ดาวน์โหลดไฟล์ ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ Active Learning กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน 5 STEPs โดยคุณครูอุทัย ชังชั่ว
บทความนี้ ครูอาชีพดอทคอม ขอนำเสนอ ตัวอย่างแบบฟอร์ม แผนการ จัดการ เรียน รู้ Active Learning doc โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น ตอน Active Learning แผนการสอน5ขั้นตอน โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับ
การปฎิรูปการเรียนรู้ในศตวรรตที่ 21 หวังที่จะพัฒนาเด็กไทยและคนไทยให้เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ของครู จึงต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน หรือ 5 STEPs” ซึ่งเป็นแนวการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสืบสอบหรือวิธีสอนแบบโครงงาน ประกอบด้วย “การตั้งคำถาม การแสวงหาสารสนเทศ การสร้างความรู้ การสื่อสาร และการตอบแทนสังคม”
โดยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน 5 steps หรือกระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน เรียกสั้นๆคือ Collaborative 5 STEPs คือแนวการสอนหนึ่งของการเรียนรู้เชิงรุก ( Active Learning ) เน้นให้รู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตัวเองรวมทั้งประยุกต์ความรู้ได้บนฐานวิธีการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีการปฏิบัติกิจกรรมแบบทำงานกลุ่มรวมพลัง โดยทุกคนร่วมด้วยช่วยกันเด็กเก่งช่วยเด็กเรียนช้ากว่า เด็กถนัดกว่าช่วยเด็กถนัดน้อยเพื่อให้มีความสุขในการเรียน บทบาทของผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ (Learner)ส่วนบทบาทของครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) โดยมีลักษณะเด่น หรือลักษณะเฉพาะดังนี้ คือ
1) เป็นแนวการสอนอยู่บนฐานวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
2) หลังการสร้างความรู้แล้ว ครูต้องมีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนนำความรู้แล้วครูต้องมีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนนำความรู้ไป หรือประยุกต์ความรู้ได้ผลงาน/ภาระงานไปตอนแทนสังคม
3) เป็นการจัดการเรียนรู้เน้นการทำงานกลุ่มแบบรวมพลัง เด็กร่วมมือช่วยเหลือกันและกัน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันความเสมอภาคกัน
4) วิธีสอนสำคัญที่ใช้ใน Collaborative 5 STEPs คือ (1) วิธีสอนแบบสืบสอบ (2) วิธีสอนแบบโครงงาน (3) วิธีสอนต่างๆที่ในการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมเป็นฐาน เช่น เกม กรณีตัวอย่าง บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง ใช้ประเด็นทางสังคม เป็นต้น
5)เทคนิคสำคัญที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้แนวนี้ คือ (1) เทคนิคพัฒนาการคิด เช่น การใช้คำถามการใช้ผังกราฟิก การใช้ใบกิจกรรมการใช้พหุปัญญา เป็นต้น (2) การใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Co-operative Learning ) โดยเฉพาะ Think-pair-share, Team-pair-solo, Pair-Discussion,Peer to Peer,Peertutoring,Peer assessment, round robin, Rally table เป็นต้น
แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลังกลุ่มที่มาร่วมตัวกันอาจ 2 คน หรือ 4 คนต่อ 1กลุ่ม ที่มีการคละเพศ คละความสามารถ ความสนใจและคละความสามารถ (เก่ง กลาง อ่อน) ทำงานร่วมมือกันแบบคนเก่งช่วยสอนคนที่อ่อน หรือเรียนรู้ช้า คนที่มีความสามารถปานกลางก็ร่วมด้วยช่วยกันจนงานสำเร็จและทุกคนบรรลุเป้าหมายเดียวกัน ถ้าเป็นการเรียนรู้ก็พบว่าเด็กอ่อนมีผลการเรียนรู้สูงขึ้น เด็กปานกลางก็มีการพัฒนาสูงขึ้นเช่นกัน อันเป็นการแสดงความร่วมใจร่วมพลังในการเรียนรู้ร่วมดันเพื่อให้เด็กๆมีความเท่าเทียมกัน บรรลุตามมาตรฐานที่กำหนดจงใช้หลักให้เด็กช่วยเหลือกันและกัน “คนเก่งอาสาเรียนช้าขอร้อง”
ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การเรียนรู้ตั้งคำถาม หรือขั้นตั้งคำถาม
เป็นที่ให้นักเรียนฝึกสังเกตสถานการณ์ ปรากฏการณ์ต่างๆ จนเกิดความสงสัย จากนั้นฝึกให้เด็กตั้งคำถามสำคัญ รวมทั้งการคาดคะเนคำตอบ ด้วยการสืบค้นความรู้จากแหล่งต่างๆ และสรุปคำตอบชั่วคราว เป็นขั้นตอนที่ทำให้ผู้เรียนสงสัย (ask) จากสิ่งเร้า สมองเกิดภาวะสมดุล (disequilibrium) มีการทบทวนประสบการณ์เดิมของผู้เรียน ( elicitprior knowledge) คือ การคาดคะเนคำตอบ หรือตั้งสมมติฐาน หรือจินตนาการคำตอบ คำตอบอาจไม่ถูกต้องหรือผิดหรือเป็นมโนทัศน์คลาดเคลื่อนก็เป็นได้ซึ่งครูไม่มีการเฉลยคำตอบ โดยมีเทคนิคการคาดคะเนคำตอบ คือ 1) ให้ตอบคำถามเป็นรายบุคคล 2)ให้ตอบเป็นทีม
ขั้นตอนที่ 2 การเรียนรู้แสวงหาสารสนเทศ
เป็นขั้นตอนการออกแบบ/วางแผนเพื่อรวบรวมข้อมูล สารสนเทศ จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งการทดลองเป็นขั้นที่เด็กใช้หลักการนิรภัย (Deduction reasoning) เพื่อการออกแบบข้อมูล เป็นขั้นสำคัญเพื่อพิสูจน์สมมติฐานเพื่อหาคำตอบของคำถามสำคัญโดยครูอาจออกแบบให้ หรือครูกับผู้เรียนร่วมกันวางแผน หรือผู้เรียนวางแผนเอง ครูออกแบบการเก็บข้อมูลสารสนเทศให้เอง ด้วยการสร้างสื่อการเรียนรู้ เช่น ใบกิจกรรมใบงาน ใบทดลอง รวมทั้งใบความรู้ และอาจใช้ใบสรุปความรู้แจกให้ผู้เรียน
ขั้นตอนที่ 3 การเรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้
เป็นขั้นตอนที่เด็กมีการคิดวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การสื่อความหมายข้อมูลด้วยแบบต่างๆ หรือด้วยผังกราฟิก การแปรผล จนถึงการสรุปผล หรือการสร้างคำอธิบาย เป็นการสร้างองค์ความรู้ ซึ่งเป็นแก่นความรู้ประเภท
1. ข้อเท็จจริง
2. คำนยาม
3. มโนทัศน์
4. หลักการ
5. กฏ
6. ทฤษฏี
เป็นขั้นสื่อความหมายข้อมูลหลังจากการวิเคราะห์ข้อมูล โดยผู้เรียนมีโอกาสเสนอหน้าชั้นเรียน ผู้เรียนมีแปลความหมายข้อมูล เพื่อการสรุปผล/สร้างความรู้ด้วยตัวนักเรียนเอง มีการสะท้อนความคิดกัน และแต่ละกลุ่มปรับแก้ไขความรู้ที่สร้างขึ้นเอง ครูเชื่อมโยงความรู้ที่ผู้เรียนสร้างไปยังความรู้ที่ถูกต้อง และเป็นขั้นที่ครูอาจให้ทำแบบฝึกหัดเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและทักษะต่างๆ
ขั้นตอนที่ 4 การเรียนรู้เพื่อการสื่อสาร
