ดาวน์โหลด แนวทางปฏิบัติสำหรับสถานศึกษา เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 (COVID-19) โดยองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ
ดาวน์โหลด แนวทางปฏิบัติสำหรับสถานศึกษา เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 (COVID-19) โดยองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ

ดาวน์โหลด แนวทางปฏิบัติสำหรับสถานศึกษา เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 (COVID-19) โดยองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ

แนวทางปฏิบัติสำหรับสถานศึกษา เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 (COVID-19) โดยองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศจีนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 และแพร่ระบาด ไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา กินระยะเวลายาวนาน และ มีแนวโน้มจะรุนแรงและขยายวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ระดับจังหวัดไปจนถึงระดับตําบล และชุมชนที่ห่างไกล โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง แนวโน้มที่จะเกิดการแพร่ระบาดในสถานศึกษาต่าง ๆ ซึ่งมีเด็ก เยาวชน และบุคลากรทางการศึกษา อันเป็น ทรัพยากรสําคัญของประเทศ

องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการสํานักบูรณาการกิจการศึกษา สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, สํานักพัฒนากิจกรรมนักเรียน และ สํานักงานบริหารการศึกษาพิเศษ สํานักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย, กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย, กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.), Save the Children ประเทศไทย, มูลนิธิศุภนิมิต แห่งประเทศไทย, องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย, สภากาชาดไทย, และองค์การยูเนสโก ประเทศไทย ได้ร่วมกันพัฒนาเอกสาร “แนวทางปฏิบัติสําหรับสถานศึกษาเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19)” โดยอิงจาก Guidance for COVID-19 Prevention and Control in Schools ซึ่งจัดทําโดย องค์การยูนิเซฟ องค์การอนามัยโลก และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) เพื่อเป็นแนวทาง ระดับสากลในการปฏิบัติสําหรับสถานศึกษาเพื่อให้จัดการเรียนการสอนได้อย่างปลอดภัย

ข้อเสนอแนะในแนวทางปฏิบัติฯ ฉบับนี้ เหมาะสําหรับผู้บริหารสถานศึกษา ครู และเจ้าหน้าที่ รวมถึงหน่วยงานทั้ง ภาครัฐและเอกชนที่จัดการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน อาชีวศึกษา วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ตลอดจนหน่วยงานการศึกษานอกระบบ เพื่อความเข้าใจตรงกันในการใช้แนวทางปฏิบัติฯ เล่มนี้ ทางคณะผู้จัดทําใช้ คําเรียกร่วมกันว่า “สถานศึกษา” และ “เด็ก” หรือ “นักเรียน” อันครอบคลุมถึง เด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ในระดับช่วงวัยต่าง ๆ รวมถึงคําว่า “เจ้าหน้าที่” ซึ่งหมายรวมถึงบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็น ครู เจ้าหน้าที่ในโรงเรียน แม่บ้าน คนครัว ภารโรง เป็นต้น

แน่นอนว่า เพียงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในสถานศึกษา อาจจะไม่เพียงพอต่อการดูแล นักเรียน นักศึกษา ให้ปลอดภัยจากโรค ในเล่มนี้ จึงมีแนวทางปฏิบัติสําหรับผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก อีกด้วย โดยที่ผู้บริหาร ครู และเจ้าหน้าที่จากสถานศึกษาสามารถแนะนํา บอกต่อให้กับผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก เพื่อนําไปปฏิบัติต่อได้ ที่สําคัญ สถานศึกษาต้องเป็นกําลังสําคัญในการสื่อสารแก่เด็กและเยาวชน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน การแพร่ระบาดของโรค ซึ่งเด็กและเยาวชน ในฐานะกลุ่มสําคัญที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในชุมชน (Change agents) ก็จะสามารถบอกต่อให้กับครอบครัวและชุมชนได้

อนึ่ง แต่ละสถานศึกษา สามารถนําแนวทางปฏิบัติฯ ไปปรับใช้ตามบริบทสถานการณ์ที่เกิดขึ้น กลุ่มเป้าหมาย ตลอดจน ความเชื่อของแต่ละศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อให้สอดคล้องและเกิดประโยชน์สูงสุด

ดาวน์โหลดที่นี่

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่