แจกไฟล์ E-Book ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค ฉบับราชบัณฑิตยสภาดาวน์โหลดฟรี
สำนักงานราชบัณฑิตยสภาแจกฟรี E-book ฟรี หนังสือ “ภาษิต สำนวนไทย ๔ ภาค ฉบับราชบัณฑิตยสภา” รวบรวมสำนวน สุภาษิต คำพังเพยไทยทั้งหมด ๔ ภาค ทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ ซึ่งแต่ละภาคจะมีสำนวน ภาษิตที่เป็นคำเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น และมีคุณค่าแก่ศึกษาภาษาวัฒนธรรมท้องถิ่น ดาวน์โหลดคลิก
ตัวอย่างไฟล์
โครงการ “รู้ รัก ภาษาไทย” เป็นโครงการสำคัญตามนโยบายของรัฐบาล (Flagship Project) ในปีงบประมาณ ๒๕๕๕-๒๕๕๘ โครงการดังกล่าวให้ความสำคัญกับภาษาไทยและภาษาไทยถิ่น ซึ่งราชบัณฑิตยสถานได้ดำเนินการเผยแพร่ความรู้ด้านภาษาไทยและภาษาไทยถิ่นมาอย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมหนึ่งในโครงการ “รู้ รัก ภาษาไทย” คือการผลิตรายการวิทยุที่ให้ความรู้ด้านภาษาไทยและภาษาไทยถิ่น ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ และสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เนื้อหาที่นำไปออกอากาศจัดทำโดยคณะกรรมการวิชาการของราชบัณฑิตยสถาน ๔ คณะ คือ
๑. คณะกรรมการจัดทำคำอธิบายถ้อยคำภาษาไทย
๒. คณะกรรมการจัดทำเนื้อหาวิซาการด้านภาษาไทยถิ่น ภาคใต้
๓. คณะกรรมการจัดทำเนื้อหาวิชาการด้านภาษาไทยถิ่น ภาคอีสาน
๔. คณะกรรมการจัดทำเนื้อหาวิชาการด้านภาษาไทยถิ่น ภาคเหนือ
บัดนี้ราชบัณฑิตยสถานเห็นสมควรให้รวบรวมเนื้อหาดังกล่าวในส่วนที่เป็นสำนวน ผญา และภาษิต จัดพิมพ์เป็นหนังสือ “ภาษิตสำนวนไทย ๔ ภาค” ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เพื่อเผยแพร่แก่ส่วนราชการ สถานศึกษา และประชาชนทั่วไป สำหรับเป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลทางวิซาการและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าต่อไป
ราชบัณฑิตยสถาน
๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕
สำนวน
สำนวน มีหลายความหมาย ความหมายหนึ่งหมายถึงถ้อยคำที่มีความหมายไม่ตรงตัว ต้องตีความจึงจะเข้าใจได้ สำนวนครอบคลุมทั้งคำพังเพยและสุภาษิตหรือภาษิต รวมทั้งคำเปรียบเทียบต่าง ๆ ด้วย เช่น ขี่ช้างจับตั๊กแตนหมายความว่า ลงทุนมากแต่ผลที่ได้นั้นมีเพียงเล็กน้อย, ฆ่าควายเสียดายพริก หมายความว่า ทำงานใหญ่โตแต่กลัวหมดเปลือง ไม่ยอมใช้จ่ายมาก จึงทำให้งานเสีย
