ดาวน์โหลดฟรี เอกสารเทคนิควิธีการและสื่อสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน เล่ม 1 - 6 โดยสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ดาวน์โหลดฟรี เอกสารเทคนิควิธีการและสื่อสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน เล่ม 1 - 6 โดยสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

ดาวน์โหลดฟรี เอกสารเทคนิควิธีการและสื่อสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน เล่ม 1 – 6 โดยสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

การเรียนรู้บกพร่องด้านการอ่าน (Specific learning disorder with impairment in reading) หรืออาจจะเรียกว่า reading disability หรือ reading disorder ซึ่งหมายถึงการที่เด็กมีความบกพร่องเกี่ยวกับการอ่านอย่างน้อย 1 ด้าน ได้แก่ ความถูกต้องในการอ่านคำ อัตราความเร็วหรือความคล่องในการอ่าน และความเข้าใจในสิ่งที่ได้อ่าน นอกจากนี้ยังมีการเรียกด้วยคำอื่นๆ เช่น Dyslexia หรือ Developmental dyslexia คือความบกพร่องของการอ่านคำอย่างถูกต้องหรือบกพร่องในอัตราเร็ว/ความคล่องในการอ่าน และยังรวมถึงการเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง แต่ไม่ได้รวมถึง ความบกพร่องในการเข้าใจสิ่งที่ได้อ่าน

อ้างอิง: พัฏ โรจน์มหามงคล (2565) จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่นในเวชปฏิบัติ

เทคนิคและวิธีการสอนด้านการอ่านสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

  1. การจับคู่อ่าน (Paired Reading)
  2. การอ่านซ้ำ ๆ (Repeaited Reading)
  3. การฝึกอ่านโดยมีผู้ช่วย (Assisted Reading Practice)
  4. การสอนอ่านวิธีของเฟอร์นาลด์ (Fernald Method)
  5. การสอนอ่านวิธีของจิลลิงแฮม (Gillingham Method)
  6. การสอนอ่านวิธีจินตภาพ (Visual Imagery)
  7. การกำหนดรายละเอียดของเรื่อง (Story Map)
  8. การกำหนดรายละเอียดของเรื่องไว้ล่วงหน้า (Advanced Story Map)
  9. การจัดระบบโดยใช้แผนผังรูปภาพ (Graphic Organizers)
  10. การเล่าเรื่องซ้ำ (Retelling)
ดาวน์โหลดฟรี เอกสารเทคนิควิธีการและสื่อสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน เล่ม 1 - 6 โดยสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 4

นอกจากนี้ ยังมีเทคนิควิธีการอื่น ๆอีกที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม เช่น การใช้เพลงและเกม การใช้กิจกรรมกลุ่ม การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม การสอนแบบบูรณาการ การสอนโดยใช้แผนผังความคิด (mind mapping )เป็นตัน ดังนั้นในการใช้เทคนิค วิธีการ และสื่อสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการอ่าน ครูผู้สอนสามารถเลือกใช้ได้อย่างหลากหลาย
ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและบริบทที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะนำมาสู่การแก้ปัญหาที่ถูกวิธีและย่อมส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาการอ่านของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

ขอขอบคุณ
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่