คือ ขั้นนำเสนอความรู้ด้วยการมใช้ภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจน และเป็นที่เข้าใจ อาจเป็นการนำเสนอภาษา และนำเสนอด้วยวาจา เป็นชั้นผู้เรียนนำเสนอความรู้และการเรียนรู้ที่ได้จากการสร้างความรู้ด้วยความเข้าใจหน้าชั้น รวมทั้งผลงาน ตลอดจนกระบวนการสร้างความรู้ติดที่ผนัง หรือกระดานหน้าชั้นเรียนด้วยหลัก 3p วางแผนการพูด( Planning) ซ้อม/เตรียม (Preparation) นำเสนอหน้าชั้นเรียน ( Presentation) พร้อมฝึกการสร้างบุคลิกภาพภายในและบุคลิกภาพนอกขณะนำเสนออย่างมั่นใจและมีคุณภาพจากนั้นให้มีการสะท้อนคิด ข้อดี ข้อเด่น และสิ่งอยากรู้
ขั้นตอนที่ 5 การเรียนรู้เพื่อตอบแทนสังคม
เป็นขั้นตอนการฝึกเด็กให้นำความรู้ที่เข้าใจ นำการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์เพื่อส่วนรวม หรือเห็นต่อประโยชน์ส่วนรวมด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม ร่วมสร้างผลงานที่ได้จากการแก้ปัญหาสังคมอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งอาจเป็นความรู้ แนวทางสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรม ด้วยตวามรับผิดชอบต่อสังคม อันเป็นการแสดงออกของการเกื้อกูล และแบ่งปันให้สังคมมีสันติอย่างยั่งยืน เป็นขั้นที่ผู้เรียนร่วมด้วยช่วยกันแบบรวม พลังประยุกต์ความรู้ หรือนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ เช่น ในชีวิตการเรียนในสาระอื่นๆ ในครอบครัวในชุมชนทำให้ได้ชิ้นงานใหม่/ภาระงานใหม่ การสร้างชิ้นงานเรียงตามลำดับง่ายไปหายาก ดังนี้
1) รายงาน การบอกเล่า การถ่ายทอดความรู้ (Extension)
2) ผลงานระดับคิดริเริ่ม หรือผลงานนำความรู้ประยุกต์ในสถานการณ์ใหม่ (Invention) และ
3) รายงานโครงงานประเภทต่างๆ (Innovation)
เพื่อให้นักเรียนมีความสามารถพื้นฐานเบื้องต้นสำคัญที่ใช้ในการเรียนรู้ 3 ด้าน คือ
- ความสามารถด้านภาษา (Literacy)
- ความสามารถด้านคำนวณ (Numeracy)
- ความสามารถด้านเหตุผล (Reasoning ability)
โดยสรุปการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน เป็นแนวการสอนที่ครูสามารถนำวิธีสอนต่างๆ เทคนิคการสอนที่เสริมสร้างการคิด เทคนิคการสอนที่เสริมสร้างการทำงานร่วมกัน การช่วยเหลือกันอย่างมีน้ำใจต่อกัน อีกทั้งเทคนิคการคิดเพื่อให้เกิดความเสมอภาค ได้ผลการเรียนรู้เป็นภาพมาตรฐานการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ทิ้งเด็กคนใดไว้
ตัวอย่างไฟล์ ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ Active Learning กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) โดยคุณครูอุทัย ชังชั่ว
ตัวอย่างการบันทึกหลังสอน
ดาวน์โหลดเข้าเครื่องก่อนแก้ไขนะครับ โดยไปที่เมนู “File” >> “Download” >> “Microsoft Word (.docx)”
ขอขอบคุณ คุณครูอุทัย ชังชั่ว
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ดาวน์โหลด เอกสารกิจกรรมการเรียนรู้ Active Learning 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อแก้ไขปัญหา Learning Loss สำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
- ดาวน์โหลดไฟล์ ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ Active Learning แบบเต็มรูป และแบบหน้าเดียว ประกอบการใช้สื่อ OBEC Content Center
- ดาวน์โหลด แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ไฟล์เวิร์ด พร้อมสื่อการสอน ชั้น ม.1-6