ดาวน์โหลด เอกสารมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
ดาวน์โหลด เอกสารมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่านครับ

ดาวน์โหลด เอกสารมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

บทความนี้ ครูอาชีพดอทคอม ขแอนะนำ มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ learning loss recovery จัดทำโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดยใช้หลักการ R E C O V E R เพื่อให้โรงเรียนสามรารถ การแก้ปัญหา learning lossสถานการณ์ Covid-19 ทำให้กระบวนการการจัดการศึกษาต้องเปลี่ยนแปลง จากการเรียนในห้องเรียน (On Site) เป็นการเรียนแบบ Online ส่งผลให้เด็กไทยเกิดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ( Learning loss ) จาก 5 ปัจจัยที่สำคัญ ดังนี้

  1. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information, media and technology skills)
    2 การกำกับตนเองในการเรียนรู้ (Self-regulated learning)
  2. ทักษะของครู (Teacher skills)
  3. การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่บ้าน (Home-based parental involvement)
  4. การจัดการสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ (Learning environment)

พอทราบสาเหตุหลักแล้ว ทุกคนก็คงอยากทราบแนวทางแก้ไข หรือวิธีรับมือใช่ไหมล่ะคะ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาร่วมกับทีมนักวิจัย Learning Loss ได้ค้นคว้าวิธีฟื้นฟูภาวะถดถอยการเรียนรู้ ที่จะเป็นแนวทางให้หน่วยงานทุกฝ่าย วางแผนปรับตัว และจะช่วยทุกคนให้ผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันกับ ?-?-?-?-?-?-? มาตรการและวิธีการ ฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ของเด็กไทยในยุค Covid-19 ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ดาวน์โหลด เอกสารมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้  โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
ดาวน์โหลด เอกสารมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

สารบัญ
    ความเป็นมา
    ผลกระทบของโควิด -19 ต่อระบบการศึกษาไทย
    มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้
    มาตรการในระยะเร่งด่วน
    กลไกสู่การปฏิบัติและเงื่อนไขความสำเร็จ
    เอกสารอ้างอิงการสังเคราะห์
    คณะผู้จัดทำ

การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ระบบการศึกษาไทยต้องปรับเปลี่ยนอย่างฉับพลันจนปรับตัวไม่ทัน จากระบบปกติในโรงเรียนเป็นการเรียนรู้ที่บ้าน (Home-based learning ) จากระบบชั้นเรียนเป็นการเรียนรู้ส่วนบุคคล (Personalized learning) โดยมีปัจจัยการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital disruption) เข้ามาเป็นโจทย์สำคัญในการจัดการศึกษา ทั้งการจัดการศึกษาในช่วงสถานการณ์วิกฤติของโรคระบาดและการพัฒนาการศึกษาหลังยุคโควิด-19(Post-COVID) ที่จะส่งผลให้เกิดการปรับรูปแบบและวิธีการเรียนรู้พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน และการปรับบทบาทของครูผู้สอน อีกทั้งเทคโนโลยีจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิต และพัฒนาการศึกษาของประเทศในระยะยาวเพื่อพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันได้ในอนาคต

ที่มา OEC News สภาการศึกษา

มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้

ดาวน์โหลด เอกสารมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 5

จากการสังเคราะห์ผลการวิจัย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอแนะเชิงการปฏิบัติ รวมทั้งข้อเสนอแนะจากการประชุมสัมมนา ได้สรุปและจัดทำเป็น “มาตรการฟื้นฟู ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้” การแก้ปัญหา ความ ถดถอย ของการเรียน รู้ learning lossขึ้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้

R E C O V E R มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ Learning loss

Redesigning new learning process

ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ใหม่ที่ตอบสนองบริบทความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้เรียน