สำนวนอาจเป็นคำเดี่ยว ๆ ก็ได้ เช่นคำว่า เสือ เมื่อใช้เป็นสำนวนจะมีความหมายว่าโจรหรือคนดุร้าย สำนวนอาจมีลักษณะเป็นคำหลายคำประสมกัน เช่น คอสูง หมายความว่า ชอบเหล้ารสดี ๆ หรือชอบอาหารมีราคา, ผิดฝาผิดตัว หมายความว่า ไม่เข้าชุดกัน, ไม่เข้าคู่กัน
สำนวนยังหมายถึง ถ้อยคำที่แสดงออกมาเป็นข้อความพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่ง เช่น สำนวนบาลี, สำนวนฝรั่ง และหมายถึงชั้นเชิงหรือท่วงทำนองในการแต่งหนังสือหรือพูด เช่น สำนวนเจ้าพระยาพระคลัง (หน), สำนวนยาขอบ, สำนวนไม้ เมืองเดิม
สำนวนชาวใต้
สำนวนหรือสำนวนโวหาร เป็นการใข้คำเชิงเปรียบเทียบด้วยคารมคมคายขวนคิดชวนฟัง โดยเถพาะสำนวนชาวใต้ประกอบด้วยคำตั้งแต่สองพยางค์ขึ้นไป เช่น ทำเฒ่า, ตีนฉัดเม่น (ผัด แปลว่า เตะ), พีเหมือนหมูลด (หมูลด แปลว่า หมูตอน), ขี้ไม่ให้หมากิน, ปูนนอกเต้าข้าวนอกหม้อ, พูดเหมือนนกยางขี้ใส่เล (เล แปลว่า ทะเล), เน่งเขาว่าโมโฉเขาว่าบ้า (เน่ง แปลว่า นิ่ง,โม่ แปลว่า โง่, โฉ แปลว่า ฉาวโฉ่) สำนวนขาวใต้มีทั้งคำพูดธรรมดา เช่นหนอยช้างเหยียบ (หนอย แปลว่า เบา ๆ) หรือใช้คำคล้องจอง เช่น ต้มปูไม่แดงแกงหอยไม่เปื่อย
สำนวนชาวใต้ สะท้อนให้เห็นชีวิตชาวใต้หลายด้าน เช่น
ความเชื่อ
-อย่าข้ามหัวฤๅษี (ฤษีรูปหนังตะลุง)
-หยาจกเหมือนเปรตเดือนสิบ (หยาจก แปลว่าตะกละ)
การค้า
-จีนไม่ตายผ้าลายโข (โข แปลว่า มากมาย)
อาหารการกิน
-เมืองคอนพุงปลา สงขลาผักบุ้ง เมืองลุงลอกอ
ทำเลที่ตั้ง
-เมืองลุงมีดอน เมืองคอนมีท่า เมืองตรังมีนา สงขลามีบ่อ
สำนวนชาวใต้ยังสะท้อนค่านิยม เช่น ค่านิยมในความสุขความสบายของผู้ชายยุคนั้น อย่าง ขึ้บนขอน นอนหวันสาย ได้เมียสาว กินข้วขาว หรือให้ข้อสังกตคนไม่ควรคบ อย่าง คนปลิ้นพูดหวาน คนพาลพูดโกง คนโคลงพูดเพราะ (คนโคลง แปลว่า คนประจบสอพลอ) รวมทั้งผู้ปกครองหรือ “นาย” ไร้คุณธรรม พึงระมัตระวัง อย่าง นายรักเหมือนเสือกอด หนีนายรอดเหมือนเสือหา
ผญา
ผญา มาจาก คำว่า ปรัชญา ในภาษาสันสกฤต หรือ มาจากคำว่า ปัญญา ในภาษาบาลี แล้วกลายมาเป็น ประญา อีสานออกเสียง [ปร] เป็น [ผ] เช่น คำว่า ปราบ อีสานออกเสียงว่า [ผาบ] คำว่า เปรด อีสานออกเสียงเป็น [เผด] คำว่า ปรากฏ อีสานออกเสียงเป็น (ผากด] ดังนั้นคำว่า ประญาจึงกลายเป็น ผญา ในภาษาอีสาน
ผญา เป็นถ้อยคำสำนวนที่ปราชญ์อีสานร้อยเรียงในรูปของคติธรรมคำสอน ภาษิตโบราณ คำเกี้ยวพาราสี คำอวยพร คำเปรียบเทียบจากนิทานพื้นบ้าน นิทานชาดก ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และประสบการณ์ของปราชญ์ขาวบ้าน ซึ่งแล สดงถึงภูมิปัญญาของผู้พูด เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวอีสานที่บอกเล่าสืบทอดมาแต่โบราณ ผญา จัดเป็น วรรณกรรมมุขปาฐะ ปรากฏอยู่ในนิทานพื้นบ้าน นิทานก้อม เพลงพื้นบ้าน หมอลำ เป็นต้น
