ดาวน์โหลดคู่มือแนวทาง และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพหุปัญญาของผู้เรียน โดย สพม.ขอนแก่น
พหุปัญญา (Multiple Intelligence) หมายถึง เชาวน์ปัญญา หรือความสามารถทางสมองด้านต่างๆ ของบุคคล ที่ส่งผลต่อการคิด การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การเรียนรู้ และการดำรงชีวิตของบุคคลแต่ละด้านมีความสำคัญเท่าเทียมกัน และสามารถพัฒนาได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ซึ่งแต่ละบุคคลอาจมีความโดดเด่นด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านผสมผสานกัน (ราชบัณฑิตยสถาน. ๒๕๕๕)
คู่มือแนวทาง และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพหุปัญญาของผู้เรียน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดนโยบายปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔- ๒๕๖๕ ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๘- และแผนปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้โดยให้ความสำคัญกับพหุปัญญาของผู้เรียนที่มีความหลากหลาย ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่าการจัดการศึกษามีเป้าหมายสำคัญที่สุดคือการจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเอง สูงสุดตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคนแต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งต้าน ความต้องการความสนใจความถนัดและยังมีทักษะฟื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการเรียนรู้และพัฒนาไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคต
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่นตระหนักและเงเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพหุปัญญาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น พร้อมทั้งจัตทำคู่มือแนวทางจัตกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพหปัญญาของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาเล่มนี้ขึ้น เพื่อให้ครูและผู้ที่สนใจใช้เป็นแนวทางจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนหรือกิจกรรมเสริมเพื่อส่งเสริมพหปัญญาสำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา กิจกรรมการเรียนรู้ในคู่มือนี้ เกิดจากการร่วมกันออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยครูในสังกัดที่ได้เข้าร่วมอบรมพัฒนาตนเองซึ่งเป็นหนึ่งในหลายกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพหุปัญญาของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ครู และผู้ที่สนใจ ในการนำแนวทางจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้ในการส่งเสริมพหุปัญณาแก่ภูเรียนต่อไป
คำชี้แจงการใช้คู่มือแนวทางจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพหุปัญญาของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา
คู่มือแนวทางจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพหุปัญญาของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา เล่มนี้ จัดทำขึ้น เพื่อให้ครูและผู้ที่สนใจใช้เป็นแนวทางจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนหรือกิจกรรมเสริมเพื่อส่งเสริมพหุปัญญาสำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา กิจกรรมการเรียนรู้ในคู่มือนี้เกิดจากการร่วมกันออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยครูที่เข้าร่วมอบรมพัฒนาตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพหุปัญญาของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการนำคู่มือไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพทางโครงการขอชี้แจงการใช้คู่มือ ตามลำดับดังนี้