1.ปรับหลักสูตรสถานศึกษา

โดยดำเนินการสำรวจความพร้อมและความต้องการของผู้เรียนและครูผู้สอนเป็นข้อมูลวิเคราะห์เพื่อปรับหลักสูตรสถานศึกษาอาจจัดหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาความรู้และ ทักษะตามความต้องการจำเป็นของผู้เรียน หรือจัดหลักสูตรแบบเร่งรัดเพื่อช่วยเหลือผู้เรียนในเนื้อหาที่มีปัญหา หรือกระชับหลักสูตรเน้นเนื้อหาสาระการเรียนรู้ที่สำคัญจำเป็น หรือจัดหลักสูตรที่ยืดหยุ่น
เนื้อหาและเวลาเรียนตามความเหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทของผู้เรียน

2. ปรับรูปแบบและวิธีการวัดและประเมินผล

โดยกำหนดหลักเกณฑ์ เครื่องมือ และวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้มีความยืดหยุ่น ใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายตามความถนัดและศักยภาพของผู้เรียน เน้นการวัด
และประเมินผลตามสภาพจริง เน้นการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนมากกว่าตัดสินผลการเรียน ลดการทดสอบที่ไม่จำเป็นเน้นการวัดผลจากการปฏิบัติ การทำชิ้นงาน การทำกิจกรรมระหว่างเรียนตามความเหมาะสมของระดับการศึกษา และให้ข้อมูลผลการประเมินป้อนกลับแก่ผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์

3. จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและเชื่อมโยง

ประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของผู้เรียนโดยบูรณาการด้วยการเชื่อมโยงเนื้อหาทั้งภายในและระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ ใช้ปรากฎการณ์หรือสถานการณ์ใหม่ ๆ มาเชื่อมโยงความคิดรวบยอดในกลุ่มสาระต่าง ๆ เข้าด้วยกัน รวมทั้งเชื่อมโยงองค์ความรู้เนื้อหาในบทเรียนร่วมกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน ด้วยการเรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวผู้เรียนในชีวิตจริง

4. จัดการเรียนรู้แบบนำตนเองหรือกำกับตนเองในการเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับช่วงวัยของผู้เรียน

โดยจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนตั้งเป้าทมายและวางแผนการเรียนรู้ของตนเอง สร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ครูคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีวินัย ทำข้อตกลงการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูกับผู้เรียนเสริมแรง ให้คำแนะนำปรึกษา กำกับติดตามให้ผู้เรียนสามารถกำกับตนเอง และให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ตั้งไว้

5. ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนรายบุคคล

โดยวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล จัดทำแผนพัฒนาผู้เรียนรายบุคคลหรือซ่อมเสริมผู้เรียนเป็นรายบุคคล ส่งเสริมกิจกรรมและมอบหมายงานตามความถนัดของผู้เรียน และใช้เครื่องมือวัดผู้เรียนเป็นรายบุคคล รวมทั้ง พัฒนาช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลายมีแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคลสำหรับผู้เรียนทุกช่วงวัย

6. จัดกิจกรรมที่พัฒนาทักษะสังคมและอารมณ์ของผู้เรียน

โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี ด้วยการทำงานร่วมกับเพื่อน ๆ หรือให้ผู้เรียนร่วมทำกิจกรรมเชิงสังคมที่เหมาะสมผ่านกิจกรรมทางศิลปะสุนทรียะ เช่น โครงงานศิลปะ การออกแบบการวาดภาพ ดนตรี เป็นต้น หรือร่วมกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรม หรือร่วมทำกิจกรรมทางวิชาการใหม่ ๆ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ปรับตัวและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ทั้งนี้ หากยังมีภาวะของโรคระบาด ควรออกแบบกิจกรรมให้เหมาะกับความปลอดภัยของผู้เรียน