ภายหลังได้มีการจดบันทึกไว้ เรียกว่า วรรณกรรมลายลักษณ์ในอดีต ผญามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของชาวอีสานเป็นอย่างมาก ชาวอีสานใช้ผญาตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ ผู้ใหญ่ใช้ผญาภาษิตเพื่อสั่งสอนผู้น้อยให้ประพฤติตนเป็นคนดีมีศีลธรรม หนุ่มสาวใช้ผญาเพื่อเกี้ยวพาราสีกัน และเป็นคติเตือนใจในการอยู่ร่วมกันในสังคม ผญาของชาวอีสานมีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ผญาคำสอน ผญาภาษิต ผญาเกี้ยวหรือผญาเครือ ผญาอวยพร ผญาตงโตยหรือยาบสร้อย ผญาเปรียบเทียบ ผญาเหล่านี้มักจะได้ยินจากปากของผู้สูงอายุมาแต่อดีต
ภาษิตล้านนา
ล้านนามีภาษิตเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะที่ใช้กล่าวในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมากซึ่งให้คติแก่บุคคลทุกระดับ แสดงให้เห็นภูมิปัญญาที่บรรพชนล้านนานำข้อคิดจากประสบการณ์ในชีวิต ตลอดจนคติความเชื่อและคำสั่งสอนในศาสนามาถ่ายทอดเป็นถ้อยคำที่มีความกระชับ มีจังหวะ มีความคล้องจองทำให้จดจำได้ง่าย ใช้วิธีการเปรียบเทียบทำให้มีความหมายลึกซึ้งเข้าใจได้ง่าย
นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรมลายลักษณ์ที่เป็นวรรณกรรมคำสอนของล้านนาหลายเรื่อง เช่น เรื่องคำสอนพระยามังราย ปู่สอนหลาน ธรรมดาสอนโลก คตีโลกคตีธรรม เจ้าวิฑูรสอนหลาน พระลอสอนโลก มีเนื้อหาสอดคล้องกับภาษิตที่มีมาแต่โบราณ คำสอนเหล่านี้เป็นคำสอนเกี่ยวกับเรื่องการพูดจา ความประพฤติ กิริยามารยาท การทำมาหากิน ขนบธรรมเนียม ข้อห้าม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม
บรรพชนล้านนาได้ใช้ภาษิตเหล่านี้อบรม สั่งสอน กล่อมเกลา ปลูกฝัง คุณธรรมให้แก่ผู้คนทุกเพศทุกวัย ทุกสถานภาพ มาอย่างยาวนาน จึงส่งผลให้คำสอนล้านนามีบทบาทสำคัญต่อทัศนคติและวิถีการดำรงชีวิตคนในสังคมเป็นอย่างมาก และสำหรับสังคมไทยปัจจุบันคำสอนเหล่านี้มีได้ล้าสมัย หากแต่ยังสามารถนำมาใช้อบรมสั่งสอนได้เป็นอย่างดี อาจกล่าวได้ว่าภาษิตล้านนานั้นนอกจากจะให้คติสอนใจโดยตรงแล้ว ยังให้ความรู้ในเรื่องคำศัพท์ สำนวนความเปรียบ รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับทัศนะและวัฒนธรรมของคนล้านนาไปพร้อมกันอีกด้วย
ดาวน์โหลดไฟล์
ขอบคุณที่มา :: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา