ดาวน์โหลด คู่มือการปฏิบัติงาน การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 คู่มือพัสดุโรงเรียน โดย สพป. พิจิตร เขต 1
คู่มือการปฏิบัติงานพัสดุการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ โดยนายมนูญ กาหา ตำแหน่ง วิชาการพัสดุชำนาญการพิเศษ งานพัสดุ กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต ๑
การปฏิบัติงานพัสดุ ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ และ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ตลอดจนกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นระเบียบกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตามให้ถูกต้อง ประกอบกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กระจายอำนาจให้โรงเรียนดำนินการจัดซื้อจัดจ้าง การควบคุมและดำเนินการได้เองภายในวงเงินที่ได้รับมอบอำนาจ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว และเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ ให้การดำเนินการด้วยความรวดเร็วทันเวลา และมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ ต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานเกี่ยวกับพัสดุ ได้เป็นอย่างดี และถูกต้องเป็นแนวเดียวกัน
งานพัสดุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต ๑ ตระหนักถึงภาระหน้าที่ของผู้รับผิดชอบ ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการที่จะช่วยให้การบริหารงบประมาณและพัสดุเป็นไปอย่างถูกต้องเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานและแก้ไขความผิดพลาด ความล่าช้า และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงได้จัดทำแนวปฏิบัติงานพัสดุ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยมีขอบเขตเนื้อหา ขั้นตอน ตัวอย่างการจัดซื้อ/จ้าง การควบคุม การจำหน่ายพัสดุ ที่ราชพัสดุ และการจัดทำระบบ e-gp ซึ่งโรงเรียนได้รับมอบอำนาจ จะได้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือแนวปฏิบัติเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติงานพัสดุได้เป็นอย่างดีต่อไป
เนื้อหาสาระ
- เอกสารงานพัสดุที่จะต้องจัดทำ
- สรุปการปฏิบัติงานด้านพัสดุตามระเบียบฯ
- การจัดซื้อจัดจ้าง
- การควบคุม
- การคิดภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- การตีราคาทรัพย์สิน
- คำสั่งมอบอำนาจ สพฐ, ที่ ๑๓๔๐/๒๕๖๐
- คำสั่งแต่งตั้งพัสดุ
- ตารางอายุการใช้งานและอัตราค่าเสื่อมราคา
- แบบจัดซื้อจัดจ้างโดยวิชีตกลงราคาพร้อมตัวอย่าง
- แบบการจัดทำร้ายงานและทะเบียนคุมทรัพย์สินพร้อมตัวอย่าง
- การตรวจสอบพัสดุประจำปี
- อาหารเสริมนม
- การส่งเอกสารหลักฐานการจัดซื้อจัดจ้างส่งเบิก สพป.พิจิตร เขต ๑
- การจัดทำE – GP
- ตัวช่วยในการค้นหาระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การดำเนินงานด้านพัสดุ
(เอกสารงานด้านพัสดุที่เกี่ยวข้องที่จะต้องจัดทำ)
ขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านพัสดุ
- ดำเนินการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ๆ เกี่ยวข้อง 3 ตำแหน่ง
- มียอดเงินงบประมาณจัดสรรเป็นรายการ (แผนงาน/โครงการฯ ที่ผ่านความเห็นชอบของ
คณะกรรมการสถานศึกษาฯ) - มีการอนุมัติเงินประจำงวด (เงินงบประมาณ) / เงินโอนเข้าบัญชีของสถานศึกษา (เงิน
อุดหนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานรายหัว) - ดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้างตามแผบงาน/โกรงการ (เรื่องจัดซื้อจัดจ้างทำ ๒ ชุด ตัวจริงให้
การเงิน สำเนาเก็บไว้กับเจ้าหน้าที่พัสดู) - จัดทำทะเบียนคุมใบสั่งซื้อ/สั่งจ้าง
- จัดทำใบรับพัสดุ
- ลงบัญชีวัสดุ / ลงทะเบียนคุมทรัพย์สิน
- จัดทำใบเบิกพัสดุ
- ตรวจสอบพัสดุประจำปี
- ร้ายงานการตรวจสอบประจำปี (ส่งร้ายงาน สพท./สตง.)
- รายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิทุกสิ้นปีงบประมาณ (ส่งรายงาน สพป. ภายในเดือน ต.ค.)
- จัดทำระบบงานด้นพัสดุให้เป็นระบบและเป็นปัจจุบัน (มีเอกสารครบตั้งแต่ข้อ 1-11)
- จัดหาคู่มือในค้านงานพัสดุให้ครบถ้วน
- แจ้งให้บุคลากรในสถานศึกษารับรู้ว่างานด้านพัสดุอยู่ตรงไหนโดยจัดทำเป็นใบสรุปแจกเพื่อที่จะสะดวกในกรณีที่เจ้าหน้าที่พัสดุไม่อยู่ผู้อื่นสามารถทำแทนได้
- ทำงานเป็นทีม ทั้ง 3 งาน คือ งานการเงิน งานบัญชี และงานพัสดุ ต้องประสานงานกัน
สรุปการปฏิบัติงานด้านพัสดุ
ตามพรบ.และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการพัสดุโรงเรียน
หัวหน้าสถานศึกษา มีหน้าที่
๑. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติงานตามที่กำหนดไว้ในพรบ.และระเบียบฯ
๒. อนุมัติการจัดซื้อ จัดจ้าง
หัวหน้าเจ้าหน้าที่ มีหน้าที่ดังนี้
๑. เป็นผู้จัดซื้อ หรือจัดจ้าง โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
๒. วิเคราะห์และพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการต่าง ๆ ในการจัดหาพัสดุ เสนอหัวหน้าสถานศึกษา พร้อมทั้งเสนอข้อคิดเห็น
๓. ควบคุมพัสดุ และเป็นผู้สั่งจ่ายพัสดุ ในกรณีที่ไม่ได้แต่งตั้งหัวหน้าหน่วยพัสดุ
หัวหน้าหน่วยพัสดุ มีหน้าที่
อนุมัติสั่งจ่ายพัสดุ (ในใบเบิกพัสดุ)
เจ้าหน้าที่พัสดุ มีหน้าที่
๑. ทำรายงานขอซื้อ หรือจ้างและดำเนินการขอซื้อจ้าง ตามระเบียบฯ
๒. ต่อรองราคาและตกลงราคากับผู้ขายหรือผู้รับจ้าง
๓. รับซองใบเสนอราคาในการซื้อ/จ้าง
๔. รวบรวมความเห็นชอบคณะกรรมการต่าง ๆ ในการจัดหาพัสดุ เสนอหัวหน้าสถานศึกษา โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ
๕. รับพัสดุหรืองานจ้างจากคณะกรรมการตรวจรับ
๖. ลงบัญชีทำทะเบียน เพื่อควบคุมพัสดุ ตลอดจนการบำรุงรักยา
๓. เสนอรายงานเกี่ยวกับการจำหน่ายพัสดุ
๘. ลงจ่ายพัสดุที่ได้จำหน่ายออกจากบัญชี/ทะเบียนฯ
การจัดซื้อ/จัดจ้าง มี 3 วิธี
1. วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป วงเงิน เกิน 500,000 บาท
2. วิธีคัดเลือก วงเงินเกิน 500,000 บาท
3. วิธีเฉพาะเจาะจง วงเงินไม่เกิน 500,000 บาท
วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป กระทำได้ 3 วิธี ดังนี้
1.วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์
2.วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
3.วิธีสอบราคา
ขอบคุณที่มา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต ๑