ดาวน์โหลดไฟล์ แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ระดับปฐมวัย โดยสำนักวิชาการฯ สพฐ.
ดาวน์โหลดไฟล์ แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ระดับปฐมวัย โดยสำนักวิชาการฯ สพฐ.

ดาวน์โหลดไฟล์ แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ระดับปฐมวัย โดยสำนักวิชาการฯ สพฐ.

แผนแม่บทกฎหมาย อาทิ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี(พ.ศ.2561 – 2580) พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562 กรอบบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบูรณาการความร่วมมือการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต (กลุ่มเด็กปฐมวัย) ระหว่าง 6 กระทรวง คือ กระทรวงศึกษาธิการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงานและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสั่งคมนโยบายรัฐบาลและแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ได้กำหนดจุดเน้นของการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ในระดับปฐมวัย ให้มุ่งส่งเสริมสถานศึกษาจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกด้าน ทั้งร่างกาย ารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา บ่มเพา: ปลูกฝังวินัย คุณธรรมและค่านิยมที่ดี ด้วยความร่วมมือระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครอง ชุมชน และสถานศึกษา พัฒนา การคิดวิเคราะห์เชิงระบบและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อให้สัมพันธ์กับการเรียนรู้ของสมอง

อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในระยะที่ผ่านมา สถานศึกษาไม่สามารถปิดทำการเรียนการสนได้ตามปกติ ส่งผลกระทบต่อเด็กปฐมวัยที่ต้องเสียโอกาสในการเรียนรู้ร่วมกัน เด็กไม่มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น การลงมือทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มการมีปฏิสัมพันธ์กับครูและเพื่อนๆ ทำให้การเรียนรู้ไม่ป็นไปตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ และไม่เต็มตามศักยภาพจากวิธีการที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจ หรือไม่หมาะสมกับวัย ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมหรือความสามารถน้อยลง หรือพัฒนาการไม่เต็มศักยภาพตามวัย ถือเป็นสาเหตุของความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาเกิดภาวะสูญเสียทางการเรียนรู้ หรือภาวะถดถอยทางพัฒนาการและการเรียนรู้ (Learning Loss)

ดังนั้น เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและคุณภาพผู้เรียนปฐมวัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้กำหนดให้การศึกษาปฐมวัยเป็นนโยบายเร่งด่วน ด้วยโครงการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต “เด็กปฐมวัย”โดยได้จัดทำเอกสารเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงกรภายใต้ความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติด้วยความชัดเจน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จำนวน 3 เล่ม ประกอบด้วย

เล่มที่ 1 แนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบภาวะถดถอยทางพัฒนาการและการเรียนรู้ ของเด็กปฐมวัย
เล่มที่ 2 แนวทางการจัดประสบกรณ์เพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางพัฒนาการและการเรียนรู้ ของเด็กปฐมวัย
เล่มที่ 3 แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ระดับปฐมวัย

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์มหาวิทยาลัย ศึกษานิเทศก์ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผู้บริหารสถนศึกษา ครูผู้สอน และนักวิชาการศึกษาที่ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่ง ทำให้เอกสารดังกล่าวทั้ง 3 เล่ม สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ เต็มตามศักยภาพ และมีความพร้อมในการเรียนรู้ต่อไป

ดาวน์โหลดไฟล์ แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ระดับปฐมวัย โดยสำนักวิชาการฯ สพฐ.
ดาวน์โหลดไฟล์ แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ระดับปฐมวัย โดยสำนักวิชาการฯ สพฐ.