7. พัฒนารูปแบบห้องเรียนเคลื่อนที่

โดยจัดเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ตามความเหมาะสมของบริบท สถานการณ์และความต้องการจำเป็นของพื้นที่ เพื่อจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนที่ไม่สามารถเดินทางมาเรียนในสถานศึกษาได้ สำหรับกรณีในพื้นที่ที่ยังมีความเสี่ยงของโรคระบาด ควรดำเนินการภายใต้มาตรการป้องกันโรคอย่างเข้มงวดหรือ Bubble & Seal

8. พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบHybrid Learning

โดยผสมผสานรูปแบบ กิจกรรม วิธีการจัดเรียนรู้แบบออนไลน์ต่าง ๆ กับชั้นเรียนปกติอย่างยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ และประยุกต์ใช้สื่อเทคโนโลยีที่หลากหลายตามความพร้อมและความถนัดของผู้เรียน เพื่อสร้างความคุ้นเคย ความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาโดยใช้ประสบการณ์จากช่วงโควิด-19 เช่น แผนการเรียนรู้บูรณาการ กิจกรรม Home based learning การใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ การใช้ปรากฏการณ์ Phenomenon based learning เป็นต้น เพื่อปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ บทบาทครูและผู้เรียนสู่ยุค New normal

9. ออกแบบ พัฒนา และจัดสรรสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม และพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างหลากหลาย

โดยส่งเสริมครูผู้สอนให้สามารถผลิตและใช้สื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความถนัด ความต้องการ และความพร้อมของผู้เรียนรายบุคคล ทั้งสื่อออนไลน์ ออฟไลน์ และสื่อที่เป็นของจริงรวมทั้งพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย เอื้อให้ครูผู้สอนและผู้เรียนสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของกิจกรรมนอกจากนี้ ควรจัดสรรหนังสือเด็กและอุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ให้แก่ผู้เรียนปฐมวัยและประถมศึกษาที่ด้อยโอกาสได้เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ทั้งที่บ้านและสถานศึกษา

Empowering teachers and principals

เสริมพลังพัฒนาครู และผู้บริหารสถานศึกษา

1. พัฒนาเทคนิคการสอนของครู

โดยพัฒนาครูให้มีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเทคนิคการออกแบบการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนของแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) การใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจ หลากหลาย ดึงดูดความสนใจของผู้เรียน รวมถึงเทคนิควิธีสอนที่เหมาะสมกับการเรียนทางไกลและการเรียนออนไลน์

2. พัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของครู

โดยพัฒนาครูผู้สอนทุกช่วงวัยให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สื่อและเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาเทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีที่มีความน่าสนใจสามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน รวมทั้งจัดทำกรอบสมรรถนะดิจิทัลสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเป็นกรอบที่ชัดเจนในการพัฒนาทักษะและสมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษา

3. ปรับบทบาทครูให้เป็นโค้ชหรือผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยพัฒนากระบวนการโค้ชเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนตามความถนัด สร้างสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่เหมาะสม แนะนำวิธีเรียนรู้กระตุ้น และสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน

4. ปรับบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาเป็นSuper Coach ในการจัดการเรียนรู้

โดยพัฒนากระบวนทัศน์ใหม่ เสริมสร้างวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการบริหารและการจัดการเรียนรู้เป็นผู้นำการปรับหลักสูตรการวางแผนพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การนิเทศและพัฒนาครู
การจัดหาและพัฒนาเทคโนโลยี สื่อ และแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษารวมถึงระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน และการสร้าง ระดมประสานความร่วมมือกับทุกฝ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

5. ใช้รูปแบบและวิธีการพัฒนาที่เน้นการปฏิบัติและสามารถนำไปใช้พัฒนาการเรียนการสอนได้

โดยจัดให้มีรูปแบบวิธีการพัฒนาที่ดี มีตัวอย่างการปฏิบัติที่หลากหลายจัดให้มีศูนย์พัฒนาครูเพื่อฟื้นฟูคุณภาพการเรียนรู้ในระดับสถานศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อดำเนินการพัฒนาครูและให้คำปรึกษาแก่ครูผู้สอนในด้านการพัฒนาการเรียนการสอนยุคใหม่ และให้คำแนะนำปรึกษาและกำกับติดตามการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

Collaborating effective learning with stakeholders

สร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพระหว่างสถานศึกษา ครู
ผู้ปกครอง ชุมชน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

1. จัดทำหลักสูตรหรือคู่มือสำหรับผู้ปกครอง

เพื่อสื่อสารและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการรู้ให้แก่ผู้ปกครองได้เข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับแนวปฏิบัติและการจัดการ
เรียนการสอนของสถานศึกษา

2. สร้างปฏิสัมพันธ์และสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูผู้สอนและผู้ปกครอง

โดยมีรูปแบบ วิธีการ ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย ผู้ปกครองสามารถสื่อสาร ซักถาม แสดงคิดเห็นได้สะดวก เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจที่ชัดเจน มีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียน กำกับติดตาม และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน

3. ส่งเสริมกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการเรียนรู้

โดยผ่านหลักสูตรที่ใช้แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมวัฒนธรรม ประเพณี โบราณคดี และภูมิปัญญาของคนในชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้

4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการฟื้นฟูการศึกษาจากภาคส่วนต่าง ๆ

โดยภาครัฐ ภาคเอกชน และสถานประกอบการ เข้ามามีส่วนพัฒนาและฟื้นฟูการศึกษาร่วมกันในทุกระดับ เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แก่สถานศึกษาที่มีความต้องการจำเป็น ทั้งด้านงบประมาณ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ รวมทั้งการกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ต

Open educational resources

พัฒนาคลังสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้แบบเปิด
และเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา

1. พัฒนาคลังสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้แบบเปิดเพื่อเป็นคลังสื่อกลางในการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครู ผู้เรียน และผู้ปกครอง

โดยรวบรวมสื่อการเรียนรู้และนวัตกรรมการเรียนการสอนสำหรับเผยแพร่ให้ครู ผู้เรียน และผู้ปกครองสามารถเข้าถึงและใช้สื่อการเรียนรู้ร่วมกันได้ และครูผู้สอนสามารถแลกเปลี่ยนและแบ่งปันสื่อในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างสะดวกกว้างขวางตามบริบทของสถานศึกษา

2. บูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญและจำเป็น

โดยออกแบบระบบกลางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ให้สถานศึกษาหรือหน่วยงานนำเข้าข้อมูลรายการที่จัดเก็บเพียงครั้งเดียว แล้วสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันในการวางแผนและแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ทันต่อเหตุการณ์

Valuing positive attitudes and well-being

สร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และสุขภาวะ
ที่ดีของผู้เรียนทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต

1. จัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้

ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ทั้งที่บ้านและในสถานศึกษา ให้มีบรรยากาศที่เป็นมิตรในการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนมีความสบายใจในการเรียนรู้

2. ส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพจิต

โดยให้ผู้เรียนมีกิจกรรมที่ผ่อนคลาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว เพื่อลดความเครียดและวิตกกังวล และเสริมแรงจูงใจเชิงบวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน รวมทั้งสอดแทรกการเรียนรู้ทักษะการป้องกันภัยให้แก่ผู้เรียนควบคู่กับการเรียนรู้ด้านวิชาการ เพื่อป้องกันและสร้างความปลอดภัยด้านสุขภาพกายและใจแก่ผู้เรียน

3. เสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้และการดำเนินชีวิต

โดยทั้งผู้ปกครองและครูผู้สอนร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองของผู้เรียน พัฒนากรอบความคิดเชิงบวกหรือแบบเติบโต (Growth mindset) ให้แก่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่องตามสถานการณ์ที่เหมาะสม รวมทั้งการปลูกฝังคุณธรรรมและคำนิยมที่พึงประสงค์

