ในระดับสถานศึกษา

การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สถานศึกษาควรดำเนินการโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถาศึกษา าจเป็นชุดเดียวกับคณะกรรมการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในกรณีสถานศึกษาขนาดเล็กอาจจะให้ครูผู้สอน ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษาเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนา ทั้งนี้ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา โดยมีหน้าที่ดังนี้

๑.๑ ศึกษานิยาม ตัวชี้วัด และพฤติกรรมบ่งชี้ของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง ๘ ประการ

๑.๒ วิเคราะห์ตัวชี้วัดและพฤติกรรมบ่งชี้เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์แต่ละคุณลักษณะ

๑.๓ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียนรายบุคคลก่อนการพัฒนา เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาให้สอดคล้องและเหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้เรียน

๑.๔ สร้างหรือเลือกเครื่องมือในการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

๑.๕ กำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้เรียนที่ต้องการพัฒนา

๑.๖ ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางที่กำหนดไว้ และประเมินผู้เรียนเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้า

๑.๗ ดำเนินการประเมินผู้เรียนหลังการพัฒนาและสรุปผลการประเมิน

๑. ๘ รายงานผลการพัฒนาต่อผู้บริหารสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง

ดังแผนภาพที่ ๓.๑

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน

แนวปฏิบัติในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕, มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง ๘ ประการ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ในการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ จำเป็นต้องอาศัยการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอน ครูประจำชั้น ผู้ปกครอง และชุมชนต้องร่วมมือกันปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง จึงต้องพิจารณาถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่สถานศึกษากำหนดให้จัดขึ้น แล้วส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งอาจดำเนินการพัฒนาด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เช่น

๑. บูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระ
๒. จัดในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๓. จัดโครงการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๔. ปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยสอดแทรกในกิจวัตรประจำวัน

แนวปฏิบัติในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้น สามารถพัฒนาได้โดยการนำคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตัวชี้วัด และพฤติกรรมบ่งชี้ที่วิเคราะห์ไว้ไปบูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โครงการต่าง ๆ และกิจวัตรประจำวันของผู้เรียน

ตัวอย่างแผนการสอนคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน
ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน
ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน
ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน 13
ดาวน์โหลดคู่มือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียน 8 ข้อ แนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน 14

ขอบคุณที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | – สพฐ (obec.go.th)

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่