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการจัดการเรียนรู้ (Active Learning) ครูปฐมวัยสามารถนำการจัดการเรียนรู้เชิงรุกไปจัดประสบการณ์ร่วมกับการสอนและการจัดการเรียนรู้ลักษณะต่างๆ ได้หลากหลาย ตามบริบทของเด็และของสถานศึกษา ซึ่งครูปฐมวัยควรมีการดำเนินกิจกรรมตามองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ประกอบด้วย

1) สื่อ วัสดุที่หลากหลาย (Materials)
2) การเลือก (Choice)
3) การลงมือกระทำกับวัตถุ (Manipulation)
4) ภาษาและความคิดจากเด็ก (Language and though)
5) การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ (Adult scaffolding)

สำหรับตัวอย่างการสอนและการจัดการเรียนรู้ที่มีลักษณะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีดังนี้

1.กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ประกอบด้วยกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กิจกรรมเล่นตามมุม กิจกรรมเกมการศึกษา และ กิจกรรมกลางแจ้ง ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1.1 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ โดยใช้เสียงเพลง คำคล้องจอง เครื่องเคาะจังหวะ หรืออุปกรณ์อื่นๆมาประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เด็กวัยนี้ร่างกายกำลังอยู่ในระหว่างพัฒนา การใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายยังไม่ผสมผสานหรือประสานสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์ กรทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะช่วยให้เด็กเรียนรู้จังหวะและควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้

1.2 กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่จัดมุ่งฝึกให้เด็กได้มีโอกาสฟัง พูด สังเกต คิดแก้ปัญหา ใช้เหตุผล และฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน โดยจัดกิจกรรมด้วยวิธีต่างๆ เช่น สนทนา อภิปราย เล่านิทาน สาธิต ทดลอง ศึกษานอกสถานที่ เล่นบทบาทสมมติ ร้องเพลงเล่นเกม ท่องคำคล้องจอง ประกอบอาหาร เชิญวิทยากรมาพูดคุยกับเด็ก ฯลฯ

1.3 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการโดยใช้ศิลปะ เช่น การเขียนภาพ การปั่น การฉีกปะ ตัดปะ การพิมพ์ภาพ การร้อย การประดิษฐ์ หรือวิธีการอื่นๆ ที่เด็กได้คิดสร้างสรรค์ ได้รับรู้เกี่ยวกับความงาม และได้แสดงออกทางความรู้สึก และความสามารถของตนเอง การจัดกิจกรรม
สร้างสรรค์ควรจัดให้เด็กทำทุกวัน โดยอาจจัด วันละ 35 กิจกรรม ให้เด็กเลือกทำอย่างน้อย 1-2 กิจกรรมตามความสนใจเน้นให้เด็กคิดและลงมือทำ

1.4 กิจกรรมเล่นตามมุม เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระตามมุมเล่น หรือมุมประสบกรณ์ หรือศูนย์การเรียนที่จัดไว้ โดยให้เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรีตามความสนใจและความต้องการของเด็ก ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ลักษณะของกรเล่นของเด็กมีหลายลักษณะ เช่น การเล่นบทบาทสมมติและเล่นเลียนแบบ ในมุมบ้าน มุมหมอ มุมร้านค้า มุมวัด มุมสริมสวย ฯลฯ การอ่านหรือดูภาพในมุมหนังสือ การเล่นสร้างในมุมบล็อก กรสังเกตและทดลองในมุมวิทยาศาสตร์หรือมุมธรรมชาติ การเล่นฝึกทักษะต่งๆ ในมุมเครื่องเล่นสัมผัสหรือมุมของเล่น หรือมุมเกมการศึกษา เป็นต้น

1.5 กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นเกมการเล่นที่ช่วยพัฒนาสติปัญญา มีกฎเกณฑ์กติกาง่าย ๆ เด็กสามารถเล่นคนเดียว หรือเล่นเป็นกลุ่มก็ได้ ช่วยให้เด็กรู้จักสังเกต คิดหาเหตุผล และเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสี รูปร่าง จำนวนประเภท และความสัมพันธ์เกี่ยวกับพื้นที่ /ระยะ เกมการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย เช่น เกมจับคู่ เกมแยกประเภทจัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ โดมิโน ลอตโต ภาพตัดต่อ ฯลฯ การให้เด็กเล่นเกมการศึกษาเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสมองด้านการคิด เมื่อเซลสมองถูกกระตุ้นด้วยสัญญาณต่างๆ เกิดเป็นข้อมูลจำนวนมาก การคิดจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเหล่านั้นซึ่งจะกลายเป็นข้อมูลใหม่อีกชั้นหนึ่งซึ่งชับซ้อนขึ้น การที่เด็กเล่นเกมการศึกษาจึงเป็นการกระตุ้นให้สมองได้จัดความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีอยู่เดิม ทำให้เกิดความสัมพันธ์ของข้อมูลแบบใหม่ เมื่อเกิดซ้ำๆ กัน ก็จะเกิดความคงตัวในวงจรร่างแหของเซลสมองนั่นเอง