๑. รายละเอียดเนื้อหาของคู่มือ ประกอบด้วย ๓ ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ ๑ ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมพหุปัญญาของผู้เรียน
ส่วนที่ ๒ การวิเคราะห์กิจกรรมส่งเสริมพหุปัญญา ๙ ด้าน
ส่วนที่ ๓ ตัวอย่างการออกแบบแผนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพหุปัญญา ๙ ด้าน
๒. การเชื่อมโยงสาระวิชา และการพัฒนาผู้เรียน
ครูผู้สอนสามารถเชื่อมโยงไปยังหลายๆสาระวิชา และพัฒนาผู้เรียนในหลายๆด้านโดยครูสามารถปรับได้ตามที่เห็นเหมาะสม
๓. กิจกรรม
ครูสามารถปรับเปลี่ยนตามความสนใจหรือบริบทของโรงเรียน หรือมีการบูรณาการเพื่อให้กิจกรรมมีความน่าสนใจ และครอบคลุมวัตถุประสงค์ในการเรียนการสอน
๔. การใช้คำถามในการจัดกิจกรรม
ครูสามารถตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และได้ใช้ทักษะการคิด ตลอดจนเพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจ
๕. สื่อ และอุปกรณ์
ครูสามารถเลือกใช้สื่อ อุปกรณ์ และปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม และสะดวก
ตัวอย่างการวิเคราะห์กิจกรรมส่งเสริมพหุปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา
ตัวอย่างการออกแบบแผนการจัดกิจกรรม
ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมพหุปัญญา ๙ ด้านในโรงเรียน
ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพหุปัญญา ๙ ด้านในโรงเรียน สามารถจัดได้ในรูปแบบของฐานกิจกรรมซึ่งในที่นี้จะเสนอตัวอย่างกิจกรรมเพื่อให้โรงเรียนนำไปประยุกต์ใช้ ดังนี้
ฐานกิจกรรม ความฉลาดด้านภาษาสื่อสาร
๑ การระดมความคิด
๒ การเล่านิทาน
๓ การเขียนเจอร์นัล
๔ การอัดเสียงพูดด้วยเทป
ฐานกิจกรรมด้านตรรกะและเหตุผล
๑ การถามคำถามแบบโสคราติส
๒ การจำแนกและการจัดหมวดหมู่
๓ การบอกจำนวน / ปริมาณและการคำนวณ
๔ กระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์
๕ เราพวกเดียวกัน
ฐานกิจกรรมด้านมิติสัมพันธ์จินตนาการ
๑ การคิดเป็นภาพ
๒ การเปรียบเทียบให้เห็นเป็นรูปภาพ (Idea Metaphors)
๓ การเขียนโครงร่างความคิด(Idea Sketching )
๔ การใช้ สัญลักษณ์แบบภาพ
๕ ภาพงามตามใจฉัน
ฐานกิจกรรมด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
๑ การคิดแบบลงมือกระทำ
๒ การสร้างโรงละครในห้องเรียน
๓ Body Maps
๔ มโนทัศน์ในการเคลื่อนไหวร่างกาย
๕ ตามแต่ใจพาร่างกายเคลื่อนไหว
ฐานกิจกรรมดนตรี
๑ มโนทัศน์ทางดนตรี
๒ จังหวะเพลง การร้องแร๊บ และเพลงสวด
๓ ดนตรีช่วยจำ
๔ ดนตรีสื่อความรู้สึก
๖ Mood Music : การใช้ดนตรีเพื่อเปลี่ยนแปลงอารมณ์
ฐานกิจกรรมด้านความเข้าใจตนเอง
๑ Feeling – Toned Moments : การสอนที่ครูใส่ความรู้สึกลงไปเพื่อดีงให้นักเรียนเกิดความรู้สึกต่างๆต่อบทเรียน
๒ ช่วงเวลาทบทวนหนึ่งนาที ( One – Minute Reflection Periods)
๓ การเชื่อมโยงในตัวเอง ( Personal Connection )
๔ ช่วงเวลาแห่งการเลือก ( Choice Time )
๕ ดูละครแล้วย้อนดูตัว
ฐานกิจกรรมด้านความสัมพันธ์และเข้าใจผู้อื่น
๑ การทำงานกลุ่ม
๒ เกมส์กระดานต่างๆ
๓ การเล่าเรื่องต่างๆให้เพื่อนฟัง
๔ การสร้างสถานการณ์จำลอง
๕ ทางเดียว หรือ สองทาง
ฐานกิจกรรมด้านธรรมชาติสิ่งแวดล้อมรอบตัว
๑ การเดินท่องธรรมชาติ (Nature Walks)
๒ การนำสัตว์เลี้ยงมาเรียนรู้ในห้องเรียน (Pet-In-The-Classroom )
๓ การศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศน์(Eco-study )
๔ ตู้ปลา การทำสวนในขวด ตู้กระจก ระบบนิเวศน์ที่พกพาได้
๕ บันทึกธรรมชาติ
ฐานกิจกรรมด้านการดำรงอยู่ของชีวิต
๑ วัฏจักรชีวิต
๒ อยู่อย่างไรให้รอด
๓ ปัจจัยในการดำรงชีวิต
๔ การเปลี่ยนแปลงของชีวิต
๕. ศาสนพิธีความต่างบนความตาย
ขอบคุณที่มา :: :: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น (kksec.go.th)