ดาวน์โหลด รายงานผลการจัดการประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน (Classroom Meeting) ไฟล์เวิร์ด *.doc แก้ไขได้ พร้อมปก
ครูอาชีพดอทคอม ขอนำเสนอเอกสารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กิจกรรมการประชุม ผู้ปกครอง ชั้นเรียน (Classroom Meeting) เป็นกิจกรรมหนึ่งของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนจัดประชุมขึ้นเพื่อให้ครูที่ปรึกษาได้สนทนา ปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูลและประสบการณ์ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พร้อมทั้งหาแนวทางในการแก้ไข พัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพต่อไป
- ความสำคัญและความเป็นมา
การดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ การส่งเสริมพัฒนา การป้องกัน และการแก้ไขปัญหาให้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะในการดำรงชีวิต และรอดพ้นจากวิกฤตทั้งปวง ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน มีครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา เครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน และครูประจำวิชาร่วมกันดูแลช่วยเหลือตามบทบาทหน้าที่ มีวิธีการและเครื่องมือที่ชัดเจน มีมาตรฐานคุณภาพ และมีหลักฐานการทำงานที่ตรวจสอบได้ ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องที่กล่าวมานั้น ให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ กิจกรรมการประชุม ผู้ปกครองชั้นเรียน (Classroom Meeting) เป็นกิจกรรมหนึ่งของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนจัดประชุมขึ้นเพื่อให้ครูที่ปรึกษาได้สนทนา ปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูลและประสบการณ์ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พร้อมทั้งหาแนวทางในการแก้ไข พัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพต่อไป - วัตถุประสงค์ของการจัดประชุม ผู้ปกครองชั้นเรียน
- เพื่อให้ผู้ปกครองได้รู้และเข้าใจถึงกฎระเบียบ ตลอดจนการดูแลนักเรียน สามารถนำไปอบรมสั่งสอนนักเรียนในปกครองได้
- เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะกับครูที่ปรึกษาและรับทราบข้อมูลพฤติกรรมด้านต่างๆ ทั้งการเรียนและความประพฤติ พร้อมทั้งหาแนวทางดูแลช่วยเหลือร่วมกัน
- เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีโอกาสเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบ้านกับโรงเรียน ให้ความร่วมมือในการป้องกัน แก้ไข และพัฒนานักเรียน
- เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ปกครองที่เข้มแข็งในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนร่วมกัน ระหว่างผู้ปกครองด้วยกัน และระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียน
- วิธีดำเนินการ
คณะกรรมการนักเรียนประจำห้องเรียนพร้อมครูที่ปรึกษา นำผู้ปกครองแต่ละห้องไปร่วมกันประชุมผู้ปกครองชั้นเรียนตามห้องที่กำหนด- ครูที่ปรึกษารับลงทะเบียนผู้ปกครองที่มาร่วมประชุม
- ครูที่ปรึกษากล่าวต้อนรับ และจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
- ผู้ปกครองแนะนำตนเองเพื่อทำความรู้จักกัน
- ครูที่ปรึกษารายงานข้อมูลข่าวสารจากทางโรงเรียน รายงานผลการเรียน และรายงานพฤติกรรมต่างๆของนักเรียนต่อผู้ปกครอง
- ครูที่ปรึกษากล่าวคำชมเชย ยกย่องนักเรียนที่พฤติกรรมดี และผู้ปกครองที่ให้ความร่วมมือเอาใจใส่ต่อนักเรียนในปกครอง
- ครูที่ปรึกษาดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองในชั้นเรียน
- ครูที่ปรึกษาเชิญให้ผู้ปกครองแต่ละคนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อดีและข้อบกพร่องที่ต้องการให้โรงเรียนช่วยเหลือของนักเรียนในปกครอง และให้ผู้ปกครองสอบถามข้อสงสัยและความประพฤติของนักเรียนเป็นรายคน
- ครูที่ปรึกษาให้ผู้ปกครองตอบแบบประเมินการจัดการประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน
- ครูที่ปรึกษากล่าวขอบคุณผู้ปกครองที่มาประชุม
- ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ผู้ปกครองได้เข้าใจหลักการบริหารโรงเรียน และจุดมุ่งหมายของโรงเรียนที่จะอบรมนักเรียนและพัฒนานักเรียนในด้านต่างๆ การดูแลด้านการเรียนและความประพฤติของนักเรียนในปกครอง เมื่ออยู่ที่โรงเรียน ทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไข
- ผู้ปกครองนักเรียนมีโอกาสพบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และร่วมปรึกษาหารือ เพื่อหาแนวทางแก้ไข ปรับปรุงผลการเรียนและพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียนในปกครองให้ดีขั้น
- ครูที่ปรึกษาและผู้ปกครองได้ประสานสัมพันธ์และร่วมมือกันดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างใกล้ชิด
- นักเรียนได้รับความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจเป็นบุคคลที่มีความสามารถ มีคุณภาพและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ตัวอย่างไฟล์
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
- ดาวน์โหลด ไฟล์งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน SDQ- EQ- คัดกรองนักเรียน- การเยี่ยมบ้าน ไฟล์แก้ไขได้ พร้อมปก
- ดาวน์โหลด คู่มือครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้นที่ 1 – ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6)
- ดาวน์โหลดฟรี แบบบันทึกกิจกรรมโฮมรูม (Homeroom) ไฟล์ Word แก้ไขได้
- ดาวน์โหลด แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน เล่มรายงานการเยี่ยมบ้าน พร้อมปก ไฟล์เวิร์ด แก้ไขได้