1.6 กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้มีโอกาสออกไปนอกห้องเรียนเพื่อออกกำลัง เคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดความสนใจและความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก กิจกรรมกลางแจ้งที่ควรจัดให้เด็กได้เล่น เช่น การเล่นเครื่องเล่นสนามที่เด็กได้ปีนป่าย โยกหรือไกว หมุน โหน เดินทรงตัว หรือเล่นเครื่องเล่นล้อเลื่อน การเล่นทราย การเล่นน้ำ การเล่นสมมติในบ้านจำลอง การเล่นในมุมช่างไม้ การเล่นกับอุปกรณ์กีฬา การเล่นเกมการละเล่น ฯลฯ

ตัวอย่างการจัดประสบการณ์สำคัญกับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning )

การจัดประสบการณ์สำคัญ ครูควรออกแบบการจัดประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ สิ่งสำคัญในการจัดประสบกรณ์สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย คือ การยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ในการจัดประสบการณ์ จะต้องจัดให้สอดคล้องหมาะสมกับเด็กและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น เพื่อที่เด็กจะได้ฝึกฝนตนเองให้เหมาะกับชุมชนหรือท้องถิ่นรอบ ๆ ตัวเด็กนอกจากนี้จะต้องจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อให้เด็ก ๆ ได้พัฒนาตนเองได้อย่างมีศักยภาพและความสามารถ

ตัวอย่างการจัดประสบการณ์สำคัญ กับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (ACTIVE LEARNING ) ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

1.ด้านร่างกาย

: การใช้กล้ามเนื้อใหญ่ เช่น การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส และการสร้างสิ่งต่างๆ จากแท่งไม้ บล็อกการประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ด้วยเศษวัสดุ ฯลฯ
:การตระหนักรู้เกี่ยวกับร่างกายตนเอง เช่น การเคลื่อนไหวโดยควบคุมตนเองไปในทิศทาง ระดับและพื้นที่ การเคลื่อนไหวข้ามสิ่งกีดขวาง ฯลฯ

2.ด้านอารมณ์ จิตใจ : การแสดงออกทางอารมณ์ เช่น การพูดสะท้อนความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น การเล่นบทบาทสมมติ การทำงานศิลปะ ฯลฯ

3.ด้านสังคม : การดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การทำงานศิลปะที่นำวัสดุหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้แล้วมาใช้ซ้ำหรือแปรรูป แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ การสนทนาข่าวและเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน ฯลฯ

4.ด้านสติปัญญา

: การใช้ภาษา เช่น การพูดอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ การพูดแสดงความคิด ความรู้สึก ความต้องการ การพูดอย่างสร้างสรรค์ในการเล่นและการกระทำต่าง ๆ ฯลฯ

: จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เช่น การรับรู้และแสดงความคิด ความรู้สึก ผ่านสื่อ วัสดุ ของเล่น ชิ้นงาน การแสดงความคิดสร้างสรรค์ ผ่านภาษา ท่าทาง การเคลื่อนไหว และศิลปะ ฯลฯ

ดาวน์โหลดไฟล์ แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ระดับปฐมวัย โดยสำนักวิชาการฯ สพฐ.
ดาวน์โหลดไฟล์ แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ระดับปฐมวัย โดยสำนักวิชาการฯ สพฐ.
ดาวน์โหลดไฟล์ แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ระดับปฐมวัย โดยสำนักวิชาการฯ สพฐ.

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. (obec.go.th)

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่