4. ส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีให้แก่ผู้เรียน

ให้ผู้เรียนมีความตระหนักและรู้เท่าทันสื่อ รวมถึงการเฝ้าระวังและกำกับติดตามผู้เรียนในการเข้าถึงสื่อ เพราะสื่อที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลต่อการเรียนรู้และสุขภาพจิตของผู้เรียน

5. จัดตั้งระบบช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต สังคมและอารมณ์ของผู้เรียนขึ้นในสถานศึกษา

โดยทำความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านบุคลากรความรู้ที่มาช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของระบบนี้ เช่น นักสาธารณสุข นักจิตวิทยา เป็นต้น

6. สร้างปฏิสัมพันธ์ที่มีคุณภาพระหว่างครูและผู้เรียนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน

ผ่านการสื่อสารในช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้คำปรึกษา กำกับติดตามการเรียนรู้ ความก้าวหน้า ความพร้อม และส่งเสริมสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน

Elevating learning with Edtech

ยกระดับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี
อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

1. จัดสรรอินเทอร์เน็ตฟรีเพื่อการศึกษา

ให้ครอบคลุมพื้นที่สถานศึกษาทุกแห่งอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

2. จัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ และโปรแกรมที่ทันสมัยแก่สถานศึกษาและครูผู้สอน

เพื่อจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเร่งจัดหาอุปกรณ์ให้แก่สถานศึกษาที่ขาดแคลนและมีความจำเป็นในลำดับแรก

3. จัดตั้งศูนย์สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา

ในระดับจังหวัด หรือเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อสนับสนุน ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาแก่สถานศึกษาในพื้นที่ให้สามารถใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยมีเจ้าหน้าด้านเทคนิคที่สามารถไปช่วยเหลือยังสถานศึกษาได้ตามความต้องการจำเป็น

4. เร่งพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่หลากหลาย

โดยเฉพาะแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพสูงและเชื่อมโยงแพลตฟอร์มการพัฒนาการเรียนรู้อย่างเป็นระบบเพื่อให้ครูและผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าถึง และใช้พัฒนาการเรียนรู้ได้ตามความต้องการอย่างเต็มตามศักยภาพและเท่าเทียมกัน

5. สนับสนุนค่าใช้จ่ายหรืออุปกรณ์แก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ทางไกล

เช่น ค่าใช้จ่ายรายหัว Smart devices เป็นต้น โดยจัดสรรให้เหมาะสมกับความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน ครอบคลุมกลุ่มที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เช่น เด็กด้อยโอกาส เด็กพิการ เป็นต้นเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาของทุกกลุ่ม

Regarding safety and welfare

จัดสวัสดิการ ความปลอดภัย และสร้างขวัญและกำลังใจ

1. จัดสวัสดิการในการเดินทางและประกันความปลอดภัย

ให้แก่ครูที่ออกปฏิบัติงานนอกสถานศึกษาเช่น ค่าพาหนะ เบี้ยเลี้ยง ทำประกันภัย ฉีดวัคซีน เป็นต้น

2. มีระบบสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ครู

ที่ทุ่มเท เสียสละ และอุทิศตนเพื่อการเรียนการสอนเช่น การยกย่อง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นต้น

3.เสริมสร้างระบบและกลไกการดูแลความปลอดภัยของสถานศึกษาให้แก่ผู้เรียน

อย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานโดยต้นสังกัดที่จัดการศึกษา เช่น กระทรวงศึกษาธิการกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาระบบมาตรฐานความปลอดภัยในสถานศึกษาให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้เรียน เพื่อป้องกัน ดูแล และช่วยเหลือผู้เรียนได้อย่างทันท่วงทีจากภัยต่าง ๆ ที่จะเป็นอันตรายแก่ผู้เรียนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

ดาวน์โหลด เอกสารมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 6

คลิกอ่านแบบ PDF : https://online.fliphtml5.com/wbpvz/aqfw/#p=1

ดาวน์โหลดไฟล์

ที่มา : มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้
จัดทำโดย สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่